Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84236
Title: Occupational hazard identification and health risk assessment of volatile organic compounds exposure in plastic recycling plants in Thailand: Case studies of polypropylene and polyethylene
Other Titles: การประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากกระบวนการรีไซเคิลขยะพลาสติกชนิดโพลีเอธิลีนและโพลีโพรพิลีนในประเทศไทย
Authors: Muhammed Ayaj Ansar
Advisors: Suthirat Kittipongvises
Pummarin Khamdahsag
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Issue Date: 2019
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Mechanical recycling in small scale plastic recycling plants in Thailand with mechanical and thermal driven stages may lead to various occupational hazards. This study aimed to improve occupational safety and health (OSH) by reducing these risks to acceptable levels from hazard identification and risk assessments which were mainly associated with indoor volatile organic compounds (VOCs) exposure. Accordingly, heat, noise, and VOCs were identified as potential hazards in the hazard identification from four selected small-scale plastic recycling plants in Thailand with polypropylene (PP) and polyethylene (PE) recycling practices. In exposure assessment, almost all the exposure levels of heat stress exceeded the Thai OSH regulation limit of 30oC for heavy workers, which was not acceptable according to the risk evaluation in the preliminary study. Also, these values showed a significant difference (p
Other Abstract: การรีไซเคิลขยะพลาสติกของสถานประกอบการขนาดเล็กอาจพบสิ่งคุกคามในสภาพแวดล้อมการทำงานและก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยด้านต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ การระบุและประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในกระบวนการรีไซเคิลขยะพลาสติก โดยเฉพาะการรับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหยง่ายและเสนอแนะแนวทางการควบคุมความเสี่ยงและยกระดับความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงาน ผลการศึกษา พบว่า ความร้อน เสียง และ ไอระเหยสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายจัดเป็นประเภทสิ่งคุกคามที่สำคัญและก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงในกระบวนการรีไซเคิลขยะพลาสติกของสถานประกอบการขนาดเล็ก ทั้งนี้ ผลการประเมินสภาวะการทํางานเกี่ยวกับความร้อนพบว่าระดับความร้อนในพื้นที่ปฏิบัติงานหลายสถานประกอบการพบค่าสูงเกินค่ามาตรฐานตามลักษณะของ “งานหนัก” ที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงแรงงาน ซึ่งไม่ควรเกินอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ 30 องศาเซลเซียส โดยค่าความร้อนที่ตรวจพบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดขยะพลาสติกและลักษณะโรงงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ขณะเดียวกัน ผลการตรวจวัดไอระเหยสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายในกระบวนการรีไซเคิลขยะพลาสติกชนิดโพลีเอธิลีนและโพลีโพรพิลีน พบเฉพาะเฮกเซนและโทลูอีนในพื้นที่การผลิตของสถานประกอบการกรณีศึกษา ซึ่งมีค่าความเข้มข้นระหว่าง 627 – 1,175 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ 292 – 451 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ โดยตรวจพบความเข้มข้นของสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายในกระบวนการหลอมพลาสติกชนิดโพลีโพรพิลีนสูงกว่าโพลีเอธิลีน ขณะเดียวกัน ผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพชนิดไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งจากการรับสัมผัสไอระเหยของสารเฮกเซนและโทลูอีนในกระบวนการหลอมขยะพลาสติกทั้งในกระบวนการรีไซเคิลขยะพลาสติกชนิดโพลีเอธิลีนและโพลีโพรพิลีน พิจารณาทั้งค่าสัดส่วนความเสี่ยงอันตราย (Hazard Quotient: HQ) และ ดัชนีบ่งชี้อันตราย (Hazard Index: HI) มีค่าน้อยกว่า 1  แสดงว่าการรับสัมผัสสารดังกล่าวยังไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ อย่างไรก็ดี ในสถานการณ์ที่สถานประกอบการมีการหลอมพลาสติกชนิดโพลีโพรพิลีนเพียงชนิดเดียวอาจส่งผลให้ค่า HQ และ HI มีค่ามากกว่า 1 หรือเกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสไอระเหยจากทั้งสารเฮกเซนและโทลูอีนจากกระบวนการผลิต ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้เสนอแนะให้มีการจัดการและควบคุมความเสี่ยงเพื่อนำไปสู่ความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานโดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องรับสัมผัสไอระเหยสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายและความร้อนในกระบวนการหลอมขยะพลาสติกอย่างเหมาะสมต่อไป
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2019
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Hazardous Substance and Environmental Management
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84236
Type: Thesis
Appears in Collections:GRADUATE SCHOOL - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6187543620.pdf3.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.