Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/844
Title: การกำหนดค่าเสียหายกรณีการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้า : วิเคราะห์บทบัญญัติมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545
Other Titles: Assessment of damages in trade secret infringement : an analysis of section 13, Trade Secret Act B.E. 2545 (2002)
Authors: พัลภา ชัยอาญา
Advisors: อรพรรณ พนัสพัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: ความลับทางการค้า
พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ละเมิด
ค่าสินไหมทดแทน
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวิจัยถึงบทบัญญัติทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดค่าเสียหายในคดีละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าทั้งตรมกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ เพื่อแสดงให้เห็นถึงปัญหาของการกำหนดค่าเสียหายในคดีละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าว โดยข้อมูลที่นำมาเป็นฐานในการศึกษาวิจัยนี้ได้มาจากบทบัญญัติทางกฎหมาย ตำราทางวิชาการ บทความ และคำพิพากษาของศาล ที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหายในคดีละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าทั้งของไทยและต่างประเทศ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า บทบัญญัติในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติความลับทางการค้าพ.ศ. 2545 เป็นบทบัญญัติที่มีความชัดเจนและยังคงเป็นบทบัญญัติที่ทันสมัย สามารถนำมาปรับใช้กับการกำหนดค่าเสียหายในคดีละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าได้ทุกรณี ดังนั้น ปัญหาของการกำหนดค่าเสียหายในคดีละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าจึงมิได้เกิดจากปัญหาที่ตัวบทกฎหมาย แต่ปัญหาน่าจะเกิดจากการแสดงบทบาทของโจทก์ในการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายที่เกิดจากละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าและศาลในการใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายแบะการใช้ดุจพินิจของศาลในการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ตลอดจนเพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น โดยเสนอแนะให้ทั้งโจทก์และศาลควรแสดงบทบาทของตนให้มากขึ้น กล่าวคือ โจทก์ควรมีหลักเกณฑ์ในการคำนวณค่าเสียหาย โดยจะต้องคำนึงถึงหลักทางบัญชีและแนวคิดในทางเศรษฐศาสตร์ประกอบด้วย ซึ่งจะส่งผลให้โจทก์สามารถแสดงให้ศาลเห็นถึงจำนวนของค่าเสียหายที่แท้จริงได้มากกว่าปล่อยให้เป็นดุลพินิจของศาลในการกำหนดแต่ฝ่ายเดียว และในการพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ นอกจากบทบาทในการใช้ดุลพินิจตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว แนวคิดในทางเศรษฐศาสตร์ก็ควรเป็นประเด็นที่ศาลควรใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อกำหนดค่าเสียหายด้วยเช่นกัน
Other Abstract: This research has been conducted with a view to present a comparative study on legal provisions related to an assessment of damages for trade secret infringement under Thai and foreign laws. Based on pertinent Thai and foreign existing legislations, academic resources as well as precedent cases ruled by the court of justice, the research is set to identify and scrutinize problems on the assessment of damages for trade secret infringement in order to propose resolution. Outcome of the study demonstrates that Section 13 of Trade Secret Act B.E. 2545 (2002) is clearly-defined, up-to date and applicable in all cases with an issue on the assessment of damages for trade secret infringement. The provisions of law, accordingly, are not the factor accounting for the problems of such assessment. Rather, the said problems lie on role of the plaintiff in producing evidence to attain its burden of proof to clarify damages for the infringement and role of the court in exercise discretion to determine the damages. The research is proposed to point out expecting problems is respect of burden of proof to clarify damages for trade secret infringement and role of the court in exercise its discretion to determine the damages for the plaintiff. Importantly, the research also proposes recommendations to resolve those problems where the plaintiffs and the court should play more active roles in the matter. Specifically, the plaintiff, on one hand, should provide criteria for calculation of damages by taking into account accounting and economic principles, under the means by which the plaintiff would be able to clarify aount of damages in more efficient mnner than leaving discretion with the court. The court, on the other hand, should take into its account economic principles to determine the damages for the plaintiff other than those specified by the provision of law.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/844
ISBN: 9741770162
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panlapa.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.