Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84716
Title: ภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กรณีศึกษา บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) โรงผลิตสารโอเลฟินส์
Other Titles: Job burnout among employees in petrochemical industry: a case study of PTT global chemical public company limited (olefins plant)
Authors: วิศิษฏ์ นบน้อม
Advisors: พงศ์พิสุทธิ์ บุษบารัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2566
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาภาวะหมดไฟในการทำงานในบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ซึ่งภาวะหมดไฟเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพและประสิทธิภาพของพนักงานในสภาพแวดล้อมที่มีความเครียดในการทำงานสูง ได้ทำการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 122 คน นำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานเพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะหมดไฟและผลกระทบที่เกิดขึ้น ผลการศึกษาพบว่าพนักงานส่วนใหญ่ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน มีการรับรู้ถึงภาระงานอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ และรับรู้ถึงทรัพยากรในงานในระดับค่อนข้างสูง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ พฤติกรรมในการทำงานที่เป็นพิษ ปริมาณงาน และ ปัญหาด้านสุขภาพ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ การมีอิสระในการทำงาน ความก้าวหน้าในตำแหน่ง สิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงาน และ ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน โดยที่ปัจจัยที่ใช้ทำนายภาวะหมดไฟในการทำงานคือ ปริมาณงาน ความซับซ้อนของงาน พฤติกรรมในการทำงานที่เป็นพิษ การมีอิสระในการทำงานการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะหมดไฟในการทำงานในด้านองค์กรพบว่า พนักงานส่วนใหญ่ไม่ต้องการลาออกจากที่ทำงาน มีความผูกพันธ์ต่องานและความพึงพอใจในงานอยู่ในระดับค่อนข้างสูง สำหรับด้านสุขภาพ พบว่าภาวะหมดไฟในการทำงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความเสี่ยงต่อโรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้า โดยที่ผู้ที่เริ่มมีความเสี่ยงภาวะหมดไฟในระดับต่ำ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรควิตกกังวลเพิ่มขึ้น 12.9 เท่า และผู้ที่มีความเสี่ยงภาวะหมดไฟระดับปานกลาง มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้น 42 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีความเสี่ยงภาวะหมดไฟ
Other Abstract: This research investigates job burnout in the PTTGC (Olefins Plant). Job burnout is a crucial factor that impacts the health and efficiency of employees in high-stress work environments. The study employs survey methods, targeting employees with a sample size of 122 individuals. Statistical analyses, including descriptive and inference statistics, are utilized to explore the relationships between various factors and job burnout. The study reveals that most employees are not at significant risk of experiencing job burnout. Positive correlations with job burnout include toxic work behaviors, workload, and health problems, while negative correlations include autonomy, career advancement, toxic workplace behavior, and financial rewards. Predictors of job burnout include workload, job complexity, toxic workplace behaviors, autonomy, and Anxiety regarding health problems. In terms of organizational impact, the research finds that most employees do not intent to leave their positions, demonstrating strong work engagement and job satisfaction. Regarding health outcomes, employees with low burnout risk show an increased likelihood of Anxiety 12.9 times, and those with moderate burnout risk have an increased likelihood of experiencing Depression 42 times, compared to those with no burnout risk.
Description: สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84716
Type: Independent Study
Appears in Collections:FACULTY OF POLITICAL SCIENCE - INDEPENDENT STUDY

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6482050224.pdf3.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.