Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84816
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนพวรรณ พจน์พิศุทธิพงศ์-
dc.contributor.authorวรางค์รัตน์ ฎาณวรรณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์-
dc.date.accessioned2024-07-15T10:17:59Z-
dc.date.available2024-07-15T10:17:59Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84816-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบจากปัจจัยทางประชากรและการนำเทคโนโลยีไปใช้ที่มีผลต่อรายได้และผลิตภาพของครัวเรือนเกษตรกรไทย โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิมาจาก 2 แหล่ง ประกอบด้วย ส่วนที่หนึ่ง ข้อมูลของครัวเรือนที่อยู่ในการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2564 และส่วนที่สอง ข้อมูลครัวเรือนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรในปี 2564 โดยเป็นครัวเรือนเกษตรที่ปลูกข้าวและครัวเรือนเกษตรที่ปลูกอ้อย โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการถดถอยพหุคูณแบบเส้นตรง (Multiple Linear Regression Analysis: MLR) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนที่หนึ่ง ซึ่งมีตัวแปรอิสระประกอบด้วย ปัจจัยทางประชากรของหัวหน้าครัวเรือน ปัจจัยลักษณะของครัวเรือน และปัจจัยด้านเศรษฐกิจของครัวเรือน โดยมีตัวแปรตามคือ รายได้ต่อไร่ของครัวเรือนเกษตร สำหรับการปลูกข้าว พบว่า ครัวเรือนที่มีหัวหน้าเป็นชายมีรายได้สูงกว่าเมื่อเทียบกับครัวเรือนที่มีหัวหน้าเป็นหญิง เนื่องจากการทำนายังเป็นอาชีพที่ต้องอาศัยแรงงานและความแข็งแรง ในด้านอายุ หัวหน้าครัวเรือนในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปสามารถสร้างรายได้ต่อไร่สูงกว่าเมื่อเทียบกับหัวหน้าครัวเรือนที่มีอายุ 20-45 ปี ซึ่งสะท้อนถึงทักษะและประสบการณ์ในการปลูกข้าวที่สะสมเพิ่มตามอายุ เมื่อพิจารณาภูมิภาคที่ตั้งของครัวเรือนพบว่า ครัวเรือนที่ปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการทำนาปีเป็นหลักจะมีรายได้ต่อพื้นที่ที่ต่ำว่าเมื่อเทียบกับครัวเรือนในภูมิภาคอื่นที่มีการทำนาปรังด้วย นอกจากนี้การเพาะปลูกบนพื้นที่เช่าจะมีรายได้ต่อไร่ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับการเพาะปลูกบนพื้นที่ของตนเอง ซึ่งอาจเกิดจากการแสวงหาพื้นที่เช่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ ใกล้แหล่งน้ำ รวมถึงมีการปลูกข้าวแบบนาปรังร่วมด้วย  สำหรับการปลูกอ้อย พบว่า หัวหน้าครัวเรือนที่เป็นหญิงสามารถสร้างรายได้สูงกว่าหัวหน้าครัวเรือนที่เป็นชาย อธิบายได้จากการมีการบริหารจัดการที่ดีตั้งแต่การวางแผนเพาะปลูกจนถึงการตัดอ้อยเพื่อส่งโรงงาน นอกจากนี้ ครัวเรือนที่ปลูกอ้อยบนพื้นที่เช่าก็จะมีรายได้ต่อไร่ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับครัวเรือนที่ปลูกอ้อยบนพื้นที่ของตนเอง เช่นเดียวกันกับการปลูกข้าว ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนที่สอง ซึ่งมีตัวแปรอิสระประกอบด้วย ปัจจัยทางประชากรของหัวหน้าครัวเรือน และปัจจัยสนับสนุนการเพิ่มผลิตภาพ โดยมีตัวแปรตามคือ ผลิตภาพต่อไร่ของครัวเรือนเกษตรกร สำหรับการปลูกข้าว พบว่า ครัวเรือนที่มีหัวหน้าครัวเรือนเพศชายมีผลิตภาพสูงกว่าเมื่อเทียบกับครัวเรือนที่มีหัวหน้าเป็นหญิง ในด้านอายุ หัวหน้าครัวเรือนในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปมีความสามารถสร้างผลิตภาพต่อไร่ได้สูงกว่าเมื่อเทียบกับหัวหน้าครัวเรือนช่วงอายุ 20-45 ปีและช่วงอายุ 46-59 ปี ซึ่งเห็นว่ากลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปมีประทักษะและประสบการณ์ในการทำนามาหลายฤดู ทำให้สามารถมีความชำนาญในการวางแผนจัดการเกี่ยวกับผลผลิตที่ได้มาไม่เสียหาย ส่งผลให้ได้ผลิตภาพต่อไร่ดีกว่า ถึงแม้ว่าหัวหน้าครัวเรือนมีระดับการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษา แต่สามารถจัดการผลผลิตให้ได้ดีกว่าระดับการศึกษาสูงกว่า แสดงว่าการศึกษาไม่ได้มีผลเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิต แต่เป็นประสบการณ์จากการเพาะปลูกข้าว หัวหน้าครัวเรือนใช้พื้นที่ทำการเพาะปลูกข้าวในการสร้างรายได้โดยเช่าที่ดินและที่ดินสาธารณประโยชน์ ใช้แหล่งน้ำนอกเขตชลประทานในการเพิ่มผลิตภาพ ซึ่งพื้นที่เกษตรในการเพาะปลูกข้าวใกล้แหล่งน้ำ การใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรในการสร้างผลิตภาพข้าวนั้น ทั้ง 8 กลุ่มเครื่องจักรมีอิทธิพลทั้งหมด สำหรับการปลูกอ้อย พบกว่า หัวหน้าครัวเรือนเพศหญิงสามารถสร้างผลิตภาพได้สูงกว่าหัวหน้าครัวเรือนเพศชาย อธิบายได้จากหัวหน้าครัวเรือนเพศหญิงมีความใส่ใจ และการปรับตัวกับการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ดีกว่าหัวหน้าครัวเรือนเพศชาย ในกลุ่มอายุ 60 ปีมีความสามารถในการสร้างผลิตภาพได้ดีกว่า นั้นคือการใช้ประสบการณ์ในการเกษตรที่ยาวนาน และยังพบว่าเขตพื้นที่เพาะปลูกตะวันออกเฉียงเหนือสามารถสร้างผลิตภาพได้ดีกว่า นั้นหมายถึงเขตที่เพาะปลูกมีสภาพพื้นที่เกี่ยวกับน้ำและดินที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต จึงช่วยส่งเสริมในการสร้างผลิตภาพที่ดีต่อการเพาะปลูกอ้อย การใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรในการสร้างผลิตภาพอ้อยนั้น มีเพียง 5กลุ่มเครื่องจักรมีอิทธิพล ได้แก่ กลุ่มเครื่องต้นกำลัง กลุ่มเครื่องมือเตรียมดิน กลุ่มเครื่องปลูก กลุ่มเครื่องเก็บเกี่ยว และกลุ่มเครื่องสูบน้ำ ข้อสรุปของการศึกษา ชี้ให้เห็นว่า หัวหน้าครัวเรือนสูงวัยมีความสามารถในการสร้างรายได้และผลิตภาพในการปลูกข้าวและอ้อย ผ่านการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ ภาครัฐควรส่งเสริมการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้แทนแรงงานสูงวัย และถ่ายทอดนวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพในภาคเกษตร ซึ่งมีความสำคัญต่อพืชเศรษฐกิจของไทย พร้อมส่งเสริมการปรับปรุงผลิตภาพและรายได้เพื่อดึงดูดแรงงานรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคเกษตรมากขึ้นth
dc.description.abstractalternativeThis study examined the impact of demographic factors and technology integration on income and productivity of Thai agricultural households. The secondary data were collected from two sources: 1) the 2021 National Statistical Office's (NSO) Socioeconomic Survey, and 2) the 2021 Department of Agricultural Extension (DOAE) 's database of rice- and sugarcane-growing households. Multiple linear regression analysis (MLR) was employed to analyze the data. Regarding income from rice cultivation, the male-headed households earned more than the female-headed ones due to the labor-intensive nature of rice farming. As for income per rai, the households with heads aged 60 and above earned more than those aged 20–45 because they were seasoned farmers. The households in the Northeast, most of whom grew rice annually, had lower income per rai than those in the other regions who grew rice more than once a year. Rice farming on leased land generated higher income per rai than that on freehold land, partly because the leaseholders had to locate fertile and irrigated land for their cultivation so that they could cover the rent payment. As for income from sugarcane cultivation, the female-headed households earned more than the male-headed ones due to better management from planning to harvesting. Sugarcane cultivation on leased land also yielded higher income per rai than that on freehold land. As for rice productivity, male-headed households had higher productivity than female-headed ones.  Regarding productivity per rai, households with heads aged 60 and above had higher productivity than those aged 20–45 and 46–59, indicating their expertise in managing rice production. The heads with primary education could manage better than those with higher education, suggesting that experience rather than education played a crucial role in productivity. Eight types of agricultural machinery were used, and all of them enhanced productivity. For sugarcane cultivation, the female-headed households had higher productivity than the male-headed ones due to their adaptability to new technologies. The farmers aged 60 and above had higher productivity due to their long agricultural experience. The Northeast provided higher productivity due to favorable soil and water conditions. The five types of agricultural machinery that could promote productivity were power supply devices, soil preparation tools, seed planting machines, harvesting machines, and water pumps. This study highlighted the ability of older household heads to generate income and productivity in rice and sugarcane cultivation through efficient use of agricultural machinery. The government should promote technology adoption to aid aging farmers and the transfer of new agricultural technologies to enhance productivity, resulting in higher income. Improvement in agricultural productivity and higher income can attract younger generation into this sector.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.subject.classificationAgriculture,forestry and fishing-
dc.subject.classificationCrop and livestock production-
dc.titleผลกระทบจากปัจจัยทางประชากรและการนำเทคโนโลยีไปใช้ที่มีผลต่อรายได้และผลิตภาพของครัวเรือนเกษตรกรไทย-
dc.title.alternativeThe impact of demographic factors and technology adoption on Thai household farm income and productivity-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineประชากรศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:COLLEGE OF POPULATION STUDIES - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6483904551.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.