Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8590
Title: | ความชุกของโรคบิดมูกเลือดในฟาร์มสุกรในเขตภาคกลางของประเทศไทย |
Other Titles: | The prevalence of swine dysentery in pig farms in the middle part of Thailand |
Authors: | เผด็จ ธรรมรักษ์ ณุวีร์ ประภัสระกุล |
Email: | Padet.T@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาความชุกของเชื้อ Brachyspira spp. จากสุกรที่แสดงอาการท้องเสียปนเลือด หรือสุกรจากฟาร์มที่เคยมีประวัติของการถ่ายอุจจาระปนเลือด ตัวอย่างที่ทำการศึกษาได้จากการเก็บ อุจจาระ หรือจากเยื่อบุผนังลำไส้สุกร ตัวอย่างทั้งหมดที่เก็บได้ มีจำนวน 126 ตัวอย่าง ได้จากสุกรที่มีอาการถ่ายเหลวปนเมือกและ/หรือปนเลือดจำนวน 74 ตัวอย่างกับสุกรที่ถ่ายปกติจำนวน 52 ตัวอย่าง ทำการดูลักษณะเบื้องต้นของเชื้อ Brachyspira spp. โดยการทำ fresh smear และย้อมสีแกรม หลังจากนั้นทำการแยกเชื้อโดยวิธีเพาะเชื้อบนอาหารเลี้ยงเชื้อจำเพาะ ภายใต้สภาพไร้ออกซิเจน และยืนยันผลจาก ลักษณะรูปร่างของโคโลนีภายใต้กล้องจุลทรรศน์ คุณสมบัติการย่อยเม็ดเลือดแดง และผลทดสอบทางชีวเคมี การทดลองพบว่าสามารถแยกเชื้อ Brachyspira spp. ได้จำนวน 15 ตัวอย่าง จากสุกรที่มีปัญหาท้องเสีย จำนวน 74 ตัว ตัวอย่างที่ได้จากสุกรที่ถ่ายปกติ 52 ตัวอย่าง ผลการตรวจไม่พบเชื้อBrachyspira spp. แม้จะมีเคยมีประวัติการเกิดโรคนี้ในฟาร์ม ความชุกของการพบเชื้อคิดเป็นร้อยละ 20.3 (15/74) ของประชากรสุกรที่มีอาการถ่ายเหลว มีฟาร์มที่พบเชื้อBrachyspira hyodysenteriae จำนวน 9 ฟาร์มจาก 19 ฟาร์มคิดเป็นร้อยละ 47.3 สุกรที่ตรวจพบเชื้อส่วนใหญ่เป็นสุกรขุนอายุ 20-24 สัปดาห์ และ หนึ่งตัวอย่างแยกได้จากแม่สุกร จากการศึกษาคุณสมบัติของเชื้อพบว่าเชื้อสไปโรคีททั้งหมดติดสีแกรมลบ มีรูปร่างยาวและเป็นเกลียว เชื้อแสดงการแตกของเม็ดเลือดแดงชนิดเบต้าอย่างรุนแรงบนอาหารเลี้ยงเชื้อที่ผสมเลือดแกะ 10% ให้ผลลบต่อปฏิกิริยา hippurate hydrolysis เชื้อจำนวน 14 ตัวอย่างจาก 15 ตัวอย่างให้ผลบวกต่อปฏิกิริยา indole และ 1 ตัวอย่างจาก 15 ตัวอย่างให้ผลลบต่อปฏิกิริยา indole จากการเปรียบเทียบกับเชื้ออ้างอิงพบว่าเชื้อสไปโรคีททั้งหมดที่แยกได้เป็น Brachyspira hyodysenteria |
Other Abstract: | The objective of the present study is to investigate the prevalence of Brachyspira spp in bloody diarrhea pig. The fecal samples and intestinal mucosa were obtained from the pigs with clinical symptoms of bloody diarrhea and from pig in the herd with a history of bloody diarrhea. A total number of 126 samples, 74 bloody diarrhea/mucosal diarrhea and 52 normal feces, were submitted for bacterial culture and identification. The samples were primarily investigated for the organisms by fresh smear and gram staining. All samples were cultured with a specific media in anaerobic environment. The colonies were determined under light microscope and were tested for hemolysis and biochemical properties including indole and hippurate hydrolysis test. Fifteen isolates were obtained from 74 fecal samples of diarrheal pig. Brachyspira hyodysenteriae could not be isolated from the pigs with normal feces (n=52), although the herds had a history of bloody diarrhea. The prevalence was 20.3% (15/74) among the pig with diarrhea. Brachyspira hyodysenteriae was found 9 out of 19 herds in this study representing 47.3% of the prevalence among the herd. Most of the pig that found the spirochete was between 20-24 wk of age and one sample was isolated from a sow. It was revealed that the bacteria were a gram negative staining, long and spiral shape and had a strong beta hemolysis properties in 10% sheep blood agar. Most of the spirochetes were positive for indole test (14/15) and negative for hippurate hydrolysis test (15/15). One strain of indole negative spirochetes (1/15) was also isolated. Compared with the references stain, all of the spirochetes were identified as Brachyspira hyodysenteriae. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8590 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Vet - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Padet_pre.pdf | 356.8 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.