Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8701
Title: | ผลของเอ็น-(2-โพรพิลเพนทาโนอิล) ยูเรีย และกรดวาลโปรอิกที่มีต่อตัวรับชนิดยับยั้งกาบาเอและไกลซีนในเซลล์ประสาทฮิปโปแคมปัสของหนูขาว |
Other Titles: | Effects of N-(2-propylpentanoyl) urea and valproic acid on inhibitory GABA A and glycine receptors in rat hippocampal neurones |
Authors: | ธงชัย สุขเศวต |
Email: | Thongchai.S@Chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Subjects: | กรดวาลโปรอิก ยาแก้ชัก ฮิปโปแคมปัส (สมอง) กาบา ไกลซีน |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เอ็น-(2-โพรพิลเพนทาโนอิล) ยูเรีย (วีพียู) เป็นอนุพันธ์ของกรดวาลโปรอิก (วีพีเอ) ที่มีฤทธิ์ต้านชักในแบบจำลองการชักในสัตว์ทดลองทั้งหนูแรทและหนูเมาส์ อย่างไรก็ตามกลไกการต้านชักของวีพียูยังไม่ทราบแน่ชัด การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะทดสอบผลของวีพียูและวีพียเอต่อตัวรับชนิดยับยั้งกาบาเอและไกลซีนในเซลล์ประสาทฮิปโปแคมปัสที่แยกออกมาของหนูขาว (หนูแรท) โดยใช้เทคนิคแพทช์แคลมป์แบบทั้งเซลล์ แม้ว่าสารวีพีเอ (ความเข้มข้นจนถึง 3 มิลลิโมลาร์) และวีพียู (ความเข้มข้นจนถึง 300 ไมโครโมลาร์) ไม่มีผลกระตุ้นโดยตรงให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเยื่อหุ้มเซลล์และไม่มีผลใดๆ ต่อกระแสที่เหนี่ยวนำด้วยไกลซีน สารทั้งสองสามารถเสริมฤทธิ์กระแสที่เหนี่ยวนำด้วยกาบาแบบขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสาร อย่างไรก็ตามสารวีพีเอจะเสริมฤทธิ์ได้เฉพาะที่ความเข้มข้นสูงมากเท่านั้น (300-3000 ไมโครโมลาร์) สำหรับการเสริมฤทธิ์ของสารวีพียูก็ต้องใช้ความเข้มข้น (10-300 ไมโครโมลาร์) ที่สูงกว่าสารไดอะซีแปม เพนโตบาร์บิทาลโซเดียมและโพรพอฟอล ซึ่งการเสริมฤทธิ์ของวีพียูนี้ไม่สามารถยับยั้งด้วยสารฟลูมาเซนิล ซึ่งเป็นสารต้านที่บริเวณเบนโซไดอะซีปีนบนตัวรับกาบาเอแสดงให้เห็นว่า VPU มิได้ออกฤทธิ์ผ่านบริเวณเบนโซไดอะซีปีนบนตัวรับนี้ เมื่อศึกษาผลของวีพียูที่มีต่อการเสริมฤทธิ์ของเพนโตบาร์บิทาลโซเดียมต่อตัวรับกาบาเอก็พบว่า วีพียูจะเพิ่มการเสริมฤทธิ์ของเพนโตบาร์บิทาลโซเดียมต่อตัวรับกาบาเอ แต่เมื่อศึกษาผลของวีพียูต่อฤทธิ์กระตุ้นโดยตรงต่อตัวรับกาบาเอของเพนโตบาร์บิทาลโซเดียมกลับพบว่า วีพียูสามารถยับยั้งฤทธิ์ของเพนโตบาร์บิทาลโซเดียมได้ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า วีพียูมีปฏิกิริยาต่อกันโดยตรงหรือโดยอ้อมกับเพนโตบาร์บิทาลโซเดียม ที่บริเวณบาร์บิทูเรทบนตัวรับกาบาเอ อย่างไรก็ตามยังคงต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมถึงกลไกของการเกิดปฏิกิริยาต่อกันนี้ โดยสรุปแล้วผลการเสริมฤทธิ์ของวีพียูต่อตัวรับกาบาเออาจจะมีส่วนในการออกฤทธิ์ต้านชักของสารตัวนี้ |
Other Abstract: | N-(2-propylpentanoyl) urea (VPU) is a valproic acid (VPA) analogue which exhibited an anticonvulsant activity in several animal models in rats and mice. However, the mechanisms of its anticonvulsant effects are not clear. Thus, this study was aimed to investigate the effects of VPU and VPA on the inhibitory GABA[subscript A] and glycine receptors in isolated rat hippocampal neurons using whole-cell patch clamp technique. Although VPA (concentration up to 3 mM) or VPU (concentration up to 300 [mu]M) did not induce a membrane current or enhance a glycine-induced current, both of them enhanced the GABA-induced currents in a concentration-dependent manner. However, VPA potentiated the GABA-induced currents only at very high concentrations (300-3000 [mu]M). The GABA potentiation effect of VPU required higher concentrations (10-300 [mu]M) in comparison to diazepam, pentobarbital sodium (PB) and propofol. The potentiation of GABA[subscript A] currents by VPU was not inhibited by a benzodiazepine antagonist flumazenil. This result indicates that the effect of VPU on the GABA[subscript A] receptor is not mediated via the benzodiazepine site on this receptor. In the experiment to investigate the interaction between VPU and PB on the GABA[subscript A] receptor, it was found that VPU enhanced the GABA potentiation effect of PB. However, the GABA[subscript A] currents induced by PB were inhibited by VPU. These results indicate that VPU may interact directly or indirectly with the barbiturate site(s) on the GABA[subscript A] receptor to exhibit its GABA potentiation effect. However, further investigation is needed to examine the mechanism(s) of this interaction. In conclusion, the potentiation effect of VPU on the GABA[subscript A] receptors may, at least in part, contribute to its anticonvulsant activity. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8701 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Pharm - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thongchai_eff.pdf | 710.61 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.