Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8822
Title: สภาวะแวดล้อมการสะสมตัวของหินปูนยุคเพอร์เมี่ยน บริเวณจังหวัดเลยและหนองบัวลำภู : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: The depositional environments of Permian Limestones at Changwat Loei and Nong Bua Lumphu
Authors: ปัญญา จารุศิริ
สันต์ อัศวพัชระ
จักรพันธ์ สุทธิรัตน์
สมบัติ อยู่เมือง
วิโรจน์ ดาวฤกษ์
Email: cpunya@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ysombat@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
กรมทรัพยากรธรณี. สำนักธรณีวิทยา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: หินคาร์บอเนต -- เลย
หินคาร์บอเนต -- หนองบัวลำภู
หินปูน -- เลย
หินปูน -- หนองบัวลำภู
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เทือกเขาภูมิประเทศแบบคารสต์แนวเหนือ-ใต้ยุคเพอร์เมี่ยนด้านตะวันออกของจังหวัดเลยและตะวันตกของหนองบัวลำภู เป็นหินคาร์บอเนตหมวดหินน้ำมโหฬาร หลักฐานซากดึกดำบรรพ์บ่งชี้ว่าหินตะกอนคาร์บอเนตเหล่านี้มีอายุตั้งแต่ตอนบนของช่วงปลายของยุคคาร์บอนิเฟอรัส(จีเลี่ยน) ต่อเนื่องขึ้นมาถึงปลายตอนกลางของยุคเพอร์เมี่ยน (มูกาเบี่ยน) ผลจากการศึกษาการลำดับชั้นหินซึ่งครอบคลุมพื้นที่ต้นแบบของหมวดหินน้ำมโหฬารทำให้ทราบค่าความหนาของหมวดหินประมาณ 500 เมตร จากลักษณะปรากฏหินทำให้สามารถแบ่งหมวดหินออกได้เป็นสามหมู่หินจากล่างขึ้นบนของลำดับแท่งชั้นหินได้แก่ (1) หมู่หินถ้ำเสือหมอบซึ่งเป็นหินปูน หินดินดานและหินทราย (2) หมู่หินบ้านหนองหินที่ประกอบด้วยหินปูน เชิร์ตและโดโลไมต์เป็นหลักและ (3) หมู่หินภูผาขาวโดยมากมักเป็นหินปูนและโดโลไมต์บ้างเช่นกัน ลำดับของแท่งหินแสดงถึงความต่อเนื่องของหมวดหินน้ำมโหฬารที่วางเกยทับเหนือหมวดหินวังสะพุง แต่ขาดความต่อเนื่องอยู่ใต้หมวดหินห้วยหินลาด อายุหินซึ่งกำหนดจากซากดึกดำบรรพ์ฟอแรมมินิเฟอราจำพวก Pseudofusulina sp., Schagonella sp. และ Tetrataxis sp., จัดอยู่ในอนุยุคจีเลี่ยนของปลายยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนบนถึงอนุยุคยาททาเชี่ยนของปลายยุคเพอร์เมี่ยนตอนล่าง สภาวะแวดล้อมบรรพกาลแสดงถึงความต่อเนื่องของการสะสมตะกอนในทะเลตื้นตั้งแต่ปลายยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนบนถึงตลอดช่วงยุคเพอร์เมี่ยนตอนต้น ลักษณะเนื้อหินคาร์บอเนตและซากดึกดำบรรพ์จำพวกแบรคิโอพอดฟอแรมมินิเฟอราขนาดเล็ก ฟูซูลินิดและสาหร่ายที่อยู่ร่วมกันบ่งชี้ถึงการสะสมตัวในทะเลเปิดระดับตื้นที่ได้รับแสงสว่างใกล้ชายฝั่งตั้งแต่บริเวณเขตอิทธิพลของคลื่นลงไปจนถึงบริเวณใต้แนวระดับของคลื่น ผลการศึกษาไอโซโทปคงที่พบว่าอัตราส่วนไอโซโทปของออกซิเจนมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ -7.51 ถึง -6.20 %o PDB และค่าเฉลี่ยอัตราส่วนไอโซโทปของคาร์บอนอยู่ในช่วงระหว่าง +2.51 ถึง +3.67 %o ตามลำดับ ลักษณะนี้ย่อมยืนยันถึงตะกอนคาร์บอเนตของหมวดหินน้ำมโหฬารมีกำเนิดจากทะเลตื้น ในสภาวะแวดล้อมของการสะสมตัวในทะเลที่มีค่าความเป็นเกลือปรกติ ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนของน้ำจืดเข้ามาในระบบทำให้ค่าความเป็นเกลือของน้ำลดลงจนเป็นน้ำกร่อยในบางช่วง ค่าความเป็นเกลือของน้ำมีค่าในช่วงระหว่าง 18.44 ถึง 30.08 %o และมีอุณหภูมิของน้ำเฉลี่ยสูงกว่า 45 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจแสดงถึงสภาพภูมิอากาศร้อนในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งการศึกษาทางไอโซโทปนี้ให้ผลเหมือนกับที่ได้จากการศึกษาตะกอนวิทยาคาร์บอเนตและบรรพชีวินวิทยา
Other Abstract: The N trending mountain with karstic topography in eastern Changwat Loei and western Nong Bua Lumphu is the Nam Maholan Carbonate Formation of the Permian age. This carbonate sedimentary sequence has been dated paleontologically as Late Carboniferous (Gzhelian) through Middle Permian (Murgabian). Lithostratigraphic study at the Phu Tham Maholan stratotype indicate the thickness of approximately 500 m for the Nam Maholan Formation. Based on lithofacies, three members are recognized in as ascending order: 1) the Tham Suae Mop Member including limestone and shale, 2) the Ban Nong Hin Member consisting mainly of limestone, chert and dolomite, and 3) the Phu Pha Khao Member comprising predominantly limestone with minority dolomite. Stratigraphically, the Nam Maholan Formation shows lateral-facies change with the underlying Wang Saphung Formation, but unconformably underlying the Huai Hin Lat Formation. Fusulinacean fossil Pseudofusulina sp., and Tetrataxis sp., indicate a Gzhelian of Late Carboniferous to Yahtashian of late Lower Permain. Paleoenvironment is displayed by a continuous sequence of carbonate accumulation in shallow marine environment since Late Carboniferous to Early Permain. The carbonate lithology and associated fossils such as brachiopod, smaller foraminifera, fusulinacean, and algae point to sun-lit water of open sea, located from intertidal to subtidal regimes. Isotopic results clearly demonstrate that the average value of oxygen isotope ratios ranges from -7.51 to -6.20 %o PDB and average value of carbon isotope ratios range from +2.5 to +3.67 %o PDB. These indicate that the carbonate deposition occurred in shallow marine environment of normal salinity. The decline values may be a result corresponding to contamination of occasionally fresh-water influx. The salinity value is between 18.44 and 30.08 %o and displays the average water temperature more than 45 degree Celsius, probably suggesting warm climate condition during that time. The isotopic result fit very well with the information gathered from the carbonate sedimentology and palaeontology.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8822
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Punya_dep.pdf16.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.