Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8907
Title: เพิ่มพละกำลังให้ลิงกับยักษ์ : โครงการวิจัยศิลปการแสดงร่วมสมัยจากงานขนบนิยมระหว่างไทย-เขมร
Authors: พรรัตน์ ดำรุง
สัญชัย เอื้อศิลป์
Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Subjects: นาฏศิลป์ไทย
ปี่พาทย์ -- กัมพูชา
โขน
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Citation: วารสารอักษรศาสตร์. 34,2(ก.ค.-ธ.ค. 2548),14-52
Series/Report no.: สนุกนึกพิลึกการละคร
Abstract: บทความวิจัยนี้เรียบเรียงจากการทำโครงการวิจัยแบบปฏิบัติการ (Workshop) ที่นำเอานักวิจัยและศิลปินไทยที่มีประสบการณ์ในการสร้างสรรค์งานร่วมสมัยจากท่านาฏศิลป์ (โขน) และดนตรี-การขับร้องไทยไปแลกเปลี่ยนและพัฒนากระบวนการทำงานร่วมสมัยกับศิลปินโขนผู้ชาย (lakhon-Khoal) และวงปี่พาทย์ (Pinpiat) ของกัมพูชาการทำวิจัยแบบปฏิบัติการดังกล่าวเป็นโครงการทดลองที่จะพัฒนาและบันทึกกระบวนการสร้างสรรค์งานกับศิลปินกัมพูชาที่มีขนบแบบแผนของการแสดงดนตรีใกล้เคียงกับไทย โดยศิลปินไทยทำหน้าที่เป็นศิลปินข้อมูล (Facilitator) กำกับดนตรี (Music-director) และกำกับลีลา (Choreographer) ประสบการณ์การเรียนรู้จากการทำงานร่วมกันของศิลปินทั้งสองประเทศที่มีพื้นความรู้ในแบบขนบนิยมนั้นจะทำให้ศิลปินเกิดความเข้าใจในเรื่องการเตรียมความรู้ การจัดระเบียบร่างกาย ขั้นตอนการฝึกฝนและพัฒนาองค์ความรู้ในการทำงานร่วมสมัยจากดนตรีและนาฏศิลป์แบบขนบนิยมของตนโดยไม่ต้องดัดแปลงให้เป็นศิลปะที่ประสมรูปแบบกับดนตรีและการเต้นรำแบบตะวันตก การวิจัยครั้งนี้มีการออกแบบเป็นพิเศษโดยให้ศิลปินทั้งสองฝ่าย ได้พบปะและกำหนดขอบเขตในการทำงานร่วมกันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ทำให้เกิดการแสดงสั้นๆ 3 ชิ้นด้วยกันอันเป็นผลของกระบวนการทำงาน การแสดงจากปฏิภาณ (Improvisation) ระหว่างนักแสดง และนักดนตรีกัมพูชา เพื่อสื่อสารกัน เชิดจับ (Cherd Juep) การสร้างบทเพลงและการแสดงชุดใหม่ที่ใช้เพลงเชิดจับแบบโบราณมาสร้างตีความและศิลปินพัฒนาท่าเต้นจากบทเพลงที่นักดนตรีสร้างสรรค์ขึ้นใหม่การต่อสู้ มัจฉานุบ (Matchanub) ผู้กำกับดนตรีและผู้กำกับการแสดงทดลองใช้กลวิธีและแบบแผนดนตรีและการเต้นรำแบบสากลมาปรับใช้ในการสร้างสรรค์งานเพื่อให้ศิลปินนักพากย์และนักดนตรีตีความทำนองการพากย์แบบโสมด (Samoad) ใหม่ อันมีผลดีต่อการตีความและการเต้นรำ ของศิลปินโขน จากการศึกษาวิจัยในแบบปฏิบัติการครั้งนี้ทำให้เกิดความเข้าใจคล้ายคลึงและความแตกต่างของศิลปะโขนของไทยและกัมพูชาในเชิงพื้นฐานการฝึกฝนและการใช้ร่างกาย สร้างความสัมพันธ์ที่ดี เกิดความเข้าใจและยอมรับกันในด้านศิลปะและสามารถทำงานร่วมกันในการพัฒนางานแสดงร่วมสมัย จากศิลปินที่มีการฝึกฝนในขนบที่ใกล้เคียงกัน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8907
ISSN: 0125-4820
Type: Article
Appears in Collections:Arts - Journal Articles

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornrat.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.