Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8984
Title: ชลภาพน้ำฝน-น้ำท่าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Hyetograph-hydrograph in Bangkok area
Authors: พัชรศักดิ์ อาลัย
Advisors: ทวนทัน กิจไพศาลสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Tuantan.K@chula.ac.th
Subjects: น้ำท่า -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ฝน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิทยานิพนธ์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนแรก เป็นการทบทวนงานวัด และการวัดข้อมูลอุทกวิทยาภาคสนาม โดยทำการติดตามทบทวนงานวัดข้อมูลอุทกวิทยาของกรุงเทพมหานคร ช่วงเดือน สิงหาคม-กันยายน พ.ศ. 2543 ในพื้นที่เขต บางกะปิ บึงกุ่ม และหนองแขม และได้ทำการคัดเลือกเหตุการณ์ฝน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ จำนวน 132 เหตุการณ์ โดยมีความลึกฝน อยู่ในช่วง 20-106.5 มิลลิเมตรในช่วงเวลา 60 นาที และการวัดข้อมูลภาคสนามได้ทำการวัดข้อมูลน้ำฝน และน้ำท่า ช่วงเดือน สิงหาคม-ตุลาคม ในพื้นที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพื้นที่เขตคันนายาว ในส่วนที่สองเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งยังแบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อย คือ ส่วนย่อยแรก เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลน้ำฝนโดยทำการวิเคราะห์หาค่า r และเปรียบเทียบชลภาพฝนจริงกับชลภาพฝนออกแบบ ส่วนย่อยสองเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลน้ำฝน และน้ำท่าโดยทำการวิเคราะห์ค่าเวลาในการรวมตัวของน้ำฝนที่จุดออก t[subscript c] การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์น้ำท่า (C) และการวิเคราะห์เปรียบเทียบชลภาพน้ำท่าผิวดินจริงกับชลภาพน้ำท่าผิวดินที่คำนวณได้โดยวิธีต่างๆ จากการศึกษสามารถสรุปได้ว่า (1) เครื่องมือวัดน้ำฝน ระดับน้ำและอัตราการไหลเป็นเครื่องมือที่สามารถวัดข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องตามเวลา โดยเครื่องมือวัดบางส่วนสามารถบันทึกข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะนำไปประมวลผลโดยเครื่องคอมผิวเตอร์ต่อไป (2) การวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ (2.1) การวิเคราะห์ข้อมูลน้ำฝนพบว่าค่า r ในช่วงเวลา 30 นาทีมีค่าอยู่ในช่วง 0.29-0.48 และในช่วงเวลา 60 นาทีมีค่าอยู่ในช่วง 0.27-0.42 ในส่วนของชลภาพฝนพบว่า วิธี Kiefer and Chu ให้ผลการคำนวณความเข้มฝนสูงสุดใกล้เคียงกับข้อมูลมากที่สุด และวิธี Yen and Chow ให้ผลการคำนวณรูปร่างของชลภาพน้ำฝนใกล้เคียงกับข้อมูลมากที่สุด (2.2) การวิเคราะห์ข้อมูลน้ำฝน และน้ำท่าพบว่า ค่า t[subscript c] ที่คำนวณโดยใช้สมการถดถอยสหสัมพันธ์ให้ผลการคำนวณได้ใกล้เคียงกับข้อมูลมากที่สุด และสูตรของ Kirpich ให้ผลการคำนวณใกล้เคียงในลำดับต่อมา ในส่วนของการวิเคราะห์ค่า C พบว่าวิธีคำนวณค่า C จากสมการ Q = CiA โดยกำหนด i จาก t[subscript c] จะให้ผลการคำนวณอัตราการไหลสูงสุดใกล้เคียงกับข้อมูลจริงมากที่สุด และจากการเปรียบเทียบวิธีการคำนวณชลภาพน้ำท่าผิวดินพบว่า วิธีชลภาพหนึ่งหน่วยน้ำท่าเฉลี่ยให้ผลการคำนวณชลภาพน้ำท่าผิวดินได้ใกล้เคียงกับชลภาพน้ำท่าผิวดินจริงทั้งอัตราการไหลสูงสุดและรูปร่างของชลภาพน้ำท่าผิวดินจริงมากที่สุด จากการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า ในการวิเคราะห์พารามิเตอร์ต่างๆ ทางอุทกวิทยาเพื่อใช้เป็นค่าพารามิเตอร์มาตรฐานสำหรับพื้นที่ศึกษาจำเป็นต้องใช้ข้อมูลอุทกวิทยาที่มีการวัดข้อมูลเป็นช่วงระยะเวลายาว และต่อเนื่อง แต่เนื่องจากการวัดข้อมูลในครั้งนี้เป็นการวัดในช่วงเวลาสั้น ดังนั้นจึงเสนอว่าในการวัดข้อมูลทางอุทกวิทยาครั้งต่อไปควรมีการวัดข้อมูลในช่วงระยะเวลายาว และต่อเนื่อง เพื่อจะได้นำมาใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์มาตรฐานทางอุทกวิทยาสำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครต่อไป
Other Abstract: The thesis can be mainly divided into two parts, i.e., field data measurement reviews, onsite hydrological data measurement and hydrological data analysis. In the first part, the review of field data measurement conducted by BMA is in the period of August-September at Bangkapi, Bungkum and Nongkam District, 2000 and the study selected 132 events with the rainfall depth of 20-106.5 millimetres in 60 minutes duration. Onsite data measurement was conducted at Chulalongkorn Univesity campus and Kunnayao District during August-October, 2000. The second part can be subdivided into 2 parts, i.e., rainfall analysis and the rainfall-runoff analysis. The rainfall analysis is consisted of storm advancement coefficient (r) analysis and the rainfall hyetograph analysis. The rainfall-runoff analysis is consisted of time of concentration t[subscript c], runoff coefficient (C) and the direct runoff hydrograph analysis. From the study results, it is concluded that (1) the measurement instruments of rainfall, water level and discharge can continuously recorded onsite. Some instruments can be transfered and recorded data into the computer before being interpreted by the computer later, (2) from the rainfall analysis, it is found that for 30 minutes rainfall, r is approximately 0.29-0.48 and for 60 minutes rainfall, r is approximately 0.27-0.42. For the rainfall hyetograph, Kiefer and Chu method gives the computed peak rainfall intensity closest to the observed data and Yen and Chow method gives the computed rainfall hyetograph closest to the observed data, (3) from relation between rainfall and runoff analysis, it is found that t[subscript c] calculated by the linear multiple regression equation gives the best result to fit with the actual data and t[subscript c] calculated from Kirpich formula gives the better result to fit with the actual data. C calculated from Q = CiA by averaging i on t[subscript c] gives the best result to calculate the peak discharge and the average unit hydrograph method gives the best result both peak discharge and hydrograph shape to fit with the measured data. The study suggested that the hydrological parameters analysis, in order to be standardize parameters, need data measured inthe long time period and continuously but this study's measurement is within short time period, so, in the next hydrological data measurement, BMA should measure the data in the longer time period and continuously in order to be able to use to analysis results to find the standard hydrological parameters for Bangkok.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมแหล่งน้ำ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8984
ISBN: 9741311222
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phatcharasak.pdf5.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.