Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8993
Title: การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนกับความรู้ ทัศนคติ และการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัย
Other Titles: Media exposure, political knowledge, attitude and participation among university students
Authors: ฐิติ วิทยสรณะ
Advisors: เสถียร เชยประทับ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: satien.c@chula.ac.th
Subjects: การเปิดรับสื่อมวลชน
การมีส่วนร่วมทางการเมือง
นักศึกษา -- ไทย -- ทัศนคติ
สื่อมวลชนกับการเมือง
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน ความรู้ ทัศนคติและการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากร การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน ความรู้ ทัศนคติ และการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ t-test One-Way ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS+ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะทางประชากรแตกต่างกันมีการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนแตกต่างกันลักษณะทางประชากรเรื่องอาชีพของบิดา มารดา ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว รายได้ เฉลี่ยต่อเดือนที่นักศึกษาได้รับแตกต่างกันมีการเปิดรับข่าวสาร จากสื่อมวลชนแตกต่างกันแต่ลักษณะทางประชากรเรื่องเพศที่แตกต่างกันมีการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้การวิจัยยังพบอีกว่า การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนมีความสัมพันธ์กับความรู้ทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติและการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง สำหรับความรู้ทางการเมืองนั้นพบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติและการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง อย่างไรก็ดีทัศนคติมีความสัมพันธ์กับการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: To analyze the relationship between demographic characteristics, media exposure, political knowledge, attitude and the participation in political activities affairs among university students. Questionnaires were employed to gather data from a total of 400 samples from universities in both metropolitan and suburban areas. Percentage, mean, t-test, One-Way ANOVA and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient were applied to data analyses. SPSS program was also uesd in the data processing process. The study found that university students with different demographic characteristics on parents' occupation, family incomes, students' monthly allowances were differenly exposed to mass media. Different sexes ; however, were not differenly exposed to the media. The study also found that mass media exposure was significantly related to political knowledge, but not to political attitude and participation. Political khowledge, was not related to political attitude and participation. Nevertheless, political attitude was significantly related to political participation.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8993
ISBN: 9746383175
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thiti_Vi_front.pdf778 kBAdobe PDFView/Open
Thiti_Vi_ch1.pdf836.24 kBAdobe PDFView/Open
Thiti_Vi_ch2.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Thiti_Vi_ch3.pdf754.83 kBAdobe PDFView/Open
Thiti_Vi_ch4.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Thiti_Vi_ch5.pdf847.12 kBAdobe PDFView/Open
Thiti_Vi_back.pdf966.63 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.