Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9027
Title: การนำแคลเซียมคลอไรด์กลับมาใช้โดยการฟื้นสภาพเรซินแลกเปลี่ยนไอออน
Other Titles: Calcium chloride recovery by regeneration of the ion-exchange resin
Authors: ทำนบ พรหมมูล
Advisors: อุรา ปานเจริญ
มนตรี บุญลอย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Ura.P@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: แคลเซียมคลอไรด์
เรซินแลกเปลี่ยนไอออน
น้ำเสีย -- การบำบัด
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การนำแคลเซียมคลอไรด์กลับมาใช้โดยการฟื้นสภาพเรซินแลกเปลี่ยนไอออนนี้ เป็นการนำเอาเครื่องแลกเปลี่ยนไอออนที่เคยใช้งานในระบบการผลิตน้ำ Deionization ของกระบวนการชุบโลหะ และเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต ทำให้ต้องหยุดการเดินเครื่องแลกเปลี่ยนไอออน ดังนั้นเพื่อเป็นการใช้เครื่องเก่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด แผนกบำบัดน้ำทิ้ง ฝ่ายซ่อมบำรุงรักษาโรงงาน บริษัทมินีแบไทย จำกัด สาขาโรจนะ จึงได้นำเอาเครื่องแลกเปลี่ยนไอออนที่ไม่ใช้งานแล้ว มาใช้กับระบบบำบัดน้ำทิ้ง โดยการนำน้ำที่ผ่านการกรองจากเครื่องกรองอัดฟิลเตอร์เพรส แยกน้ำออกจากตะกอน ซึ่งเป็นน้ำที่ผ่านการเติมสารเคมีมาแล้ว และมีสารละลายแคลเซียมอยู่ในน้ำมาก ทั้งนี้ก็เนื่องจากในกระบวนการบำบัดน้ำทิ้ง มีการใช้สารแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ที่เป็นชนิดผงในปริมาณมาก และทำให้มีฝุ่นฟุ้งกระจาย เมื่อให้น้ำที่ผ่านการกรองอัดเอาตะกอนออกไปแล้ว ส่งไปเข้าเครื่องแลกเปลี่ยนไอออน เม็ดเรซินประจุบวกที่บรรจุอยู่ในหอเรซินจะดูดซับไอออนบวกในน้ำไว้ ซึ่งจะมีประจุบวกแคลเซียม (Ca2+) และจะปลดปล่อยไฮโดรเจน (H+) ออกมาแทน เมื่อเรซินประจุบวกถูกแลกเปลี่ยนไฮโดรเจนไอออนจนหมดแล้ว จะไม่สามารถแลกเปลี่ยนประจุได้อีก ต้องทำการฟื้นสภาพเรซินแลกเปลี่ยนให้กลับไปอยู่ในรูปไฮโดรเจนตามเดิม โดยการใช้กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริกที่มีความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ แล้วให้ไหลผ่านและสัมผัสกับเม็ดเรซิน สำหรับน้ำทิ้งที่ไหลผ่านชั้นเรซินออกมาแล้วนั้น ก็จะมีส่วนประกอบของสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) ละลายอยู่เป็นส่วนมาก และสามารถที่จะนำกลับไปใช้ในกระบวนการบำบัดน้ำทิ้งได้อีก โดยนำไปใช้เป็นสารช่วยตกตะกอนร่วมกับการใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เพื่อปรับค่าพีเอช และนอกจากนี้ยังพบว่า การใช้แคลเซียมคลอไรด์จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านสารเคมีลดลงได้และสามารถทดแทนการใช้ผงแคลเซียมไฮดรอกไซด์ได้ดี รวมไปถึงความสามารถในการตกตะกอนสารเคมีที่เป็นพิษในน้ำทิ้งได้เช่นเดียวกับการใช้แคลเซียมไฮดรอกไซด์
Other Abstract: The calcium chloride recovery by regeneration of ion-exchange resin is bring the ion-exchanger unit were unused from the deionization of plating process. And cause of process of production has been changed then stop the deionization unit. Thus for high useful purpose, waste water treatment of plant maintenance division of minebea thai company then bring the deionization unit to be using with the waste water treatment plant. By using filtrated water from the filterpress machine which its is waste water mixed with many of chemicals for treatments and contains are many of the calcium hydroxide be dissolved. Because in the waste water treatment plant has used many of the calcium hydroxide in powder grade form. And its has spread of dust. When the filtrated water flow through the ion-exchanger unit, cation resin will be adsorption all of cation in the filtrated water. Which its may be ontains many of Ca2+ ion and meanwhile the ion-exchang resin were discharged hydrogen ions as long as until no exchanging and then required for regeneration to be hydrogen form. The regeneration by using by hydrochloric acid 5% concentration and send its into the ion-exchanger unit. For the eluated water from the regeneration are contain composition large amounts of calcium chloride (CaCl2) and can be recovery to use will waste water treatment plant again. As use for auxiliary precipitation and co-operation with sodium hydroxide to be pH adjustment. And the otherwise found that the calcium chloride which recovered can be saving cost of chemicals for waste water treatment and its is good for replacement to calcium hydroxide powder. And the others properties are same as calcium hydroxide but its is saving and safety to use more.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9027
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thamnop.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.