Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9119
Title: ระดับไทอะมีนไพโรฟอสเฟตเอฟเฟ็กต์ของผู้ป่วยไทยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
Other Titles: Thiamin-pyrophosphate effect (TPPE) in Thai congestive heart failure patient
Authors: พรชัย ลีลานิพนธ์
Advisors: วศิน พุทธารี
สุปราณี แจ้งบำรุง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: หัวใจวาย
ไทอะมีนไพโรฟอสเฟต
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: ศึกษาถึงความชุกของภาวะการขาดไทอะมีน ในผู้ป่วยไทย ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการวิจัย : ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยไม่จำกัดว่าภาวะหัวใจล้มเหลวดังกล่าวเกิดจากสาเหตุใด จะได้รับการเจาะเลือดเพื่อคำนวณหาระดับ TPPE (Thiamin-pyrophosphate Effect) และ ETK AC (Activation Coefficient of Erythrocyte Transketolase Activity) เพื่อนำมาคำนวณหา ความชุกของ ภาวะการขาดไทอะมีนในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว นอกจากนี้ยังนำมาคำนวณหาค่าความเสี่ยงของลักษณะต่างๆ ทางคลีนิคต่อภาวะการขาดไทอะมีน ผลการวิจัย: จากผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวชาวไทย 99 คน พบเพียง ร้อยละ 15.2 (15 ใน 99 คน) ที่มีภาวะขาดไทอะมีน โดยร้อยละ 7.1 (7 ใน 99 คน) มีภาวะขาดไทอะมีนเล็กน้อย และร้อยละ 8.1 (8 ใน 99 คน) มีภาวะการขาดไทอะมีนชัดเจน (ปานกลาง ถึงรุนแรง) เป็นไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของภาวะการขาดไทอะมีน ระหว่าง เพศ อายุ และประวัติการใช้ยาขับปัสสาวะ ความเสี่ยงของภาวะการขาดไทอะมีน ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวชาวไทย คือ ประวัติการดื่มสุรา (P = 0.001) และเศรษฐานะที่ต่ำ (P = 0.01) สรุป ความชุกของการขาดไทอะมีนในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวชาวไทย เป็นร้อยละ 15.2 โดยปัจจัยเสี่ยงได้แก่ การดื่มสุรา และเศรษฐานะที่ต่ำ
Other Abstract: Objective : To determine the prevalence of Thiamin deficiency in Thai congestive heart failure (CHF) patients. Methods : Blood sample were taken from patients who were admitted to King Chulalongkorn Memorial Hospital with the diagnosis of CHF and examined for TPPE (Thiamin-pyrophosphate Effect) and ETK AC (Activation Coefficient of Erythrocyte transketolase Activity), to determine the prevalence of Thiamin deficiency. Patients were interviewed and detailed medical records were collected to identify risk factors for Thiamin deficiency. Results : Out of 99 consecutive patients with CHF. 15 patients (15.2%) had ETK AC>1.15. Among these, 7 patients (7.1%) were classified as having mild Thiamin deficiency (ETK AC 1.15-1.20) and 8 patients (8.1%) were classified as having marked thiamin deficiency (ETK AC>1.20). Age, gender, ejection fraction, etiology of CHF, duration of CHF, history of diuretic use were not found to be associated with Thiamin deficiency. Alcoholic consumption and low socioeconomic status were found to be associated with Thiamin deficiency. Conclusion : The prevalence of thiamin deficiency in Thai CHF patients was 15.2%. Alcoholic consumption and low socioeconomic status were the two risk factors for this condition.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9119
ISBN: 9740300073
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornchai.pdf695.93 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.