Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9176
Title: การวิเคราะห์ความสามารถในการส่งออกของอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกของไทย
Other Titles: The analysis of export performance for plastic resin industry in Thailand
Authors: กิตติ ตันพรหม
Advisors: สามารถ เจียสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Samart.C@Chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติก -- การส่งออก -- ไทย
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งที่จะศึกษาวิเคราะห์ถึงโครงสร้างของอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกของไทย และความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ ตลอดจนปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการส่งออก รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่ออุตสาหกรรม และให้ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต ซึ่งวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาเม็ดพลาสติกที่สำคัญ 3 ชนิด คือ เม็ดพลาสติก LDPE, PC และ POM โดยในการศึกษาจะใช้ดัชนีความได้เปรียบ โดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (Revealed Comparative Advantage: RCA) ร่วมกับแบบจำลองส่วนแบ่งตลาดคงที่ (Constant Market Share Model: CMS) และแนวความคิดเกี่ยวกับความได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศ (Diamond Model) เพื่อบอกถึงถึงปัจจัยที่เอื้ออำนวยและที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการแข่งขันของอุตสาหกรรม จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยสามารถส่งออกเม็ดพลาสติก LDPE, PC และ POM ได้เพิ่มขึ้นทุกปี โดยมีความได้เปรียบ โดยเปรียบเทียบในทุกตลาดส่งออก และโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเม็ดพลาสติก LDPE มีค่าความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบสูงในตลาดจีน และเม็ดพลาสติก PC มีความได้เปรียบ โดยเปรียบเทียบสูงมากในตลาดฮ่องกง จีน และอินเดีย ส่วนเม็ดพลาสติก POM นั้นมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบสูงในตลาดสหรัฐอเมริกา และอิตาลี โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดเหล่านี้ คือ สามารถในการแข่งขันของประเทศที่เพิ่มขึ้น และการขยายตัวของตลาดโลก ส่วนปัญหาและอุปสรรคที่พบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเม็ดพลาสติกของไทย คือ ในการผลิตเม็ดพลาสติกของประเทศยังคงมีการใช้แนฟธาเป็นหลักซึ่งมีราคาสูงกว่าก๊าซธรรมชาติ ปัญหาเทคโนโลยีในการผลิต และปัญหาด้านแรงงานฝีมือที่ยังมีไม่เพียงพอ แต่โดยรวมแล้วอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกของไทย จัดอยู่ในเกณฑ์ดีทั้งปัจจัยภายในที่ได้รักการสนับสนุนจากรัฐบาล และปัจจัยภายนอกที่ตลาดต่างประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
Other Abstract: The objectives of the study on structure of Thai plastic resin industry are to investigate factors affecting the industry competitiveness, problem and obstacles of the industry and the suggestions to further improve. LDPE resin, PC resin and POM resin are three plastic resin selected to study. The three indexes, Revealed Comparative Advantage (RCA), Constant Market Share Model (CMS) and The competitive advantage of nation (Diamond Model), are used to evaluate the potential of Thai plastic resin and analyze factors affecting industry competitiveness. The finding are that Thailand could increasingly export LDPE resin, PC resin and POM resin, and the industries have more comparative advantage than before in every markets. For LDPE resin, Thailand has high comparative advantage in exporting to China. For PC resin, Thailand has high comparative advantage in exporting to Hong Kong, China and India. For POM resin, Thailand has high comparative advantage in exporting to United States and Italy. Major factors contributing to the increase of exports are the higher competitive advantage of nation and the growth of the world market. Problems and obstacles of Thai plastic resin industry were found in the production process: naphtha was used in high proportion, lack of production technology and labors don’t have qualification that the factory needs. In conclusion, the industries have good performance because of the support of government and high overseas demand.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9176
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.342
ISBN: 9741427085
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.342
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kitti.pdf19.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.