Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9191
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไพฑูรย์ ไกรพรศักดิ์ | - |
dc.contributor.author | กิตติพงศ์ เจียมวิทยานุกูล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-07-10T04:11:49Z | - |
dc.date.available | 2009-07-10T04:11:49Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9191 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en |
dc.description.abstract | ในงานศึกษานี้ได้ทำการศึกษาถึงความสัมพันธ์ที่ควรจะเป็นระหว่างตัวแปรอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและอัตราการว่างงานในประเทศไทย ตามแนวคิดเส้นโค้งฟิลลิปส์ (Phillips curve) ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2549 อันเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายการเงินภายใต้การกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (inflation targeting) นอกจากนี้ยังได้ทำการประมาณอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ณ ระดับที่ทำให้เกิดการจ้างงานเต็มที่ในระยะยาว และทำการทดสอบเชิงนโยบายของการดำเนินนโยบายการเงินแบบกำหนดอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเป็นเป้าหมายอยู่ในช่วงร้อยละ 0-3.5 ต่อปี ว่าสอดคล้องกับการเกิดการจ้างงานเต็มที่ในระยะยาวหรือไม่ในส่วนสุดท้ายของการศึกษา ผลการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์เชิงพลวัต (dynamic) ระหว่างตัวแปรที่ทำการศึกษาตามแนวคิดเส้นโค้งฟิลลิปส์ ซึ่งกรณีที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยในช่วงเวลาที่ทำการศึกษาคือ กรณีที่ประชาชนคาดคะเนอัตราเงินเฟ้อโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศด้วยวิธี Factor Analysis และความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานมีความสัมพันธ์ลักษณะมิใช่เชิงเส้นตรง (nonlinear: quasiconvex) นอกจากนี้สามารถประกอบอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ทำให้เกิดการจ้างงานเต็มที่ในระยะยาว คือร้อยละ 0.1256 ต่อเดือนหรือมีค่าเท่ากับร้อยละ 1.5177 ต่อปี จากผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินนโยบายการเงินที่กำหนดให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเป็นเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถทำให้เกิดการจ้างงานเต็มที่ได้ในระยะยาว เป็นการพิสูจน์เชิงประจักษ์ว่า เป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศทั้งการรักษาเสถียรภาพของราคาภายในประเทศและเป้าหมายการเพิ่มการจ้างงานให้เต็มที่มีความสอดคล้องกัน | en |
dc.description.abstractalternative | The objective of this study is to study appropriate relationship between inflation and unemployment rate (Phillips curve) in Thailand during 2001 – 2006 which Thailand has proceeded monetary policy framework with inflation targeting regime. Estimation core inflation rate at full employment and test monetary policy framework setting the target core inflation at between 0 – 3.5 percent per year can make full employment at long run as shown in the last section are final objective of this study. The obtained results show that dynamic Phillips curve with expected inflation by Factor Analysis and quasiconvex form was appropriate form for Thailand. In the long run core inflation at full employment was equal 0.1256 percent per month or 1.5177 percent per year. The results of this study reflect that monetary policy framework with inflation targeting regime can make full employment at long run. It is empirical proof that the two major economic development goals: price stability and full employment are accordance. | en |
dc.format.extent | 1591795 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.140 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | นโยบายการเงิน | en |
dc.subject | เงินเฟ้อ | en |
dc.title | เส้นโค้งฟิลลิปส์ในประเทศไทย ภายใต้ช่วงเวลาการดำเนินนโยบายการเงินแบบกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ | en |
dc.title.alternative | The Phillips Curve in Thailand during inflation targeting period | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Paitoon.K@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.140 | - |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kittipong.pdf | 1.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.