Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/921
Title: พฤติกรรมการถอนตัวและการโวยวายของกลุ่มแม่บ้านผู้ชมละครโทรทัศน์ไทย
Other Titles: Exit and voice behaviors of housewife audiences of Thai television drama serials
Authors: ธิติรัตน์ อรัณยวงศกร, 2518-
Advisors: ศิริชัย ศิริกายะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Sirichai.S@chula.ac.th
Subjects: ละครโทรทัศน์
พฤติกรรมผู้บริโภค
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเด็นความไม่พึงพอใจของกลุ่มแม่บ้าน อันนำไปสู่การวิเคราะห์ถึงลักษณะพฤติกรรมการถอนตัวและการโวยวายของกลุ่มแม่บ้านภายใต้กรอบแนวคิดสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ทฤษฎีความคาดหวังคุณค่า และทฤษฎีการถอนตัว การโวยวาย และการเหนียวแน่น ของเฮอร์ซแมน 1970 ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกลุ่มแม่บ้านที่มีการจัดตั้งกลุ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มแม่บ้านมีประเด็นความไม่พึงพอใจต่อละครโทรทัศน์ด้วยสาเหตุ 2 ประการคือ ประเด็นความไม่พึงพอใจอันเกิดจากองค์ประกอบในการผลิตละครโทรทัศน์ และประเด็นความไม่พึงพอใจอันเกิดจากผลกระทบที่มีต่อบุตรหลาน ซึ่งประเด็นความไม่พึงพอใจดังกล่าวมิได้นำไปสู่การเกิดพฤติกรรมการถอนตัวเลิกตามทฤษฎีการถอนตัวซื้อสินค้าของเฮอร์ซแมน 1970 เนื่องจากกลุ่มแม่บ้านมิได้ถอนตัวเลิกชมละครโทรทัศน์โดยสิ้นเชิง ซึ่งพฤติกรรมการถอนตัวพบใน 3 รูปแบบ คือการเปลี่ยนช่องสถานีโดยไม่กลับมาเปิดรับชมละครเรื่องเดิม แต่ยังเลือกชมละครเรื่องอื่น, การเปลี่ยนช่องสถานีชั่วคราว ไม่ชมเป็นบางฉาก บางตอน, การทำกิจกรรมอื่น หรือชมรายการอื่นทดแทนการชมละคร ส่วนรูปแบบพฤติกรรมการโวยวายพบใน 1 รูปแบบคือ การแสดงออกทางคำพูดขณะชมรวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ละครหลังชม แต่ไม่ปรากฎพบพฤติกรรมการร้องเรียนไปยังผู้จัด นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มแม่บ้านมีสินค้าทดแทนมากน้อยต่างกัน แต่การเลือกใช้สินค้าทดแทนไม่ต่างกัน และกลุ่มแม่บ้านมีความเหนียวแน่น (Loyalty) ต่อละครโทรทัศน์สูง เนื่องจากยังคงมีความต้องการติดตามชมละครโทรทัศน์ แม้จะได้รับความไม่พึงพอใจ
Other Abstract: This research was aimed at studying issues of housewife audiences' unsatisfaction which led to an analysis of exit and voice behavior of housewife audiences under the stimulus - response, expectancy - value theory and exit, voice and loyalty theory by Hirschman framework. This research used qualitative method by depth interview housewife audiences whom being the member of housewifes formal group in Bangkok. Results indicated that the housewife audiences were unsatisfied with Thai television drama serials for 2 reasons i.e. unsatisfied with the Thai television drama serials production and unsatisfied with the effects to their succeeding generation. These unsatisfaction was not the cause of exiting behavior according to exit behavior theory by Hirschman in 1970. Results for the exit behavior format of housewife audiences demonstrated that the housewife audiences did not completely exit from viewing Thai television drama serials. There are three formats of exiting behavior; gapping to other channels to view other channels temporarily and not viewing only some scenes or episodes, and doing other activities or viewing other programs, voice behavior i.e. word expressions while viewing including criticizing after that Thai television drama serials ended but did not find that anyone compared to the producers. Results in searching for substitute products of housewife audiences indicated that housewife audiences had different numbers of choices but the selection of substitute product was not different. Besides, housewife audiences were high loyalty to Thai television drama serials since they wanted to view Thai television drama serials eventhough they were not satisfied.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/921
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.440
ISBN: 9740314236
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.440
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thitirat.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.