Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9275
Title: ภาษาจินตภาพในเรื่องสั้นของอัศศิริ ธรรมโชติ
Other Titles: The language of imagery in the short stories of Ussiri Dhammachoti
Authors: ดลฤทัย ขาวดีเดช
Advisors: สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Suchitra.C@Chula.ac.th
Subjects: อัศศิริ ธรรมโชติ, 2490- -- ภาษา
วรรณกรรมไทย
เรื่องสั้นไทย
ภาษาจินตภาพ
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาลักษณะของภาษาจินตภาพในเรื่องสั้นของ อัศศิริ ธรรมโชติ เพื่อชี้ให้เห็นว่า การสร้างภาษาจินตภาพในเรื่องสั้นของอัศศิริ ธรรมโชติ เป็นลักษณะเด่นอันทำให้งานเขียนมีความชัดเจนงดงาม ผลการศึกษาพบว่า ภาษาในเรื่องสั้นของอัศศิริ ธรรมโชติ มีลักษณะต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพที่ชัดเจนลึกซึ้ง และทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ อันได้แก่ การเล่นเสียงสัมผัสคล้องจองและจังหวะ การใช้คำซ้อน การใช้คำบอกแสง สี การใช้คำทำเนียบกวี การใช้คำที่มีความหมายตรงกันข้าม การซ้ำคำ การใช้ประโยคซ้ำความ การใช้ประโยคคำถาม การใช้ประโยคยาว การสร้างความสมดุลทางโครงสร้างประโยค การใช้ภาพพจน์และสัญลักษณ์ ลักษณะการใช้ภาษาทั้งหมดนี้ มุ่งสร้างจินตภาพที่สอดคล้องกับสารสำคัญของเรื่อง มีสัมพันธภาพและเป็นเอกภาพเพื่อเชื่อมโยงไปสู่การตีความ และเข้าใจสารสำคัญของเรื่องอย่างลึกซึ้งชัดเจน ได้แก่ จินตภาพของความโหดร้าย ความน่าสะพรึงกลัว ความทุกข์ ความเศร้า ความเหงา ความท้อแท้ และความสิ้นหวัง จินตภาพเหล่านี้ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด ในชื่อเรื่องและฉาก อัศศิริ ธรรมโชติ เลือกใช้สภาพธรรมชาติที่โหดร้ายรุนแรง เช่น "พายุ" "มรสุม" และ "ไฟ" เป็นสื่อแสดงความโหดร้ายที่มนุษย์ได้รับ ใช้ภาพพจน์แบบปุคลาธิษฐาน คือ ให้ธรรมชาติและสถานที่ทำกิริยาอาการและมีความรู้สึกเศร้า เช่น "ต้นหญ้าเงื่องหงอย" "ลมครางเศร้าๆ" "คลื่นลมหวนไห้" "ทะเลร่ำหา "ซอยเหงาอ้างว้าง" และใช้ภาพพจน์แบบอติพจน์คือ "ทะเลน้ำตา" เพื่อสื่อความรู้สึกเศร้าที่มีปริมาณมากมายมหาศาล รวมทั้งใช้ "บทเพลงเศร้า" "ฝน" เป็นสัญลักษณ์ของความเหงาเศร้า ใช้ "รถไฟ" และ "เครื่องจักร" เป็นสัญลักษณ์ของสังคมสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยความโหดร้าย และใช้ "หมาบ้า" เป็นสัญลักษณ์ของมนุษย์ที่ไร้จริยธรรมในการควบคุมพฤติกรรมของตนเอง จินตภาพต่างๆ เหล่านี้ส่งผลให้สารสำคัญที่อัศศิริ ธรรมโชติ สื่อมายังผู้อ่านโดดเด่น และเข้มข้นด้วยพลังความคิด โดยสื่อผ่านความงดงามแห่งวรรณศิลป์
Other Abstract: To study the language of imagery in Ussiri Dhammachoti's short stories in an attempt to prove that the language of imagery is an outstanding characteristics contributing to literary beauty of the works. The study reveals various elements in the language use leading to vivid imagery and deep emotion. These elements are the use of rhyme and rhythm, synonymous compound word, colour word, poetic diction, paradox, repetition of word and phrase, rhetoric question, long sentence, parallelism, metaphor and symbol. All these elements in the language use enhance the creation of unifying imagery that ultimately conveys deep messages of the works. The imagery in the works is mostly imagery of cruelty, suffering fear, sorrow, loneliness and hopelessness. The use of imagery prominently appears in the title and the setting. Ussiri selects the imagery of violent nature like 'storm' 'monsoon' and 'fire' to convey cruelty. He also describes nature and places in a sorrowful mood like 'the grass is mute' 'the wind whispers sadly', 'the waves lament', 'the sea weeps' and 'the lane is lonely'. He also uses 'the sea of tears' as well as 'sad melody' and 'rain' to convey an abundance of sorrows. The symbol of 'train' and 'machine' is used to symbolize a modern society full of cruelty, whereas 'a mad dog' is compared to an uncontrolled human beings. The unity between the message and the imagery in Ussiri's works renders a beautiful vividness of the message to his readers.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9275
ISBN: 9746387855
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Donruetai_Kh_front.pdf443.71 kBAdobe PDFView/Open
Donruetai_Kh_ch1.pdf397.94 kBAdobe PDFView/Open
Donruetai_Kh_ch2.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open
Donruetai_Kh_ch3.pdf6.18 MBAdobe PDFView/Open
Donruetai_Kh_ch4.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open
Donruetai_Kh_ch5.pdf5.69 MBAdobe PDFView/Open
Donruetai_Kh_ch6.pdf361.96 kBAdobe PDFView/Open
Donruetai_Kh_back.pdf343.69 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.