Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9321
Title: ภาพลักษณ์ของครูไทยผ่านสื่อภาพยนตร์ที่คัดสรร
Other Titles: Image of Thai teachers in selected films
Authors: มนชนก ทองทิพย์
Advisors: อวยพร พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Uayporn.P@chula.ac.th
Subjects: ครูในภาพยนตร์
ภาพยนตร์ -- ไทย
จินตภาพ
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาว่าสื่อภาพยนตร์ที่ศึกษาได้นำเสนอภาพลักษณ์ของครูออกมาในลักษณะอย่างไร โดยศึกษาจากภาพยนตร์ไทยที่คัดสรรซึ่งได้ผลิตขึ้นในช่วงปีพุทธศักราช 2530-2535 จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง "แบบว่าโลกนี้มีน้ำเต้าหู้และครูระเบียบ" "น้ำเต้าหู้กับครูระเบียบ 2" "ครูไหวใจร้าย" "ม.6/2 ห้องครูวารี" และ "อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2" ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ภาพยนตร์ที่ศึกษาทั้ง 5 เรื่องแสดงภาพของครูที่มีความปรารถนาดีต่อนักเรียน แต่แสดงพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป ส่วนมากเริ่มด้วยพฤติกรรมที่เป็นปรปักษ์กับนักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่ดีก่อน หลังจากที่ได้ผ่านสถานการณ์วิกฤติไปแล้ว นักเรียนจึงจะมีความเข้าใจในความปรารถนาดีของครูและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้ครูก็มีการเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่เป็นมิตรกับนักเรียนมากขึ้นด้วย ในด้านการนำเสนอภาพของครูที่เป็นภาพตลกนั้น จากการศึกษาพบว่าปรากฏภาพครูตลกในภาพยนตร์ที่ศึกษาทั้ง 5 เรื่องในปริมาณที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับประเภทของภาพยนตร์เป็นหลัก กล่าวคือถ้าเป็นภาพยนตร์แนวตลก ก็จะปรากฏภาพครูตลกในปริมาณที่มากกว่าภาพยนตร์ที่เป็นแนวเหมือนจริงซึ่งก็มีการนำเสนอภาพครูตลกอยู่บ้างเล็กน้อย เพื่อให้ภาพยนตร์มีเนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับผู้ชมที่อยู่ในวัยเดียวกันกับตัวละครนักเรียนในเรื่อง ปัญหาที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ทุกเรื่องที่ศึกษา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาระหว่างตัวละครใดก็ตาม หรือจะเป็นปัญหาประเภทใดก็ตาม ครูจะมีส่วนเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านั้นทุกปัญหา ซึ่งในที่สุดปัญหาเหล่านั้นก็จะคลี่คลายไปในทางที่ดี ในตอนจบเรื่องของภาพยนตร์ทุกเรื่องที่ศึกษานั้นก็จะนำเสนอภาพของครูที่ได้รับผลตอบแทนการเป็นครูที่ดีด้วยความปลื้มปีติที่ได้เห็นนักเรียนสามารถฟันฝ่าสถานการณ์วิกฤติต่างๆ ไปได้ และประสบความสำเร็จด้วยดีทั้งในด้านการศึกษา การทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ และในเรื่องความเข้าใจอันดีระหว่างนักเรียนกับบุคคลในครอบครัวของนักเรียน นอกจากนี้ ก็ยังพบว่าสิ่งที่มีส่วนในการสร้างภาพลักษณ์ของครูในภาพยนตร์นั้น นอกเหนือจากบทภาพยนตร์แล้ว ก็ยังมีเทคนิคต่างๆ อีกมากที่ช่วยเสริมภาพลักษณ์ของครูให้เด่นชัดขึ้น เช่น การใช้ shot และมุมกล้องการใช้ effect ด้านแสง สี และเสียง และการใช้เพลงประกอบ เป็นต้น
Other Abstract: Finds out how the selected Thai films presented the image of Thai teachers. The 5 films used in this study were shown during 1987-1992, and included "Baeb Waa Lok Nii Mee Num Tao Huu Lae Kru Rabieb", "Num Tao Huu Kab Kru Rabieb II", "Kru Wai Jai Raay", "M.6/2 Hong Kru Waree", and "Anung Khid Thung Por Sungkhep Roon II". The results of this study revealed that the teachers found in the selected films had good wishes for their students, but their behaviours were shown differently. Most of them started with the antagonistic behaviours against their students, who first expressed their bad behaviours. After the situation of crisis or the climax of the stories, the students would understand their teachers and changed their behaviours to the better ones. The teachers would also changed their antagonistic behaviours to the protagonistic ones. The presentation of the teachers' characters as comedians was found in all the selected films, differently in quantity, and depended on the types of the films; if the type of the films was comedy, the presentation of the teachers in the films would occur as comedians in high quantity. If the type of the films was realistic, the presentation of the teachers would appear as comedians in a little quantity, which was enough to entertain the audiences who were in the same age as the students in the films. No matter what kind of the conflicts which occured in the selected films were, the teachers in the films would always take important parts in the resolutions of all of them, and the results of the resolutions were declined in the better ways. At the end of the stories, the teachers would be paid back for their goodness as the pleasure and happiness to see their students succeeded in their studies, their useful activities and their understanding relationship with the members of their families. Besides the film scripts, there were many elements to put the characters of the teachers in the films on spot, such as the techniques of camera using (many styles of shot and camera angle), the techniques of effect (light and sound effect), and the music in the films (plot music and background music)
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9321
ISBN: 9746388444
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Monchanok_To_front.pdf775.41 kBAdobe PDFView/Open
Monchanok_To_ch1.pdf746.31 kBAdobe PDFView/Open
Monchanok_To_ch2.pdf843.88 kBAdobe PDFView/Open
Monchanok_To_ch3.pdf686.11 kBAdobe PDFView/Open
Monchanok_To_ch4.pdf881.23 kBAdobe PDFView/Open
Monchanok_To_ch5.pdf941.81 kBAdobe PDFView/Open
Monchanok_To_ch6.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open
Monchanok_To_ch7.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Monchanok_To_ch8.pdf757.19 kBAdobe PDFView/Open
Monchanok_To_back.pdf735.03 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.