Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9344
Title: การถอดถอนข้าราชการประจำจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
Other Titles: The removal from office of permanent governmnet officials under the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E.2540
Authors: กฤตติกา ยุวนะเตมีย์
Advisors: ธงทอง จันทรางศุ
มานิตย์ จุมปา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การลงโทษ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
การถอดถอนจากตำแหน่ง
รัฐธรรมนูญ -- ไทย
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดระบบการถอดถอนจากตำแหน่งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการควบคุมการทุจริตหรือใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูง โดยไม่เพียงแต่ใช้ตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเท่านั้น ยังครอบคลุมไปถึงการตรวจสอบข้าราชการประจำระดับสูงด้วย ในกรณีนี้ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณาลงโทษทางวินัยของข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบวินัยข้าราชการที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในการบังคับใช้มาตรการถอดถอนจากตำแหน่งกับข้าราชประจำ จากการศึกษาวิจัยพบว่าอาจเกิดปัญหาในการถอดถอนข้าราชการประจำจากตำแหน่งขึ้น สองประการด้วยกัน ประการแรก คือ ปัญหาที่มีต่อระบบการควบคุมข้าราชการประจำ กระบวนการถอดถอนจากตำแหน่งจะทำให้เกิดความลักลั่นต่อการพิจารณาลงโทษทางวินัยของผู้บังคับบัญชา และต่อการพิจารณาคดีโต้แย้งคำสั่งทางวินัยของศาลปกครองส่งผลให้เกิดความสับสนในการบังคับตามคำวินิจฉัยขององค์กรทั้งสาม รวมทั้งในการพิจารณาถึงสิทธิของข้าราชการตามกฎหมายระเบียบวินัยข้าราชการ ประการที่สอง คือ ปัญหาในกระบวนการลงโทษถอดถอนจากตำแหน่ง เนื่องจากบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนการถอดถอนจากตำแหน่งมีความไม่ชัดเจนและคลุมเครือในบางกรณี อาจทำให้ผู้ถูกกล่าวหาใช้ช่องว่างของกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงบทลงโทษของมาตรการดังกล่าวได้ และยังอาจเป็นผลให้องค์กรผู้พิจารณคดี (วุฒิสภา) ตัดสินคดีโดยขาดความเป็นกลางได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนวทางในการป้องกันปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติ และทำให้การควบคุมการทุจริตของเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยให้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ดังนี้ 1. บัญญัติให้มติของวุฒิสภาไม่มีผลต่อกระบวนการพิจารณาลงโทษทางวินัย และต่อสิทธิของข้าราชการตามที่บัญญัติในกฎหมายระเบียบวินัยข้าราชการ ตลอดจนไม่มีผลต่อการพิจารณาคดีของศาลปกครอง 2. บัญญัติหลักเกณฑ์ในการพิจารณาถอดถอนจากตำแหน่งของวุฒิสภา ให้มีกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อวุฒิสภาโดยเปิดเผย และให้สมาชิกวุฒิสภาแสดงเหตุผลในการวินิจฉัย 3. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการตรวจสอบคำร้องขอถอดถอนจากตำแหน่ง เงื่อนไขการพิจารณาคดี และบทลงโทษของมาตรการถอดถอนจากตำแหน่งให้ชัดเจนเพื่ออุดช่องว่างของกฎหมาย โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของรัฐธรรมนูญ เป็นสำคัญ
Other Abstract: The removal from office measure under the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2540 is prescribed for controlling the malfeasance of the high-ranging officials. It aims to control not only political officers, but also the high-ranging government officers. Consequently, this case will affect the disciplinary action procedures under the civil servant act, which are existing. Accordingly, this thesis focuses on the study of the problems that might be occurred when applying the removal from office measure to the permanent government officials. The study reveals that there might be two consequent problems occurred in the enforcement. Firstly, the removal procedures may cause the problem with the disciplinary system, in terms of incongruity with the disciplinary action procedures and to the consideration of the administrative court. Besides causing the confusion of the enforcement of all three results, it might also affect the rights of officials entitled to the civil servant act. Secondly, the problem concerning with the removal procedures may be found according to some unclear and ambiguous provisions by which the accused can use for evading the punishment of this measure. Also, it may result in the bias consideration of the senate. In connection to the above mentioned problems, this thesis therefore recommends the guidance to prevent such problems in order to create clearer provisions for enforcement and the corruption control efficiency in the aspects of amending the organic law on counter corruption B.E. 2542 in the details as follows: (1) Specify that the senate's resolution for the removal from the office does not affect the disciplinary action procedures, the right of the government officers and the administrative court decisions. (2) Specify the rules of the senate trials in the removal from office case by including procedures of open witness examination before the senate and giving the reasons of the judgment. (3) Specify the provisions concerning to the reviewing of the removal from office petitions and the conditions for the senate's consideration; and amend the provision of the punishment measures to make it clear in interpretation in accordance with the intention of inspecting the exercise of state power of the constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2540.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9344
ISBN: 9741310889
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Krittika.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.