Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9351
Title: คุณภาพบริการโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยในคาดหวังและรับรู้ และที่พยาบาลประจำการรับรู้ความคาดหวังของผู้ป่วยใน และปฏิบัติจริงในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตภาคกลาง
Other Titles: Hospital service quality as expercted and perceived by inpatients and that as perceived and actual practice by staff nurses, central and general hospitals under the jurisdiction of the Ministry of Public Health, central region
Authors: สุภาวดี วรชื่น
Advisors: พนิดา ดามาพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Panida.D@Chula.ac.th
Subjects: บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล
ความคาดหวัง (จิตวิทยา)
การรับรู้
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เปรียบเทียบคุณภาพบริการโรงพยาบาลตามความคาดหวัง และตามการรับรู้ของผู้ป่วยใน เปรียบเทียบคุณภาพบริการโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยในคาดหวัง กับที่พยาบาลประจำการรับรู้ความคาดหวังของผู้ป่วยใน และเปรียบเทียบคุณภาพบริการโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยในคาดหวัง ตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการกับที่พยาบาลประจำการปฏิบัติจริงและ รวมทั้งเปรียบเทียบคุณภาพบริการโรงพยาบาล ที่พยาบาลประจำการปฏิบัติจริงตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ กับคุณภาพบริการโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยในรับรู้ โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั้วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตภาคกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ป่วยในจำนวน 397 คนและพยาบาลประจำการ จำนวน 380 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพบริการ โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปตามความคาดหวังของผู้ป่วยใน ซึ่งผู้วิจัยปรับปรุงจากงานวิจัยของ พนิดา ดามาพงศ์ และคณะ มีจำนวน 2 ชุดคือ แบบสอบถามสำหรับผู้ป่วยใน และแบบสอบถามสำหรับพยาบาลประจำการ มีความตรงตามเนื้อหาโดยการตัดสินจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 ท่าน มีค่าความเที่ยงภายในของเครื่องมือทั้ง 2 ชุด ด้วยวิธีของครอนบาคเท่ากับ .9618 และ .9721 ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพบริการโรงพยาบาล ตามความคาดหวังและตามการรับรู้ของผู้ป่วยใน แตกต่างกันอย่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งโดยรวมและรายด้าน โดยค่าคะแนนเฉลี่ยที่ผู้ป่วยในคาดหวัง สูงกว่าค่าคะแนนเฉลี่ยที่ผู้ป่วยในรับรู้ 2. คุณภาพบริการโรงพยาบาล ที่ผู้ป่วยในคาดหวังกับที่พยาบาลประจำการรับรู้ความคาดหวัง ของผู้ป่วยในแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 คือ ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการและด้านจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ โดยรวมและบางด้านไม่แตกต่างกัน 3. คุณภาพบริการโรงพยาบาล ที่ผู้ป่วยในคาดหวังตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ กับที่พยาบาลประจำการปฏิบัติจริง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งโดยรวมและรายด้าน โดยค่าคะแนนเฉลี่ยที่พยาบาลประจำการรับรู้ความคาดหวังของผู้ป่วยใน สูงกว่าค่าคะแนนเฉลี่ยที่พยาบาลประจำการปฏิบัติจริง 4. คุณภาพบริการโรงพยาบาลที่พยาบาลประจำการปฏิบัติจริง ตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ กับคุณภาพบริการโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยในรับรู้ โดยรวมและรายด้านพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าคะแนนเฉลี่ยที่ผู้ป่วยในรับรู้ สูงกว่าค่าคะแนนเฉลี่ยที่พยาบาลประจำการปฏิบัติจริง ยกเว้นด้านจริยธรรมของเจ้าหน้าที่และด้านการให้ความรู้ที่ไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: To compose hospital service quality as expected and as perceived by inpatients, to compare hospital service quality as expected by inpatents and that as perceived by staff nurses, to compare inpatients expectation of hospital service quality as perceived by staff nurses and that as they had provided to inpatients as they reported, and to compare hospital service quality provided by staff nurses and that as perceived by inpatients. A sample of 397 inpatients and 380 staff nurses were selected through multi-stage sampling technique. The two sets of instrument for inpatients and staff nurses were rating scale, developed from the research results of Panida Damapong et al (1998). The reliability of the instruments, tested by Cronbach Coefficient, were .9618 and .9721 respectionally. The results : 1. Hospital service quality as expected and as perceived by inpatients, both the whole and of each aspect, were significant differences at the .05 level. Means scores of inpatients expectation was higher than that of perception. 2. Hospital service quality as expected by inpatients and that as perceived by staff nurses were not significant difference, while the aspect of tangibles and personnel ethics were significant differences at the .05 level. 3. Perception of staff nurses concerning hospital service quality as expected by inpatients, at the .05 level and that they provided to the inpatients as the reported, were significant differences at the .05 level. 4. Providing of hospital service quality as reported by staff nurses and that as perceived by inpatients, both the whole and each aspect were significant differences at the .05 level
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9351
ISBN: 9743334564
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supawadee_Wo_front.pdf854.76 kBAdobe PDFView/Open
Supawadee_Wo_ch1.pdf921.98 kBAdobe PDFView/Open
Supawadee_Wo_ch2.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_Wo_ch3.pdf801.67 kBAdobe PDFView/Open
Supawadee_Wo_ch4.pdf768.76 kBAdobe PDFView/Open
Supawadee_Wo_ch5.pdf763.78 kBAdobe PDFView/Open
Supawadee_Wo_back.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.