Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9425
Title: | การปรับปรุงบรรจุภัณฑ์เพื่อลดต้นทุนการผลิต ในโรงงานผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า |
Other Titles: | Package improvement for reducing production cost in power transformer factory |
Authors: | สาทิต เต็มนาที |
Advisors: | ศิริจันทร์ ทองประเสริฐ จรัญญา เหลืองสะอาด |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sirichan.T@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การบรรจุหีบห่อ การควบคุมต้นทุนการผลิต การวิเคราะห์คุณค่า (การควบคุมต้นทุนการผลิต) หม้อแปลงไฟฟ้า |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การที่อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่าง ทางด้านกายภาพรูปร่างภายนอกของแต่ละแบบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น มีวัสดุที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์จำนวนมาก ทำให้เกิดความสับสนในวิธีการบรรจุ สิ้นเปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บวัสดุเหล่านี้ และที่สำคัญที่สุดคือ ต้นทุนค่าวัสดุที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์มีค่าสูงเกินความจำเป็น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ ในกลุ่มขดลวดต้านทานของแผนก Electric Range Large (ERL) ให้ต้นทุนค่าวัสดุที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์ลดลง โดยได้นำหลักการของวิศวกรรมคุณค่ามาประยุกต์ใช้ ในการลดต้นทุนอย่างเป็นระบบ ภายใต้ข้อจำกัดและความต้องการของระบบ หลังจากศึกษาต้นทุนค่าวัสดุของบรรจุภัณฑ์ จัดกลุ่มวัสดุเหล่านั้นและศึกษาข้อจำกัดและความต้องการของระบบแล้ว ผู้วิจัยได้วิเคราะห์หน้าที่การทำงานของวัสดุที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์ทุกชิ้น เพื่อหาหน้าที่หลักของบรรจุภัณฑ์ ทำให้พบว่าวัสดุบางรายการทำหน้าที่ซ้ำกัน หน้าที่หลักของบรรจุภัณฑ์มีเพียง 6 หน้าที่ ซึ่งประกอบไปด้วย 1. บรรจุสินค้า 2. ป้องกันการชนกันของสายไฟ 3. ป้องกันความชื้น 4. กำหนดตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ 5. รับน้ำหนัก 6. ป้องกันการกระแทก นอกจาก 6 หน้าที่หลักแล้ว สิ่งที่นำมาพิจารณาในการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์คือ ข้อจำกัดและความต้องการของระบบ ซึ่งประกอบไปด้วย 1. ข้อจำกัดด้านการขนส่ง 2. ข้อจำกัดด้านการเคลื่อนย้าย 3. ความสามารถในการปกป้องผลิตภัณฑ์ 4. ความต้องการของลูกค้า หลังจากปรับปรุงบรรจุภัณฑ์พบว่า ต้นทุนค่าวัสดุที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์ลดลง 29% และบรรจุภัณฑ์ที่ปรับปรุงแล้ว ตอบสนองข้อจำกัดและความต้องการของระบบทั้ง 4 ด้าน |
Other Abstract: | Electrical parts, which are the products with little difference in physical appearance for each model, have too many packaging materials. This leads to confusion of packaging methods, use of large warehouse area to store these materials and, most important, unnecessary cost of packaging materials.Therefore, the objective of this thesis is to improve packaging of reactor in the Electric Range Large (ERL) department for material cost reduction by applying Value Engineering techniques to reduce material costs systematically. After discussing material costs, grouping of materials and studying system requirements, the researcher performed a functional analysis of every part of packaging to indicate the main functions of the packaging. The analysis concluded that the main functions of the packaging consist of 1. Containing products 4. Positioning products to avoid movement 2. Protecting products from wire shorting 5. Carrying weight 3. Protecting products from moisture 6. Protecting from impact Beyond these main factors, the following system requirements are considered 1. Transportability 3. Protection capacity 2. Handling operations 4. Customer needs After the recommended improvements, the material costs of the packaging were potentially reduced by 29% and the improved packaging meets all the system requirements |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9425 |
ISBN: | 9740313345 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SathitTem.pdf | 7.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.