Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9430
Title: ห้องแถวเมืองสงขลา : รูปแบบ, องค์ประกอบ และพัฒนาการ (พ.ศ. 2385-2504)
Other Titles: Songkhla's shophouses : characters, elements and development (1842-1961 AD.)
Authors: อนุสรณ์ กำบัง
Advisors: ผุสดี ทิพทัส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pussadee.T@chula.ac.th
Subjects: บ้านแถว -- ไทย -- สงขลา
ตึกแถว -- ไทย -- สงขลา
สถาปัตยกรรม -- ไทย -- สงขลา
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาสถาปัตยกรรมห้องแถวในเมืองเก่าสงขลา บริเวณถนนนครนอก นครในและนางงาม ครั้งนี้ เพื่อทำความเข้าใจในรูปแบบ องค์ประกอบ และพัฒนาการของสถาปัตยกรรมในพื้นที่อันเนื่องมาจากเหตุปัจจัยด้านต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะใช้เป็นข้อมูลเรื่องประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมท้องถิ่น หรือเพื่อศึกษาวิจัยในเชิงเปรียบเทียบต่อไป จากการศึกษาในครั้งนี้ ทำให้สรุปได้ว่าอาคารพักอาศัยในเมืองเก่าสงขลา สามารถแบ่งเป็นได้เป็น 4 กลุ่มตามอิทธิพลที่แสดงออก เรียงตามลำดับช่วงเวลาของการเกิดให้เห็นได้ดังนี้ 1. สถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลรูปแบบไทย 2. สถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลรูปแบบจีน 3. สถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลรูปแบบชิโน-โปรตุกีส 4. สถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลตะวันตก เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นรูปแบบต่างๆ นั้น อาจสรุปได้ดังนี้ 1. การเมืองการปกครอง 2. ชาติพันธุ์และคติความเชื่อ 3. เทคนิควิธีการก่อสร้าง และวัสดุก่อสร้าง 4. ผลกระทบจากสงคราม 5. การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ 6. ข้อกำหนดกฎหมายในการก่อสร้าง สำหรับอาคารห้องแถวเมืองสงขลาทั้ง 4 กลุ่มที่ศึกษาพบนั้น มีลักษณะของการวางผังอาคารและการใช้พื้นที่ที่คล้ายคลึงกัน แต่ต่างกันที่ลักษณะทางภายนอกคือ รูปด้านอาคาร ซึ่งมีรูปแบบตามอิทธิพลไทย จีน ชิโน-โปรตุกีส และตะวันตก และเทคนิควิธีการก่อสร้างที่ทันสมัยขึ้นเป็นลำดับ ตั้งแต่การก่ออิฐฉาบปูนแบบโบราณของอาคารห้องแถวแบบไทยและจีน พัฒนาเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กในอาคารชิโน-โปรตุกีส และแบบตะวันตก ส่งผลให้จำนวนชั้นของอาคารเพิ่มจากชั้นเดียวหรือ 2 ชั้นในระยะแรก เป็น 3 ชั้นในระยะหลัง
Other Abstract: The study of shophouse architecture in the old city of Songkhla on Nakornnok, Nakornnai, and Nang-gnam road aimed at understanding the characters, elements, and development of the local architectures which were influenced by many factors. The findings of this study were meant to be primarily data on local historical architectures or to conduct comparative study research in the future. The results of this study showed that the shophouses in the old city of Songkhla could be categorized into four groups according to the influences of their chronological timeframes as follows 1. architecture influenced by the Thai style 2. architecture influenced by the Chinese style 3. architecture influenced by the Chino-Portuguese style 4. architecture influenced by the Western style. The factors that influenced the development of the architectural models can be summarized as follows 1. politics and government 2 race and beliefs 3 techniques and materials used in construction 4. the impact of wars 5. changes in economics 6 construction acts. With the reference found from those four groups of shophouses, they were similar in the layout and the space; however, the exterior characters, which were the sideview and the construction techniques, were different. The sideviews were influenced by Thai, Chinese, Chino-Portuguese, and Western styles. Moreover, the old mason techniques were applied in Thai and Chinese style shophouses while the development of reinforced concrete techniques were applied in Chino-Portuguese and Western style shophouses. Consequently, the later constructed shophouses were three-story buildings rather than one or two-story buildings that had been previously constructed.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9430
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.178
ISBN: 9741745575
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.178
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anusorn.pdf12.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.