Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9483
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุทุมพร จามรมาน-
dc.contributor.advisorสุภางค์ จันทวานิช-
dc.contributor.authorเอมอร จังศิริพรปกรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2009-08-03T04:11:52Z-
dc.date.available2009-08-03T04:11:52Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743310282-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9483-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ ประการแรก เพื่อสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมของครอบครัวนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในกรุงเทพมหานคร โดยสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมของครอบครัวนักเรียน ตรวจสอบความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมของครอบครัวนักเรียน ประการที่สอง เพื่อสร้างและพัฒนาเกณฑ์จัดช่วงชั้นทางสังคมของครอบครัวนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในกรุงเทพมหานครตรวจสอบความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ของการจัดช่วงชั้นทางสังคมของครอบครัวนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนและบิดาหรือมารดาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2-6 ของโรงเรียน 4 แห่ง ที่สังกัดกองการมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2541 จำนวน 1,425 คน สุ่มจากประชากร 268,321 คน/ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคม ได้แก่ แบบสอบถามสำหรับบิดาหรือมารดาเกี่ยวกับสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมของครอบครัว และเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบความตรง ได้แก่ แบบสอบถามความคาดหวังของบิดามารดาต่อการศึกษาของบุตร แบบวัดเชาวน์ปัญญา แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และแบบบันทึกคะแนนเฉลี่ยของนักเรียน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ตัวบ่งชี้สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมของครอบครัวนักเรียน ได้มาจากองค์ประกอบ 6 ตัว คือ อาชีพ การเป็นเจ้าของทรัพย์สิน การมีรายได้ การศึกษา อำนาจ และสภาพแวดล้อมของครอบครัว มีความตรงเชิงโครงสร้าง ความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ การจัดช่วงชั้นทางสังคมแบ่งเป็น 5 ช่วงชั้น ผลการเปรียบเทียบความสอดคล้องของการจัดช่วงชั้นทางสังคมระหว่างเกณฑ์จากสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมของครอบครัวนักเรียนที่พัฒนาขึ้นกับสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมของครอบครัวนักเรียนที่นิยมใช้ พบว่า มีความสอดคล้องกัน ร้อยละ 58.47 และกับเกณฑ์เชิงจิตวิสัย พบว่ามีความสอดคล้องกัน ร้อยละ 69.56en
dc.description.abstractalternativeThis research had two main purposes. The first purpose was to construct and develop SES indicators of public secondary school students' families in Bangkok Metropolis by constructing and developing SES indicators plus validating the criterion related validity and construct validity of developing SES indicators. The second purpose was to construct and develop criterion of social stratification of public secondary school students' families plus validating the criterion related validity of social stratification. The sample consisted of 1,425 Mathayom Suksa 2-6 students from 4 public schools and their parents in Bangkok Metropolis, served by the Department of General Education, Ministry of Education in the 1998 academic year, sampling from 268,321 persons/households. The research instrument for developing SES indicators was questionnaires for parents about SES of families and the instruments for collecting data related to validity were questionnaires of parental expectations of their children's education coupled with intelligence test, achievement motivation test and grade point average record of students. Results indicated that the developing SES indicators were associated with 6 factors namely education, occupation, income, property, home environment and power. The indicators showed construct validity and criterion related validity. The social stratification was divided into 5 levels and consistent with traditional SES criteria and subjective criteria, 58.47% and 69.56%, respectivelyen
dc.format.extent1556144 bytes-
dc.format.extent1182601 bytes-
dc.format.extent5365963 bytes-
dc.format.extent1521176 bytes-
dc.format.extent1408948 bytes-
dc.format.extent1334918 bytes-
dc.format.extent3815957 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษา -- สภาพทางเศรษฐกิจen
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษา -- สภาพทางสังคมen
dc.subjectลิสเรลโมเดลen
dc.titleการพัฒนาตัวบ่งชี้สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมของครอบครัวนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ ในกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeA development of socio-economic status indicators of public secondary school students' families in Bangkok Metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorUtumporn.J@Chula.ac.th-
dc.email.advisorSupang.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aimorn_Ja_front.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Aimorn_Ja_ch1.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Aimorn_Ja_ch2.pdf5.24 MBAdobe PDFView/Open
Aimorn_Ja_ch3.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Aimorn_Ja_ch4.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Aimorn_Ja_ch5.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Aimorn_Ja_back.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.