Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9505
Title: อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ : ศึกษาเฉพาะเรื่องการก่อให้เกิดสัญญา
Other Titles: United Nations Convention on Contracts for the International Sale of Goods : a study on formation of contracts
Authors: ประเสริฐ จรัญรัตนศรี
Advisors: พิชัยศักดิ์ หรยางกูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Phijaisakdi.H@chula.ac.th
Subjects: สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ค.ศ.1980
สัญญามาตรฐานทางการค้า
คำเสนอ -- สัญญา
คำสนอง -- สัญญา
ซื้อขาย -- สินค้าระหว่างประเทศ
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ได้ทำการศึกษาเฉพาะในส่วนที่ 2 ของอนุสัญญาฯ ว่าด้วยเรื่องการก่อให้เกิดสัญญา โดยเป็นการศึกษาทั้งในข้อกฎหมายและในการใช้บังคับกฎหมาย เปรียบเทียบกับกฎหมายไทยที่ใช้บังคับกับการก่อให้เกิดสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่อง นิติกรรมและสัญญา และเอกเทศสัญญาว่าด้วยเรื่องซื้อขาย จากการศึกษาพบว่าบทบัญญัติในเรื่องคำเสนอและคำสนองซึ่งเป็นการแสดงเจตนาที่จะก่อให้เกิดสัญญานั้นตามกฎหมายทั้งสองฉบับมีหลักกฎหมายส่วนใหญ่เหมือนกัน การที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ในประเด็นเรื่องการบอกเลิกคำเสนอที่กำหนดระยะเวลาให้ทำคำสนองนั้น กฎหมายไทยควรมีบทบัญญัติตามข้อบทของอนุสัญญาฯ เพราะจะทำให้ได้ประโยชน์จากบทบัญญัติของอนุสัญญาฯ มากกว่าที่จะบัญญัติกฎหมายไปในแนวทางใดแนวทางหนึ่งและในประเด็นเรื่องคำสนองที่มีข้อแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำเสนอนั้น กฎหมายไทยก็ไม่ควรมีบทบัญญัติที่จะใช้บังคับในเรื่องนี้โดยตรง ทั้งนี้เนื่องจาก ทางออกของการใช้กฎหมายให้เกิดความยุติธรรมนั้นมีหลายทาง ดังนั้น การที่จะบัญญัติกฎหมายไปแนวทางใดแนวทางหนึ่งจะทำให้เกิดความไม่ยืดหยุ่นในการใช้บทบัญญัติของกฎหมาย
Other Abstract: A studying on part II : Formation of Contract of the United Nations Conventionon Contracts for the International Sale of Goods which focuses onthe text and law enforcement in order to compare with Thai law applicable to the formation of contract in the international sale of goods, i.e. the Civil and Commercial Code ; particularly Juristic Acts, Contract and Sale. The result of this research is that most of the rules on offer and acceptance of the both laws are similar. Should Thailand want to be a member of the Convention, it should consider on the matter of revocation of an offer with time for acceptance and should enact a law similar to the provision of the Convention in order to take more advantage than to choose one way on the other. And on the issue of modifying acceptance. Thai law should not have provision for enforcing this matter directly, because there are many ways to achieve justice for parties. To enact law in one way or the other may rigidify the law enforcement.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9505
ISBN: 9743343512
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prasert_Ja_front.pdf750.49 kBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ja_ch1.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ja_ch2.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ja_ch3.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ja_ch4.pdf920.72 kBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ja_back.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.