Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9540
Title: การศึกษาการดำเนินงานการจัดหลักสูตรอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษา สังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา ในเขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
Other Titles: A study of the operation of dual vocational training program in institutions under the jurisdiction of technical college division, Department of Vocational Education in the Eastern Seaboard Development Area
Authors: อรุณแก้ว ลีธรรมชโย
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Boonmee.n@chula.ac.th
Subjects: การศึกษาทางอาชีพ -- หลักสูตร
ผู้บริหารการศึกษา
หลักสูตร
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานการจัดหลักสูตรอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษา สังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา ในเขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี หัวหน้าแผนกวิชา ผู้บริหารสถานประกอบการ และผู้ควบคุมการฝึก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา แจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ และนำเสนอในลักษณะของการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1. ขั้นเตรียมการ มีการจัดทำโครงการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี การวางแผนการปฏิบัติงาน มีการจัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง มีการประชาสัมพันธ์การจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีทั้งสถานศึกษาและสถานประกอบการ ปัญหาที่พบคือ สถานศึกษาจัดหาสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการได้น้อย จำนวนนักเรียนต่ำกว่าเป้าหมาย วิธีการประชาสัมพันธ์ไม่น่าสนใจ และไม่ชัดเจนและขาดงบประมาณสนับสนุน 2. ขั้นดำเนินการ ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีโดยปรึกษากับผู้บริหารสถานประกอบการ มีการจัดประชุมชี้แจงขั้นตอนการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ซึ่งมีผู้บริหารสถานประกอบการเข้าร่วมประชุม สถานศึกษารับสมัครและสถานประกอบการคัดเลือกนักเรียนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี โดยผู้ควบคุมการฝึกเป็นผู้ดำเนินการ ทั้งสถานศึกษาและสถานประกอบการมีการแต่งตั้งอาจารย์นิเทศก์ และครูฝึก มีการประชุมสัมมนาอาจารย์นิเทศก์และครูฝึก โดยสถานประกอบการคัดเลือกตัวแทนครูฝึกเข้าร่วมประชุม สถานศึกษาเป็นผู้ปฐมนิเทศนักเรียนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี การขึ้นทะเบียนเป็นนักเรียนและการลงทะเบียนเรียนตามแผนการเรียนสถานศึกษาจัดทำ สถานประกอบการทำสัญญาการฝึกอาชีพ ปัญหาที่พบ คือ สถานศึกษามีบุคลากรทำงานในด้านนี้น้อย อาจารย์มีภาระการสอนมาก มีนักเรียนไม่ครบจำนวน อาจารย์นิเทศก์ปฏิบัติหน้าที่ไม่สม่ำเสมอ ได้รับความร่วมมือจากสถานประกอบการน้อย 3. ขั้นนิเทศติดตามผล การนิเทศการเรียนการสอนสถานศึกษามีการจัดทำ การติดตามผล สถานศึกษามีกาาจัดทำสถานประกอบการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ปัญหาที่พบคือ สถานศึกษาไม่มียานพาหนะในการเดินทางไปนิเทศ อาจารย์นิเทศก์มีภาระการสอนมาก และได้รับผลการประเมินจากสถานประกอบการล่าช้า
Other Abstract: The purpose of research were to study the state and problems of the operation of Dual Vocational Training Program in institutions under the Jurisdiction of Technical College Division, Department of Vocational Education in the Eastern Seaboard Development Area. The population were institution administrators, academic assistant directors, head of Dual Vocational Training program, head of institution sections, administrators of enterprises, and apprenticeship supervisors. The instruments used in the research were semi-structured interview forms and questionnaires. Data were analyzed by content analysis, frequency and percentage. The research findings were as follow: 1. At the preparation stage. The Dual Vocational Training Program and the operational plans were arranged. The meeting were held in order to promote understanding among the personnel concerned. Public relations related to Dual Vocational Training Program was organized in both institutions and enterprises. The problems founded were few enterprises joined in the programs; There were lower number of students than the set goal; Public relations activities were uninterested and also insufficient budget. 2. At the operation stage. The committee of Dual Vocational Training Program was oppointed by institution administrators by consulting with enterprise administrators. Meetings were held for committee regarding steps of the program. The application was conducted by the institutions while the selections were held by the enterprise. Enterprise selected the representatives of teachers of apprentices to attend the meeting and seminar of instructional supervisors and teachers of apprentices. An orientation for the students of Dual Vocational Traning Program was conducted by the institutions. Institutions were responsible for the enrollment of students and the registration of students for a course, while enterprises provided apprenticeship contract. The problems founded were institutions had insufficient amount of personnel; teachers had heavy teaching loads; the number of students did not attain the target; instructional supervisors did not perform regularly; and less cooperations from enterprises. 3. At the follow-up stage. Instructional supervision was conducted by the institutions together with enterprises. Problems reported were lack of transportation, heavy teaching load among instructional supervisors, and evaluation results were late submitted
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9540
ISBN: 9743317589
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aroonkaew_Le_front.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Aroonkaew_Le_ch1.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Aroonkaew_Le_ch2.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open
Aroonkaew_Le_ch3.pdf887.12 kBAdobe PDFView/Open
Aroonkaew_Le_ch5.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Aroonkaew_Le_back.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.