Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/962
Title: สุนทรียทัศน์ของสื่อสารการแสดงฉากกามารมณ์ในภาพยนตร์ไทย
Other Titles: Aesthetic concept of performing arts in erotic scenes of Thai movies
Authors: สลิตตา ทรัพย์ภิญโญ, 2522-
Advisors: สุรพล วิรุฬห์รักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Surapone.V@chula.ac.th
Subjects: ภาพยนตร์
สุนทรียศาสตร์
กามารมณ์ในภาพยนตร์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่อง "สุนทรียทัศน์ของสื่อสารการแสดงฉากกามารมณ์ในภาพยนตร์ไทย" เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระแสวิพากษ์วิจารณ์ภาพยนตร์ไทยที่นำเสนอเรื่องเพศ หรือนำเสนอฉากกามารมณ์ และเพื่อศึกษาสุนทรียทัศน์ของสื่อสารการแสดงฉากกามารมณ์ในภาพยนตร์ไทยจากผู้ชม และผู้สร้างภาพยนตร์ 4 เรื่องได้แก่ จัน ดารา, ขุนแผน, แม่เบี้ย และไกรทอง การวิจัยนี้ได้ใช้กรอบแนวคิดในการวิจัย คือ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอีโรติกและเรื่องเพศ, นาฏยศาสตร์และกามสูตร,แนวคิดในการพิจารณาความเหมาะสมของการนำเสนอฉากกามารมณ์ และแนวคิดเกี่ยวกับผู้รับสาร เก็บข้อมูลโดยการจัดอภิปรายกลุ่มผู้ชมภาพยนตร์ทั่วไป 3 กลุ่มอายุ ได้แก่ กลุ่มอายุ 18-28 ปี , 29-39 ปี และ 40 ปีขึ้นไป และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกนักวิจารณ์ภาพยนตร์ และผู้สร้างภาพยนตร์ ผลการวิจัยพบว่า ภาพยนตร์ไทยที่มีการนำเสนอเรื่องเพศ หรือนำเสนอฉากกามารมณ์ปรากฏมานานแล้ว และกระแสวิพากษ์วิจารณ์ภาพยนตร์เหล่านี้มักจะออกมาในแง่ลบมากกว่าแง่บวก ส่วนสุนทรียทัศน์ของสื่อสารการแสดงฉากกามารมณ์ในภาพยนตร์ไทยจากทัศนะของผู้ชมและผู้สร้างภาพยนตร์ พบว่า 1. ในปัจจุบันภาพยนตร์ไทยมีการพัฒนาขึ้นทางด้านปริมาณและเทคนิค และมีฉากกามารมณ์เป็นส่วนประกอบมากขึ้น แต่ไม่โป๊ เปลือยมาก ส่วนใหญ่นำเสนอเพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาด 2. ความเหมาะสมในการนำเสนอ ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้สร้าง การยอมรับของสังคม และรสนิยมในการชมของผู้ชมภาพยนตร์ 3. ในอนาคตคาดว่าจะมีการนำเสนอฉากกามารมณ์เพิ่มขึ้น และมีระดับความโป๊ เปลือยมากขึ้นด้วย นอกจากนี้การเปรียบเทียบทัศนะของผู้ชมต่อความเหมาะสมของการนำเสนอฉากกามารมณ์กับทัศนะของผู้สร้างต่อรูปแบบและวัตถุประสงค์ของการนำเสนอฉากกามารมณ์ในภาพยนตร์ทั้ง 4 เรื่อง พบว่า ผู้สร้างมีเหตุผลในการนำเสนอฉากกามารมณ์ แต่ผู้ชมส่วนใหญ่ไม่รับรู้ถึงเหตุผลนั้นๆจากภาพยนตร์ได้ ทำให้มองว่าเป็นการขายฉากกามารมณ์มากเกินไป ข้อเสนอ แนะในการวิจัย ได้แก่ การศึกษาประวัติศาสตร์หรือความคิดเรื่องเพศในสังคมไทยควรมีอยู่ต่อไป โดยศึกษาจากสื่อจินตคดีต่างๆ และในการเก็บข้อมูลอาจใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณมาประกอบ หรือ ใช้สหวิธี เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก
Other Abstract: The study on "Aesthetic Concept of Performing Arts in Erotic Scenes of Thai Movies" is a qualitative research. The objectives are to examine the stream of critism on sexual content or erotic scenes in Thai films, including the aesthetic concept of performing arts in erotic scenes as perceived by audience and filmmakers. The 4 Thai films selected for the purpose of this study are Jan Dara, Kunpaen, Mae Bia and Krai Thong. The conceptual framework includes general knowledge about eroticism and sex, Natayasatra and Kamasutra, the guidelines for appropriate presentation of sexual scenes and the audience theory. In collecting the data, a group discussion is conducted in which the film audience are classified into 3 groups, i.e. 18-28 years old, 29-39 years old and over 40 years old. In addition, in-depth interviews with film critics and filmmakers are also used to abtain the required data. The findings of the research are as follows. The presentation of sexual content and erotic scenes has been a partinent features of Thai films for quite some time. The stream of criticism has been on the negative, rather than positive side. As regards the aesthetic concept of performing arts in erotic scenes of Thai movies, it is found that 1. Nowaday Thai films are improved both in volume and production standard and definitely featured more erotic scenes, though not too outrageous. The majority of them are made for marketing purposes. 2. The appropriateness of presentation depends upon the intention of the filmmakers, the level of social acceptance and the personal taste of the audience. 3. In the future, it is expected that Thai films will contain more erotic scenes and the level of eroticism is expected to increase. However, the comparison between the audience's attitudes towards the appropriateness of erotic scene and the filmmakers' attitudes towards the form and objective of erotic scenes in all 4 films, it is found that the filmmakers have justified reasons in so doing but the majority of the audience fail to perceive thosereasons. To them, erotic scenes are used as "selling points". For further studies, it is recommended that hostorical approach and study of sexual concept in Thai society should be pursued from available imaginative media. Researchers should bring in quantitative research method or a combined methodology in order to obtain more profound data.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/962
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.145
ISBN: 9741726821
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.145
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
salitta.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.