Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9789
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นภาพร ชโยวรรณ | - |
dc.contributor.author | ดนัย ทิพยกนก | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2009-08-07T04:30:36Z | - |
dc.date.available | 2009-08-07T04:30:36Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9741707452 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9789 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างดัชนีที่ใช้วัดภาวะสุขภาพทางใจของ ผู้สูงอายุไทย และศึกษาปัจจัยทางประชากร เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพทางใจของผู้สูงอายุไทย โดยใช้ข้อมูลจากโครงการวิจัยเรื่องครอบครัวและผู้สูงอายุ : ประชากรเอเชียในอนาคต (The Implications of Asia's Population Future for the Family and the Elderly) ดำเนินการสำรวจโดยวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2540 ตัวอย่างที่ศึกษาคือประชากรอายุ 60 ปี และมากกว่า จำนวน 328 ราย ดัชนีที่ใช้วัดภาวะสุขภาพทางใจในการศึกษาครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ แบบที่รวมคะแนนข้อคำถามที่สะท้อนภาวะสุขภาพทางใจโดยไม่ถ่วงน้ำหนัก (Mental 1) และแบบที่รวมคะแนนโดยถ่วงน้ำหนัก (Mental 2) ตัวแปรที่นำมาใช้ในการสร้างดัชนีมี 13 ตัวแปร ได้แก่ (1) ความบ่อยครั้งของความรู้สึกไม่อยากกินอาหารหรือเบื่ออาหาร (2) ความบ่อยครั้งของการนอนไม่หลับ (3) ความบ่อยครั้งของความรู้สึกว่าตนเองเป็นภาระของคนอื่น (4) ความบ่อยครั้งของความรู้สึกกังวลกับสถานะทางการเงิน (5) ความบ่อยครั้งของความรู้สึกเศร้า (6) ความบ่อยครั้งของความรู้สึกกังวลหรือเศร้าที่บุตรไม่มีฐานะความเป็นอยู่ที่ ดีขึ้น (7) ความบ่อยครั้งของความรู้สึกไม่หายเศร้าเหงาหงอยถึงแม้ครอบครัวและเพื่อนจะ ช่วย (8) ปัญหาด้านความกดดันทางการเงิน (9) ปัญหาด้านความเครียดทางอารมณ์หรือทางใจ (10) ปัญหาด้านการเข้ากับสมาชิกในบ้าน (11) ระดับความพอใจในสภาพที่อยู่อาศัย (12) ระดับความพอใจในสถานะทางการเงิน และ (13) ระดับความรู้สึกว่าตนเองเป็นคนที่มีความสุข ทั้ง 2 ดัชนีได้ผ่านการทดสอบความน่าเชื่อถือ (reliability) และความเที่ยงตรง (validity) ว่าสามารถใช้ในการวัดได้ดีพอๆ กัน การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสุขภาพทางใจของผู้สูงอายุที่วัดจากทั้ง 2 ดัชนีใช้วิธีการวิเคราะห์จำแนกพหุ (Multiple Classification Analysis, MCA) จากปัจจัยอิสระทั้งหมด 12 ตัวแปรให้ผลความแตกต่างภาวะสุขภาพทางใจตามกลุ่มของปัจจัยแต่ละตัวไม่แตกต่าง กันมากนัก ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพทางใจของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและ เป็นไปตามสมมุติฐาน ได้แก่ การมีหนี้สิน ภาวะสุขภาพทางกาย รายได้ และเพศ ตามลำดับ โดยผู้สูงอายุที่ไม่มีหนี้สินจะมีภาวะสุขภาพทางใจดีกว่าผู้ที่มีหนี้สิน ผู้ที่มีภาวะสุขภาพทางกายดีกว่าจะมีภาวะสุขภาพทางใจดีกว่าผู้สูงอายุที่มี ภาวะสุขภาพทางกายแย่กว่าผู้สูงอายุที่มีรายได้มากกว่าจะมีภาวะสุขภาพทางใจดี กว่าผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า ผู้สูงอายุเพศชายมีภาวะสุขภาพทางใจดีกว่าผู้สูงอายุเพศหญิง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ สถานภาพสมรส การเป็นหัวหน้าครอบครัวและแบบของการอยู่อาศัย ส่วนปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้และไม่มีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ อายุ สถานภาพการทำงาน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ความบ่อยครั้งที่ได้รับการติดต่อจากบุตร และเขตที่อยู่อาศัย ด้านความสามารถในการอธิบายความผันแปรของคะแนนภาวะสุขภาพทางใจของผู้สูงอายุ พบว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจทุกตัวรวมกันสามารถอธิบายความผันแปรได้ีดีที่สุด คืออยู่ระหว่างร้อยละ 15-ร้อยละ 17 ในขณะที่เมื่อปัจจัยอิสระทุกตัวรวมกันสามารถอธิบายความผันแปรของคะแนนภาวะสุขภาพทางใจได้ีร้อยละ 27 | en |
dc.description.abstractalternative | This study aims to create an indicator of mental health status of Thai elderly and to examine the associations between demographic, social, economic, environmental as well as other characteristics, and the mental health status of the elderly. The data used was drawn from the research project entitled "Family and the Elderly: The Implications of Asia's Population Future for the Family and the Elderly". The survey was conducted in 1997 by the College of Population Studies, Chulalongkorn University. The study sample consists of 328 elderly, defined as those who are 60 years old and over. Two indicators of mental status were constructed: the unweighted and the weighted sum of scores of 13 variables measuring mental health condition of the respondents. These variables include (1) frequency of having no food appetite, (2) frequency of having sleepless episodes, (3) frequency of feeling burden to other, (4) frequency of worrying over own financial situation, (5) frequency of feeling sad, (6) frequency of feeling concerns about children's well-being, (7) frequency of feeling sad or lonely despite the help of family and friends, (8) level of financial pressure encountered, (9) level of having emotional stress, (10) scale of problem on getting along with other family members, (11) level of satisfaction with the living condition, (12) level of satisfaction with financial situation and (13) scale of feeling happy. Both Indicators have been tested for their reliability and validity. The test results reveal that both indicators are adcceptable measures of mental health status. The multiple classification analysis, MCA, was employed to examine the impacts of the elderly's demographic, social and economic traits on their mental health status. Results of the multivariate analyses using the two indicators of mental health status as dependent variables are relatively similar. It was found that being in debt, physical health status, income level and sex were significantly associated with mental health status. Elderly with debt were in poorer mental health situation than those who were not in debt. Physical health status was positively related to mental health status. Elderly with higher income level had a higher average score of mental health indicator than those with lower income level. Male elderly display a higher average mental health score than female elderly. Factors related to mental health status in the expected direction, but not statistically significant were marital status, household headship, and type of living arrangement. However, age, work status, number of household members, frequency of contact with children, and type of residential area were found to have no impact on the mental health situation of the elderly. Economic factors had the highest explaining power of the variation in mental health status, i.e. about 15-17 percent of mental health variation were explained by economic factors. All independent factors considered could explain 27 percent of variation in the mental health status | en |
dc.format.extent | 1731549 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.232 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- ไทย | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- สุขภาพจิต | en |
dc.title | ภาวะสุขภาพทางใจของผู้สูงอายุ | en |
dc.title.alternative | Mental health status of the elderly | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ประชากรศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Napaporn.C@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2001.232 | - |
Appears in Collections: | Pop - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.