Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9941
Title: ผลของโปรแกรมฝึกหนักก่อนการแข่งขันต่อการเปลี่ยนแปลงค่าความแปรปรวน ของอัตราการบีบตัวของหัวใจในนักกีฬายกน้ำหนัก
Other Titles: Heart rate variability responses to intensive training program in weight lifters
Authors: ปุญญาณัฐ นวลอ่อน
Advisors: พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์
กฤษณา พิรเวช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pongsak.Y@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: อัตราการเต้นของหัวใจ
การออกกำลังกาย
นักยกน้ำหนัก
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ติดตามผลของโปรแกรมฝึกหนักก่อนการแข่งขัน ต่อการเปลี่ยนแปลงค่าความแปรปรวนของอัตราการบีบตัวของหัวใจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักกีฬายกน้ำหนัก ซึ่งมีอายุเฉลี่ย 16.8 (1.8) ปี จำนวน 33 คน เพศชาย 19 คน เพศหญิง 14 คน โดยเข้าโปรแกรมฝึกหนักก่อนการแข่งขันกีฬายกน้ำหนัก ซึ่งดูแลการฝึกโดยผู้ฝึกสอน จากนั้นบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจติดต่อกันเป็นเวลา 5 นาทีขณะนอนพัก ในห้องที่ปราศจากเสียงรบกวน เพื่อประเมินการทำงานของระบบประสาทออโตโนมิก ที่ควบคุมการทำงานของหัวใจโดยการแปลงคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ให้เป็นคลื่นความถี่ประกอบด้วยคลื่นความถี่ต่ำ (0.04-0.15 เฮิร์ท) แสดงถึงการทำงานของระบบประสาทซิมพาเธติกและระบบประสาทพาราซิมพาเธติก คลื่นความถี่สูง (0.15-0.40 เฮิร์ท) แสดงถึงการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเธติก นอกจากนี้ยังประเมินสุขภาพด้วยแบบสอบถาม SF-36 ตลอดการฝึกซ้อมทั้งสิ้น 4 ครั้ง ที่ความหนักในการฝึกโดยเฉลี่ย 75% 90% 92.5% และ 100% ของ 1RM ตามลำดับ ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ไม่พบความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการเปลี่ยนแปลงช่วงคลื่นความถี่ต่ำ และคลื่นความถี่สูงในช่วงก่อนและหลังเข้าฝึกตามโปรแกรมการฝึก ผลของแบบสอบถามสุขภาพ พบว่าในช่วงแรกหลังการฝึกมีผลกระทบต่อกิจกรรมทางสังคม ของนักกีฬาแต่ในช่วงอื่นๆ ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาครั้งนี้ไม่พบการเปลี่ยนแปลงค่าความแปรปรวน ของอัตราการบีบตัวของหัวใจ ซึ่งแสดงถึงการทำงานของระบบประสาทออโตโนมิก ที่มาควบคุมการทำงานของหัวใจ (ระบบประสาทซิมพาเธติกและระบบประสาทพาราซิมพาเธติก) โดยการวัดด้วยค่าความแปรปรวนของอัตราการบีบตัวของหัวใจ ในนักกีฬายกน้ำหนักที่เข้าใช้โปรแกรมการฝึกหนักก่อนการแข่งขัน
Other Abstract: To assess the result of the intensive training program in weight lifters on adjustment of autonomic nervous system (ANS), controlling the heart rate, by using spectral analysis of heart rate variability signals. The subjects were 33 (male 19 and female 14), average aged 16.8 (1.8) years, who had intensive training program before the competition. The assessments were 4 times through this program training. The average of intensity in this program were 75%, 90%, 92.5%, and 100% 1RM. ECG signals were continously recorded for 5 minutes while the subjects relaxed in supine position in the quiet room. Autonomic nervous system was assessed by converting the ECG sugnals to two frequencies, which were the low frequency (0.04-0.15 Hz), related to sympathetic and parasympathetic performance and the high frequency (0.5-0.04 Hz), related the parasympathetic performance. The result of this study revealed neither low frequency nor high frequency heart rate variability change through this program training. The SF-36 questionnaire found social function was changed in the first period of training but the other were not difference significantly. The result indicated that the intensive training program in weight lifters when measured by using heart rate variability, cardiac autonomic control, showed no significant sympathetic and parasympathetic over activity.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9941
ISBN: 9740314759
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
punyanut.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.