Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9950
Title: | ความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการใช้น้ำมันเครื่องอย่างไม่มีประสิทธิภาพ |
Other Titles: | Economic loss due to inefficient use of lubricant |
Authors: | บัณฑิต พิทักษ์ไชยวงศ์ |
Advisors: | อิศรา ศานติศาสน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Isra.S@chula.ac.th |
Subjects: | น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเชื้อเพลิง การใช้พลังงาน -- แง่เศรษฐกิจ |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจไทยในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมานั้น ทำให้ปริมาณของรถยนต์ส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันเครื่องเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย หากพิจารณาเฉพาะในเรื่องของน้ำมันเครื่องเพียงอย่างเดียวนั้น พบว่าพฤติกรรมและความเชื่อของผู้ใช้รถยนต์โดยทั่วไป ยังคงไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ทันกับเทคโนโลยีของน้ำมันเครื่องสมัยใหม่ ก่อให้เกิดปัญหาการใช้น้ำมันเครื่องอย่างสิ้นเปลืองเกินความจำเป็น เนื่องจากผู้ใช้รถยนต์เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเร็วกว่าอายุการใช้งานที่แท้จริงของน้ำมันเครื่องแต่ละประเภทค่อนข้างมาก เป็นการสูญเสียทั้งในเชิงเศรษฐกิจและในเชิงสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์หลักของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ คือ การวิเคราะห์มูลค่าของความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น จากการใช้น้ำมันเครื่องอย่างไม่มีประสิทธิภาพของผู้ใช้รถยนต์ในประเทศไทย ในช่วงปี 2543-2544 โดยการนำข้อมูลต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดอุปสงค์และอุปทานของน้ำมันเครื่องที่มีจำหน่ายในประเทศไทย ระหว่างปี 2539-2544 มาทำการวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) เพื่อศึกษาว่าปัจจัยใดบ้างที่มีส่วนสำคัญ ในการกำหนดอุปสงค์และอุปทานของน้ำมันเครื่องในประเทศไทย นำอุปสงค์และอุปทานของน้ำมันเครื่องที่ได้จากการวิเคราะห์นั้น มาทำการวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลพฤติกรรมในการใช้น้ำมันเครื่องที่ได้จากการสำรวจจากผู้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลทั่วประเทศ เพื่อประเมินถึงมูลค่าของความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศว่ามีมูลค่ามากน้อยเพียงใด จากการใช้น้ำมันเครื่องอย่างไม่มีประสิทธิภาพดังกล่าว ผลการศึกษาชี้ว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอุปสงค์ของน้ำมันเครื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ราคาน้ำมันเครื่อง ราคาของสินค้าชนิดอื่นๆ และปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงประเภทเบนซิน ส่วนทางด้านอุปทานนั้น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอุปทานของน้ำมันเครื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยทางด้านราคาน้ำมันเครื่อง และราคาส่งออกของน้ำมันเครื่อง และราคาส่งออกของน้ำมันเครื่อง การศึกษาอุปสงค์และอุปทานของน้ำมันเครื่อง ประกอบกับการศึกษาพฤติกรรมการใช้น้ำมันเครื่องของผู้ใช้รถยนต์นั้น ทำให้สามารถประเมินได้ว่าปริมาณของน้ำมันเครื่องรวมทุกชนิด ซึ่งมีการให้งานอย่างไม่มีประสิทธิภาพในปี 2543-2544 นั้น มีปริมาณสูงถึงกว่า 15 ล้านลิตรในแต่ละปี คิดเป็นมูลค่าของความสูญเสียทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่าปีละ 2,700 ล้านบาท หากพิจารณาในแง่ของการค้าระหว่างเทศแล้ว อาจประเมินความสูญเสียในเชิงของดุลทางการค้าที่ประเทศต้องสูญเสียไป คิดเป็นมูลค่าประมาณปีละไม่ต่ำหว่า 500 ล้านบาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นมูลค่าของความสูญเสียของชาติที่ไม่อาจจะมองข้ามหรือละเลยได้ |
Other Abstract: | The economic expansion in Thailand during the past decades a rapid increase in the quantity of passenger cars as well as the demand for gassoline and lubricant. Considering the lubricant in particular, passenger car user's behavior and attitude are not congruent with the emerging technology of the new lubricant. Most of passenger car users change lubricant while it is still in good condition. These passenger car users' behavior leads to economic loss and environmental problems. The main objective of this paper is to analyze the value of economic loss due to inefficient use of lubricant during the year 200-2001 in Thailand. The research was conducted by gathering the information on factors the contributed to the demand and supply of lubricant in Thailand between 1996-2001, and used regression analysis method to analyze what factors are significant factors to indicate the demand and supply of lubricant. Finally, the result from the regression analysis mentioned above and surveyed data on passenger car users' behavior were integrated to evaluate the value of economic loss due to inefficient use of lubricant. The study shows that three main factors significantly affect the demand of lubricant. They are domestic lubricant price, price of other related goods, and quantity usage of gasoline. In supply side, factors that significantly affect the supply of lubricant are domestic lubricant price and export lubricant price. From the study on demand and supply of lubricant and passengar car users' behavior, the quantity loss of lubricant due to inefficient use in 2000-2001 is about 15 million litres per year and the economic loss due to the inefficient uses of lubricant is about 2,700 million baht per year. If we consider in term of internation trade, the inefficient use of lubricant leads to decreasing in balance of trade of about 500 million baht per year |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9950 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.610 |
ISBN: | 9741732945 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2002.610 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Bandit.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.