Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9989
Title: การศีกษาความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษาเกี่ยวกับการประสานแผนของกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A study of educational addministrators' opinion on plan integration of General Education Department in Bangkok Metropolis
Authors: วรรณดี นาคสุขปาน
Advisors: สนานจิตร สุคนธทรัพย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Snanchit.S@chula.ac.th
Subjects: ผู้บริหารการศึกษา
การวางแผน
กรมสามัญศึกษา
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษาเกี่ยวกับการประสานแผนของกรมสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาขั้นตอนการประสานแผน 3 ระดับ คือ การประสานแผนระดับโรงเรียน ระดับกลุ่มโรงเรียน และระดับจังหวัด และใช้ลักษณะการประสานแผนตามแนวทางการวางแผนพัฒนาการศึกษาแบบบูรณาการเป็นกรอบในการศึกษา ผลการวิจัยสรุปจากรายการที่ผู้ให้สัมภาษณ์ระบุสูงสุด พบว่า การประสานแผนระดับโรงเรียน โรงเรียนมีการประสานแผนภายในโรงเรียนและกับหน่วยงานภายในสังกัดกรมสามัญศึกษา ด้านความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ นโยบายและเป้าหมาย มีการประสานการกำหนดวัตถุประสงค์ นโยบายและเป้าหมายระดับโรงเรียน กับหมวดวิชาและงานโดยการประชุม และหมวดวิชา งานจัดทำแผนแล้วนำไปพิจารณาในที่ประชุม การประสานแผนกับหน่วยงานในสังกัดมีการประสานกับโรงเรียนในกลุ่มโดยการประชุมและยึดแนวทางของหน่วยงานต้นสังกัดเป็นหลัก ด้านการประสานกิจกรรมในรายละเอียดของแผนงานและโครงการมีการประสานกับฝ่าย หมวด งานโดยการประชุมกลุ่มย่อยพิจารณางาน/โครงการก่อนนำเสนอคณะกรรมการบริหาร มีการประสานกับโรงเรียนในกลุ่มโดยการประชุมร่วมกัน และการดำเนินงานในรูปคณะกรรมการและอนุกรรมการ ด้านการติดตามประเมินผลมีการประสานกับหัวหน้าหมวดวิชาและงาน โดยกำหนดปฏิทินปฏิบัติงาน ติดตามประเมินผลเป็นรายโครงการ และใช้แบบรายงานผล และมีการประสานกับโรงเรียนในกลุ่มโดยการรายงานผลรายโครงการ การประสานแผนระดับกลุ่มโรงเรียน กลุ่มโรงเรียนมีการประสานภายในกลุ่มเดียวกันโดยการประชุมร่วมกัน ดำเนินงานในรูปคณะกรรมการและอนุกรรมการ และการประชุมสัมมนา มีการประสานกับหน่วยงานภายในสังกัดกรมสามัญศึกษา ด้านความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ นโยบายและเป้าหมาย มีการประสานการกำหนดวัตถุประสงค์ นโยบายและเป้าหมายในการจัดทำแผนกับโรงเรียนในกลุ่มและกรมสามัญศึกษาโดยการวิเคราะห์สภาพของโรงเรียนในกลุ่มแล้วร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ นโยบายและเป้าหมาย และประชุมโดยยึดแนวทางของหน่วยงานต้นสังกัดเป็นหลัก ด้านการประสานกิจกรรมในรายละเอียดของแผนงานและโครงการ มีการประสานกับโรงเรียนภายในกลุ่มโดยการประชุมร่วมกันและดำเนินงานในรูปคณะกรรมการหรืออนุกรรมการ ด้านการติดตามประเมินผลมีการประสานกับโรงเรียนในกลุ่มโดยการรายงานผลรายโครงการ การประสานแผนระดับจังหวัด สำนักงานสามัญศึกษากรุงเทพมหานครมีการประสานภายในสำนักงานและประสานกับหน่วยงานภายในและภายนอกสังกัดกรมสามัญศึกษาด้านความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ นโยบายและเป้าหมาย ไม่มีการกำหนดวัตถุประสงค์ นโยบายและเป้าหมายของการจัดทำแผนให้สอดคล้องกันระหว่างฝ่ายและงาน ด้านการประสานกิจกรรมในรายละเอียดของแผนงานและโครงการ มีการประสานระหว่างฝ่าย/งาน โดยการประชุมชี้แจง มอบหมายให้ฝ่าย/งานไปประชุมกลุ่มย่อย และฝ่ายแผนงานรวบรวมนำเข้าที่ประชุม มีการประสานกับกรมสามัญศึกษาโดยการประชุมร่วมกัน และการดำเนินงานในรูปคณะกรรมการและอนุกรรมการ และมีการประสานกับ หน่วยงานการศึกษาโดยการดำเนินในรูปคณะกรรมการและอนุกรรมการ ด้านการติดตามผล มีการประสานกับเจ้าของโครงการและฝ่ายงานโดยใช้แบบรายงานผลและการประชุมเป็นระยะ มีการประสานกับกองแผนงานโดยใช้แบบรายงานผล ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประสานแผนพัฒนาการศึกษาแบบบูรณาการ ทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ บุคลากรด้านการวางแผน
Other Abstract: The purpose of this research was to study the opinions of educational administrators on plan integration of General Education Department in Bangkok Metropolis. The study covered three levels of plan integration : school, school cluster and Changwat levels. The framework of plan integration used was the planning guideline for integrated educational development plan. Research findings concluded from the responses with highest frequencies were as follows: At school level, plan integration was conducted within school and with divisions under the Department of General Education. The integration of objectives, policies and targets within school was conducted among job divisions by holding meetings in which plans made by each division were reviewed. Integration with schools in the cluster was conducted through meetings using the Department of General Education guidelines. Integration on details of plans and projects was conducted among divisions in schools by means of sub-group meetings in which projects were considered before presenting to the school board. Integration with schools in the cluster was conducted through meetings, and working in committee and sub-committee. Follow-up and evaluation were conducted by coordinating with heads of job divisions and subject divisions to develop work schedule, evaluate each project by using report forms. At school cluster level, plan integration was conducted within schools in the same cluster through meetings, working in committee, sub-committee and seminars. There was also plan integration with the Department of General Education. Integration on objectives, policies and targets with schools in the same cluster and the Department of General Education was conducted by holding meetings to anlayze the state of schools in the cluster, and specify objectives, policies and targets. The policies of the Department of General Education was used as guidelines. Integration on plan details and projects was conducted within school clusters through meetings and working in committee and sub-committee. As for follow-up and evaluation, integration was conducted with schools in the cluster by reporting projects individually. At Changwat level, plan integration was conducted within General Education Department in Bangkok Metropolis and with agencies within and outside the Department of General Education. Integration on plan details and projects was conducted among job divisions by assigning each division to hold sub-group meetings. Integration was conducted with the Department of General Education through meetings and working in committee and sub-committee. Committees and sub-committees were also used as a means of integration with other educational organizations. As for follow-up and evaluation, the integration was conducted with project directors and plan divisions through meetings and reporting periodically. Integration with Division of Planning was conducted through report forms. The factor affecting the integration of integrated educational development plan was planning personnel.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9989
ISBN: 9743317317
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wandee_Na_front.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Wandee_Na_ch1.pdf842.7 kBAdobe PDFView/Open
Wandee_Na_ch2.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open
Wandee_Na_ch3.pdf722.64 kBAdobe PDFView/Open
Wandee_Na_ch4.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
Wandee_Na_ch5.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Wandee_Na_back.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.