Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10632
Title: ผลของการบริการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมต่ออัตราการใช้บริการ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ อำเภอหันคา ชัยนาท
Other Titles: Effects of hypertension and diabetes mellitus participative screening service on consuming rate and satisfaction of clients, Hunkha district, Chainat
Authors: อัจฉริยา บุญยะคงรัตน์
Advisors: ประพิม ศุภศันสนีย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความดันเลือดสูง
ความพอใจของผู้ใช้บริการ
เบาหวาน
เวชระเบียน
การมีส่วนร่วมทางสังคม
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองศึกษาสองกลุ่ม วัดผลครั้งเดียวหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของการใช้บริการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ที่มีต่ออัตราการใช้บริการ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ในหมู่บ้านที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการออกแบบบริการ และหมู่บ้านที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการออกแบบบริการ ประชากร คือประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบกลุ่มหมู่บ้านทดลอง และหมู่บ้านควบคุม มีจำนวนกลุ่มเป้าหมาย 263 คน และ 267 คน ตามลำดับ ในหมู่บ้านทดลอง จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นเวลา 2 วัน โดยให้ตัวแทนคนในชุมชน จำนวน 21 คน เข้ามามีส่วนร่วมตามกระบวนการ AICD (Appreciation, Influence, Control) เพื่อกำหนดแผนการบริการคัดครองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน แล้วจึงจัดบริการตามแผน ส่วนหมู่บ้านควบคุมจัดบริการคัดครองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในรูปแบบเดิมที่ทางโรงพยาบาลหันคาเคยปฏิบัติคือ ให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นแกนนำสำคัญในการจัดบริการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบสัดส่วนของประชาชนผู้มาใช้บริการของหมู่บ้านทดลองและหมูบ้านควบคุม โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square) และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ย คะแนนความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ของหมู่บ้านทดลองและหมู่บ้านควบคุมโดยใช้ค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อัตราการใช้บริการของหมู่บ้านที่ประชาชนมีส่วนร่วม สูงกว่าอัตราการใช้บริการของหมู่บ้านที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในหมู่บ้านที่ประชาชนมีส่วนร่วม สูงกว่าหมู่บ้านที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วม ทั้งโดยรวม และในทุกรายด้าน คือ ความเพียงพอของบริการ ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งบริการ การประสานบริการ การแสดงอัธยาศัยของผู้ให้บริการ ข้อมูลที่ได้รับ และคุณภาพบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purpose of this posttest-only design research was to study effects of hypertension and diabetes mellitus screening service on comparing consuming rate and satisfaction score of clients in the village where the people participated in the hypertension and diabetes mellitus screening program and those in the village where there was no participation of people. Population of the study are people age 40 years and older. Cluster sampling was applied. Two villages with the target group of 263 and 267 were assigned as the experiment and the control group respectively. A two-day workshop using AIC technique (Appreciation-Influence-Control) was conducted in the experimental village for 21 village for 21 village representatives. A hypertension and diabetes mellitus screening service plan was set and then implemented by these representatives. Screening service in the control group was run by village health volunteers as traditionally perform by Hunkha Hospital. Chi-Square statistics was used to test consuming rate between the experiment and control village. The t-test for mean score of consumers' satisfaction was applied. The findings revealed that: 1. The consuming rate in village where the people participated in the hypertension and diabets mellitus screening program is higher than the village where there was no participation of people at the statistical significant level of .01 2. The satisfaction score of clients in village where the people participated in the hypertension and diabetes mellitus screening program is higher than the village where there was no participation of people at the statistical significant level of .01, either the overall or specific satisfaction namely: availability, accessibility, coordination, courtesy, information and quality.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10632
ISBN: 9741704879
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Atchariya.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.