Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1063
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์-
dc.contributor.advisorสุกัญญา สมไพบูลย์-
dc.contributor.authorพิมพาภรณ์ นวลมี, 2524--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-25T02:53:12Z-
dc.date.available2006-07-25T02:53:12Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745319473-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1063-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่อง "รูปแบบหลักในการสื่อสารของครูกับเด็กปัญญาอ่อนระดับตติยภูมิ" เป็นการศึกษา แผนการสื่อสารที่ครูใช้ร่วมกันในชั้นเรียน กระบวนการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ในชั้นเรียน รวมถึงรูปแบบการสื่อสารของครูผู้สอนที่สามารถใช้ร่วมกันในสถานการณ์หนึ่งๆ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ใช้วิธีเก็บข้อมูลแบบสหวิธีการ (Multiple methodology) ประกอบด้วยการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม (Participant observation) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth interview) และการศึกษาจากเอกสาร (Documentary research) โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ครูประจำชั้น 12 คน และนักเรียนของโรงเรียนราชานุกูลทั้ง 12 ห้องเรียน รวม 105 คน โดยมีช่วงระยะเวลาในการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนธันวาคม 2547 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2548 รวม 3 เดือน ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการสื่อสารที่ใช้ร่วมกันในชั้นเรียนคือ โรงเรียนมีนโยบายในการส่งเสริมศักยภาพทางการสื่อสารของโรงเรียนแบ่งออกเป็น (1) แนวทางด้านวิธีการสื่อสาร และ (2) นโยบายด้านสภาพแวดล้อมทางการสื่อสาร แนวทางด้านวิธีการสื่อสารคือ (ก) การใช้ประโยคสั้นๆ (ข) การให้เด็กสบตาเมื่อพูดหรือฟัง (ค) การให้โอกาสเด็กได้คิดก่อนตอบ (ง) หากเป็นคำสั่งให้เด็กทวนคำสั่งให้ฟังทุกครั้ง (จ) ครูต้องมีวิธีการพูดและการใช้คำพูดที่ถูกต้อง (ฉ) ครูจะค่อยๆ พูดและสั่งอย่างช้าๆ เพื่อให้เด็กจับใจความได้ ส่วนนโยบายด้านการสร้างสภาพแวดล้อมทางการสื่อสารคือ (1) การจัดเวลาในแต่ละวัน คือให้เวลาในแต่ละคาบยืดหยุ่นและมีเวลาพักยาวนาน (2) การจัดเนื้อหาวิชา ที่มุ่งเน้นทักษะทางสังคม (3) การเสริมกิจกรรมบำบัด เพื่อเรียนรู้การอยู่ร่วมกันและเกิดความผ่อนคลาย 2. กระบวนการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ในชั้นเรียน เป็นกระบวนการสื่อสารเชิงรุกที่ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ (1) ขั้นเตรียมการสื่อสาร (2) ขั้นทำการสื่อสาร (3) ขั้นติดตามผลการสื่อสาร และครูผู้สอนมีบุคลิกภาพทางการสื่อสารที่สำคัญต่อกระบวนการสื่อสารคือ ความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสาร ความสามารถของผู้ส่งสาร และการปรับตัวตามผู้รับสาร 3. รูปแบบการสื่อสารที่ครูสามารถใช้ร่วมกันในสถานการณ์หนึ่งๆ สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) การสื่อสารเพื่อตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวัน (2) การสื่อสารเพื่อการสอนบทเรียนและส่งเสริมพัฒนาการ (3) การสื่อสารเพื่อแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า โดยมีปัจจัยที่ทำให้เกิดรูปแบบในการสื่อสารคือ ปัจจัยด้านลักษณะของเด็กปัญญาอ่อนระดับตติยภูมิ และปัจจัยด้านลักษณะของครูผู้สอนเด็กปัญญาอ่อนระดับตติยภูมิen
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study the collective communication plan of the teachers, study communication process for learning and the collective communication in one situation for third level mental retards. This research is qualitative, conducted by multiple methodology : Participant Observation, In Depth interview and Documentary research. The research sampling groups are 12 homeroom teachers and 105 third level mental retards student from 12 classes. The period of study is from December 2004 to Febuary 2005 (about 3 months). The finding of research are as follow 1. The collective communication plan or school has a policy to promote potential communication that can be divided into 2 aspects 1.The approach method communication 2. The policy of communicative environment. The method communication : (a)making conversation shotly and clearly (b) using eye contact (c) giving more time for thinking and answering. (d) repeating the command. (e) using the right sentence and method. (f) using slow down for talking. 2. Communication process for learning combine with 3 steps : (1) Preparing (2) Communicating (3) Following and evaluation. The teachers of third level mental retards have an important personality trait for communication process : Source Credibility, Communicator's Ability and Communicator's Adaptation. 3. The collective communication in one situation can be divided into 3 groups (1) communication for everyday life. (2) communication for education and development facilitation (3) communication for immediate problem solving. The impact factor for effective collective communication are characteristic of the third level mental retards and characteristic of the teachers.en
dc.format.extent2243404 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1161-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการสื่อสารen
dc.subjectการสื่อสารทางการศึกษาen
dc.subjectเด็กปัญญาอ่อนen
dc.titleรูปแบบหลักในการสื่อสารของครูกับเด็กปัญญาอ่อนระดับตติยภูมิen
dc.title.alternativeCore communication style for teaching third level mental retardsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวาทวิทยาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.1161-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimpaporn.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.