Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10650
Title: การวิเคราะห์อิทธิพลปฏิสัมพันธ์ที่มีตัวแปรปรับหนึ่งตัว โดยใช้กลยุทธ์กลุ่มพหุในลิสเรล
Other Titles: An analysis of interaction effects with one moderator variable using the multigroup strategy in lisrel
Authors: วารุณี ลัภนโชคดี
Advisors: นงลักษณ์ วิรัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Nonglak.W@chula.ac.th
Subjects: ตัวแปร (คณิตศาสตร์)
ตัวแปรปรับ
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปรับชนิดตัวแปรจัดประเภท กับตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตาม โดยใช้กลยุทธ์กลุ่มพหุในลิสเรล และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ที่ได้กับผลการวิเคราะห์ ที่ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง โมเดลลิสเรลตามทฤษฎีที่พัฒนาขึ้นมี 4 โมเดลตามลักษณะตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ซึ่งวัดในรูปตัวแปรสังเกตได้หรือตัวแปรแฝง ฐานข้อมูลสำหรับการวิจัยครั้งนี้มี 2 ชุด ชุดแรกได้จาก โครงการวิจัยเรื่อง ประสิทธิภาพการใช้ครู : การวิเคราะห์เชิงปริมาณระดับมหภาค ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ชุดที่ 2 ได้จาก รายงานวิจัยเรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพของสื่อการสอนโดยวิธีการวิเคราะห์อภิมาน ของ ศิริยุภา พูลสุวรรณ ฐานข้อมูลชุดแรกประกอบด้วยหน่วยตัวอย่างจำนวน 1,286 โรงเรียน มีตัวแปรสังเกตได้จำนวน 42 ตัวแปร และตัวแปรแฝงจำนวน 2 ตัวแปรส่วนฐานข้อมูลชุดที่ 2 ประกอบด้วยหน่วยตัวอย่างค่าขนาดอิทธิพล 559 ค่า มีตัวแปรสังเกตได้จำนวน 4 ตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์อิทธิพลปฏิสัมพันธ์โดยใช้กลยุทธ์กลุ่มพหุในลิสเรลทั้ง 4 กรณีให้ผลการวิเคราะห์ที่ชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ที่ได้จากการวิเคราะห์ ด้วยกลยุทธ์กลุ่มพหุในลิสเรล กับการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง พบว่า การวิเคราะห์แบบแรกให้ผลการวิเคราะห์ ที่พบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์มากครั้งกว่า และพบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ที่ระดับนัยสำคัญ ต่ำกว่าการวิเคราะห์แบบหลัง ผลการวิเคราะห์อิทธิพลปฏิสัมพันธ์ของฐานข้อมูลชุดที่ 1 พบว่า อิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้สังกัด กับตัวแปรสังเกตได้ ขนาดของโรงเรียนต่อประสิทธิภาพการใช้ครู ในโมเดลที่มีตัวแปรตามเป็นตัวแปรสังเกตได้และตัวแปรแฝง มีนัยสำคัญทางสถิติทั้งสองโมเดล โดยขนาดอิทธิพลของโมเดลแรกมีค่าระหว่าง -0.016 ถึง -0.296 ส่วนขนาดอิทธิพลของโมเดลหลังมีค่าระหว่าง -0.095 ถึง 0.018 สำหรับอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ สังกัดของโรงเรียนกับตัวแปรแฝงภูมิหลังของบุคลากรในโรงเรียน ต่อประสิทธิภาพการใช้ครูในโมเดลที่มีตัวแปรตาม เป็นตัวแปรแฝงมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยขนาดอิทธิพลมีค่าระหว่าง -1332 ถึง 0.103 ส่วนโมเดลที่มีตัวแปรตามเป็นตัวแปรสังเกตได้ อิทธิพลปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์อิทธิพลปฏิสัมพันธ์ของฐานข้อมูลชุดที่ 2 พบว่า อิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ประเภทของสื่อการสอนกับตัวแปรสังเกตได้ระดับการศึกษาและระหว่างตัวแปรสังเกตได้ประเภทของสื่อการสอนกับตัวแปรสังเกตได้จำนวนตัวอย่างในกลุ่มทดลองต่อตัวแปรสังเกตได้ค่าขนาดอิทธิพลซึ่งเป็นโมเดลที่มีตัวแปรสังเกตได้ทั้งหมดมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งสองโมเดลโดยขนาดอิทธิพลของโมเดลแรกมีค่าระหว่าง -0.083 ถึง -0.383 ส่วนขนาดอิทธิพลของโมเดลหลังมีค่าระหว่าง 0.008 ถึง 0.043
Other Abstract: To study the interaction effects between a categorical moderator variable and an independent variable on a dependent variable, using multigroup strategy in LISREL; and to compare the obtained results with those obtaining by means of two-way ANOVA. Four conceptual LISREL models developed representing an independent and a dependent variables, each of which was measured as an observed variable and a latent variable. Two databases were used:the first one from the research project entitled "The Efficiency of teacher utilization : a macro-level quantitative analysis" by the National Educational Commission Office and the second one from the dissertation entitled "Effectiveness of instructional media : a meta-analysis" by Siriyupa Poonsuwan. The first database consisted of 1,286 schools with 42 observed variables and 2 latent variables. The second database consisted of 559 effect sizes with 4 observed variables. The research results showed that the multigroup strategy in LISREL yielded clearly the interaction effects results in all four models. Comparing the resul obtaining from the multigroup strategy in LISREL with those from two-way ANOVA, it was found that the former gave more cases of statistically significant interaction effects with lower significant level than the latter. The interaction effect analysis results of the first database showed that the interaction effects between observed variables : schools' attachment and size on the efficiency of teacher utilization in the observed and latent dependent variable models were significant. The effect sizes of the former model were between -0.016 to -0.296 and those of the latter were between -0.095 to to 0.018. The interaction effects between observed variable : schools' attachment and latent independent variable : staffs' background on the efficiency of teacher utilization in the model with latent dependent variable also yielded significant interaction effects. The effect sizes were between -1.332 to 0.103. But in the model with observed dependent variable, the interaction effects were not significant. The interaction effect analysis results of the second database showed that the interaction effects between observed variables : media type and students' educational level in the first model, and the experimental group sample size in the second model on effect size were significant. The effect sizes of the former model were between -0.083 to -0.383 and those of the latter were between 0.008 to 0.043
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10650
ISBN: 9746372793
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Warunee_La_front.pdf969.93 kBAdobe PDFView/Open
Warunee_La_ch1.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Warunee_La_ch2.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open
Warunee_La_ch3.pdf983.73 kBAdobe PDFView/Open
Warunee_La_ch4.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open
Warunee_La_ch5.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
Warunee_La_back.pdf806.12 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.