Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10888
Title: การศึกษาทางด้านนิเวศน์วิทยาเพื่อวางแผนป้องกันอาชญากรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร (ฝั่งพระนคร)
Other Titles: An ecological study for crime prevention planning in the greater Bangkok area (Pranakhon)
Authors: ญาณพล ยั่งยืน
Advisors: วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: อาชญากรรม
ผังเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
นิเวศวิทยา -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การป้องกันอาชญากรรมกับการออกแบบสถาปัตยกรรม
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศซึ่งถือเป็นเขตเมืองแห่งเดียวที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และโดยที่การขยายตัวดังกล่าวเป็นไปโดยไม่มีการควบคุม จึงก่อให้เกิดปัญหาของเมืองเช่นเดียวกับเมืองใหญ่ต่าง ๆ ทั่วโลก ปัญหาหนึ่งซึ่งมีความสำคัญยิ่งสำหรับกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองที่มีความเคลื่อนไหวทางสังคมอยู่ตลอดเวลา ได้แก่ปัญหาอาชญากรรม ปัญหานี้ได้เกิดขึ้นมานานแล้ว พร้อมกับการขยายตัวของกรุงเทพมหานครและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขยายขึ้นทั้งในทางปริมาณและความรุนแรง สำหรับปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาชญากรรมนั้นมีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน เช่นปัจจัยทางด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ แต่การศึกษาในที่นี้ได้พิจารณาเฉพาะปัจจัยทางด้านกายภาพและประชากรของพื้นที่ในกรุงเทพมหานครเท่านั้น ในการศึกษาครั้งนี้ได้พิจารณาถึงสภาพของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในเรื่องของจำนวน ประเภท และความร้ายแรง นอกจากนี้ยังได้พิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ที่ดิน ความหนาแน่นของประชากร กับอาชญากรรม ตลอดจนความแตกต่างของอาชญากรรมในเขตชั้นในและชั้นนอกของเมืองด้วย จากการศึกษาพบว่า อัตราการเกิดอาชญากรรมในเขตพื้นที่ที่ศึกษา (กรุงเทพมหานครเฉพาะฝั่งพระนคร) นั้นเพิ่มขึ้นตามอัตราความหนาแน่นของประชากร เมื่อพิจารณาถึงการเกิดอาชญากรรมในเขตชั้นในและเขตชั้นนอกของพื้นที่แล้วพบว่าในเขตชั้นในของพื้นที่จะมีอัตราการเกิดอาชญากรรมทั้งต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตรและต่อประชากร 1 แสนคน สูงกว่าในเขตชั้นนอก และเมื่อพิจารณาต่อไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดอาชญากรรมกับการใช้ที่ดินพบว่า อาชญากรรมทุกประเภทมีความสัมพันธ์อย่างเด่นชัดกับการใช้ที่ดินซึ่งเป็นย่านการค้าและในพื้นที่ที่มีสภาพการใช้ที่ดินต่างกัน ประเภทของคดีเด่นในแต่ละพื้นที่ก็จะแตกต่างกันไปด้วย ถึงแม้ว่าจุดมุ่งหมายในการศึกษาครั้งนี้มิใช่เป็นการศึกษาถึงสาเหตุของอาชญากรรมโดยตรง แต่เป็นเพียงการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการใช้ที่ดินและความหนาแน่นของประชากรกับการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่เท่านั้น แต่ก็นับว่าเป็นการเริ่มต้นพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของอาชญากรรมกับปัจจัยอื่น นอกจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมซึ่งมีผู้ศึกษาอยู่มากมาย จึงเท่ากับเป็นการเปิดแนวการศึกษาของอาชญากรรมอีกแนวหนึ่งของเมืองไทย ซึ่งได้มีการยอมรับกันในทางทฤษฎีของนิเวศน์วิทยา
Other Abstract: Bangkok Metropolitan is the capital city, and it is only the urban area of Thailand that has been rapidly growing with a tremendous rate of changes not only in physical but also in economical and social as well. The growing of the metropolitan increasing without control, therefore, causes a lot of urban problems like big cities around the world. One of the serious problems of this mobilized city is crime. Crime in Bangkok has an impact on economical and social development and has a trend to increase both in numbers and violations. There are many factors causing crime in the society of today such as social problem, economical problem, and environmental problem, etc. Specifically, this study was based upon the city's physical characteristics and population in the Metropolitan area only. This present research was focused on the numbers, violation and types of crime in the area including the relationships among land using, population density and crime, through the differces of crime both in the inner and the outer of such urban areas. According to the study it was statistically found that (1) the increase in numbers of crime in Bangkok was in proportion with the increase in population density. (2) When considering numbers of crime occured in the inner and the outer urban areas, it was found that in the inner area the rate of crime per one square kilometer and per 100,00 population was higher than that of in the outer area. (3) There was a relationship between all types of crime and the land using for commercial purposes. (4) When considering types of crime and land use, the study indicated that, different types of crime offenses seem to be reflected in differences in urban planning and the way lands were used, respectively. Although the purposes of this study were not directly dealt with causes of crime but merely were to find out the relationships among land using, population density and crime in such areas. This research is an initial way of study in finding out factors relating to crime rather than economical and social factors studied by many others. This research is, therefore, considered as the pilot study of Thailand dealing with crime in the ecological area which has been accepted by many theorists.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: การผังเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10888
ISBN: 9745613797
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yanaphon.pdf38.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.