Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10899
Title: โขนสดคณะสังวาลย์เจริญยิ่ง
Other Titles: Khon Sod" of Sangwan Charoenying troupe
Authors: เฉลิมชัย ภิรมย์รักษ์
Advisors: วิชชุตา วุธาทิตย์
อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vijjuta@yahoo.com
Anukoon.R@Chula.ac.th
Subjects: โขนสด
นาฏศิลป์ไทย
การรำ -- ไทย
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาประวัติความเป็นมาของโขนสด องค์ประกอบการแสดง และวิเคราะห์รูปแบบการแสดงของคณะสังวาลย์เจริญยิ่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2544-2545 โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์หัวหน้าคณะโขนสด 6 คณะ ผู้มีประสบการณ์การแสดงโขนสด ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปวัฒนธรรมและนาฏศิลป์ไทย และจากการสังเกตการแสดงของคณะสังวาลย์เจริญยิ่ง จำนวน 16 ครั้ง ผลการวิจัยพบว่า การแสดงโขนสดเดิมเรียกว่า หนังสด ปรากฏหลักฐานในปี พ.ศ. 2474 โดยนายท่าน เหล่าอุดม เป็นคนจังหวัดชลบุรี มีอาชีพแสดงละครแก้บน ได้พบเห็นคนเมาสุราในงานปลงศพร้องเพลงประกอบท่าเต้นแบบหนังตะลุงเต้น จึงได้คิดนำมาจัดการแสดง ผู้แสดงสวมศีรษะโขนไว้เพียงหน้าผาก เปิดด้านหน้าไว้ เพราะผู้แสดงต้องร้องและเจรจาเอง การดำเนินเรื่องรวดเร็วเน้นตลกขบขัน และได้รับความนิยมเรื่อยมา จึงทำให้เกิดคณะโขนสดขึ้นหลายคณะ คณะสังวาลย์เจริญยิ่งเป็นคณะที่มีชื่อเสียงมากที่สุด มีโครงสร้างการแสดงประกอบด้วยส่วนพิธีกรรมและการแสดงคือ พิธีปลูกโรง บูชาครู โหมโรงปี่พาทย์ โหมโรงกลองตุ๊ก รำถวายมือ ไหว้ครูฤาษีและการแสดงเป็นการนำองค์ประกอบของการแสดงมาผสมผสานกัน ได้แก่ การแสดงหนังตะลุง การไหว้ครู เครื่องดนตรี เพลงร้อง ท่าเต้น การแสดงโขน เรื่องที่แสดง การแต่งกาย-แต่งหน้า ดนตรี พากย์-เจรจา ท่ารำท่าเต้น การแสดงลิเก การไหว้ครู การแต่งหน้า ดนตรี เพลงร้อง เวที ฉาก แสง เสียง โอกาสและสถานที่แสดง การดำเนินเรื่อง ท่ารำ การแสดงละครชาตรี การแต่งกาย-แต่งหน้า ดนตรี เพลงร้อง การดำเนินเรื่อง ท่ารำ การแสดงโขนสดคณะสังวาลย์เจริญยิ่ง ในปัจจุบันมีการแสดงประมาณ 60 ครั้งต่อไป ในราคาประมาณ 40,000-60,000 บาท และยังคงมีการพัฒนารูปแบบการแสดงตามความรู้ ความสามารถของนักแสดงและความต้องการของผู้ชม ในการประกอบอาชีพ สมควรที่จะอนุรักษ์ส่งเสริมให้เป็นมรดกของชาติสืบไป
Other Abstract: To study Khon Sod, its historical development, performance elements, and performing techniques from 2001 to 2002. Research methodology includes documentary review, interviewing six troupe heads and other experts in this field, and observing 16 performances of Sangwan Charoenying troupe. Research finds that Khon Sod began around 1937 under the name Nang Sod in the area of Chonburi province. A group of drunken men imitated the Nang Talung shadow puppet and developed into professional performances. Later, it was called Khon Sod. Today Sangwan Charoenying troupe is the most famous among 6 troupes actively performed today. Performance is a combination of Khon, Nang Talung, Likay and Lakon Chatri. Performers dress in Khon costume, move in Nang Talung style, using Likay comic devices, singing and dancing with Lakon Chatri style. Regular performance starts with rituals for stage construction, paying homage to deities and music prelude. Then the play proper begins. The whole presentation lasts around 4 hours. Sangwan Charoenying troupe performs averagely 60 times a year with 40,000-60,000 baht per performance. New techniques are always introduced to enhance its popularity. Khon Sod should be preserved as a national heritage.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10899
ISBN: 9741727283
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chalermchai.pdf23.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.