Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10988
Title: การตอบสนองของกระบวนการกำจัดฟอสฟอรัสทางชีวภาพแบบเอสบีอาร์ต่อการเติมออร์โธฟอสเฟตบางส่วนที่ขั้นตอนแอโรบิก
Other Titles: Response of an EBPR/SBR process to the partial addition of orthophosphate at the aerobic stage
Authors: บุษกร อมรวิทย์
Advisors: ธงชัย พรรณสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Thongchai.P@Chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดฟอสฟอรัส
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของการเติมออร์โธฟอสเฟตภายหลังการดูดซึมกรดไขมันระเหยง่ายของจุลชีพในขั้นตอนแอนแอโรบิก-แอโรบิก-แอนอกซิกแบบเอสบีอาร์ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ชุดใหญ่ ๆ คือ ชุดควบคุมและชุดทดสอบ ในชุดควบคุมมุ่งจะได้ศึกษาผลของการแปรค่าอัตราส่วนระหว่างอาร์บีซีโอดีต่อฟอสฟอรัส โดยควบคุมให้ค่าฟอสฟอรัสในน้ำเข้าคงที่เป็น 15 มก./ล. และแปรค่าซีโอดีเพื่อให้ได้อัตราส่วนที่ต้องการคือ 6:1, 12:1, 24:1 และ 48:1 ส่วนในชุดทดสอบมีการเติมฟอสฟอรัส 2 ตำแหน่งคือที่น้ำเข้าและที่ปลายขั้นตอนแอนแอโรบิกตำแหน่งละ 7.5 มก./ล. รวมกันเป็น 15 มก./ล. เช่นเดิม และทำการทดลองที่อัตราส่วนอาร์บีซีโอดีต่อฟอสฟอรัส 6:1, 24:1 และ 48:1 โดยในการทดลองนี้ได้ใช้น้ำเสียสังเคราะห์ที่มีแหล่งซีโอดีจากโซเดียมอะซิเทตและนิวเทรียนต์บรอธ โดยใช้นิวเทรียนต์บรอธเพื่อเป็นแหล่งไนโตรเจนสำหรับการชีวสังเคราะห์ของเซลล์ ส่วนซีโอดีที่ต้องการเพิ่มได้เตรียมจากโซเดียมอะซิเทต ชุดทดลองทั้งสองชุดนี้ใช้ถังปฏิกิริยาขนาด 10 ลิตร ทำการเดินระบบที่ค่าอายุสลัดจ์ 8 วัน วัฏจักรการทำงาน 8 ชั่วโมงประกอบด้วยขั้นตอนการเติมน้ำเสีย 5 นาทีซึ่งเริ่มพร้อมกับสภาวะแอนแอโรบิก 2 ช.ม. ช่วงแอโรบิก 4 ช.ม. ช่วงตกตะกอน 40 นาที ระบายน้ำ 5 นาทีและแอนอกซิก 1 ช.ม. 15 นาที นอกจากนี้ยังได้ทำการทดลองชุดแบตช์ซึ่งนำสลัดจ์จากปลายชั้นตอนแอนแอโรบิกของชุดควบคุมทั้ง 4 ชุด ที่เข้าสู่สถานะคงตัวแล้ว 1.25 ลิตรมาทำการทดลองเติมอากาศโดยเติมฟอสฟอรัสเพิ่มเติม 3 ค่า คือ 15+0 (เติมเพิ่ม 0 มก./ล.) 15+22.5 (เติมเพิ่ม 22.5 มก./ล.) และ 15+67.5 (เติมเพิ่ม 67.5 มก./ล.) รวมทำการทดลองแบบแบตช์ทั้งหมด 12 การทดลอง จากผลการทดลองชุดควบคุมและชุดทดสอบพบว่าอัตราส่วนของอาร์บีซีโอดีต่อฟอสฟอรัสมีผลต่อการจำกัด ฟอสฟอรัส คือ 4 แรกชุด(ควบคุม) และ 3 ชุดหลัง (ทดสอบ) มีประสิทธิภาพในการกำจัดฟอสฟอรัสเป็นร้อยละ 21, 42, 75, 100, 25, 87 และ 99 ตามลำดับและมีร้อยละของปริมาณฟอสฟอรัสในเซลล์เป็น 13.5, 9.3, 6.4, 4.9, 13.8, 8.0 และ 5.3 ตามลำดับ ส่วนการกำจัดซีโอดีพบว่ามีประสิทธิภาพดีที่ทุกชุดการทดลอง คือ ร้อยละ 100, 100, 100, 99, 97, 99 และ 99 ตามลำดับ และการกำจัดทีเคเอ็นก็มีประสิทธิภาพดีเช่นกัน คือ ร้อยละ 100, 96, 99, 96, 96, 93, 94 ตามลำดับ ส่วนในการทดลองชุดแบตช์พบว่าในชุดการทดลองที่นำสลัดจ์มาจากชุดควบคุมเดียวกัน ถ้าเติมฟอสฟอรัสในปริมาณที่มากขึ้นระบบจะสามารถจับใช้ฟอสฟอรัสได้มากขึ้น ส่วนชุดแบตช์ที่นำสลัดจ์มาจากการทดลองต่างชุดแต่นำมาเติมฟอสฟอรัสเท่า ๆ กันจะเห็นว่าชุดที่มีการเติมสารอาหารมากจะสามารถจับใช้ฟอสฟอรัสได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการกำจัดฟอสฟอรัสมากกว่าชุดที่เติมสารอาหารน้อยกว่า ทั้งนี้สอดคล้องกับปริมาณพีเอชเอที่ทำการทดลองควบคู่กันไปด้วย ดังนั้นสรุปได้ว่าไม่ว่าจะมีการเติมฟอสฟอรัสในน้ำเข้าก่อนจะมีการใช้สารอาหารและปลดปล่อยฟอสฟอรัสในขั้นตอนแอนแอโรบิกหรือแบ่งเติมทั้ง 2 ตำแหน่งทั้งที่น้ำเข้าและที่ภายหลังขั้นตอนแอนแอโรบิกก็ไม่มีผลต่อการจับใช้ฟอสฟอรัสในขั้นตอนแอโรบิก
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effect of the orthophosphate addition after the anaerobic stage on the efficiency of biological phosphorus removal by an Anaerobic-Aerobic-Anoxic SBR process. The study was separated to 2 groups, i.e., the 'Control' group and 'Test' group. In the control group, the system was operated under different influent RBCOD:P ratio of 6:1, 12:1, 24:1 and with fixed P dose of 15 mg/1. In the test group, phosphorus was fed at 2 locations, first as the influent and later at the end of anaerobic stage with 7.5 mg P/1 each and at the RBCOD:P ratio of 6:1, 24:1 and 48:1. This synthetic wastewater used sodium acetate and nutrient broth as COD source; nutrient broth was used to supply nitrogen merely for cell synthesis. Sodium acetate was used for making up the remaining COD. The experiment setup was bench scale with 101 SBR reactor. The sludge age was controlled at 8 days and the cycle time was 8 hrs, with 5 min. influent feed which started at the same time with 2 hrs. anaerobic, 4 hrs aerobic, 40 min. settling, 5 min. effluent drain and 1 hr. 15 min. anoxic. Moreover, aerobic batch test was also run with 1.25 1 sludge taken from the end of anaerobic sludge of the steady-steady-state control group, and orthophosphate of 0,22.5 and 67.5 mgP/1 was additionally added to the system. The RBCOD:P ratio in the control and test groups directly affected the phosphorus removal efficiency, i.e., the P removal efficiencies are 21,42, 75, 100, 25, 87 and 99 percent, for the 4 control and 3 test runs, respectively. The P content in mixed liquor volatile suspended solids (MLVSS) was 13.5, 9.3, 6.4, 4.9, 13.8, 8.0 and 5.3 percent, respectively. The RBCOD:P ratio had less impact on the filtered COD removal efficiency; it was apparently 100, 100, 100, 99, 97, 99, and 99 percent, respectively and for the TKN removal efficiencies at the said ratio were 100, 96, 99, 96, 96, 93, 94 percent, respectively. In the batch test, if the sludge that had been taken from the same RBCOD:P control case was added to the 'batch' beaker, the system could uptake more phosphorus of more phosphorus was added to the aerobic stage. For the sludge from different RBCOD:P Conditions but with the same amount of P added, it was found that if more RBCOD were added to the influent, more phosphorus were uptaken. In conclusion, whether the phosphorus was fed only in the influent or at 2 locations did not affect the P removal efficiencies. But the P removal efficiency depended on the amount of substrate. If more substrate were fed, more phosphorus were uptaken.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10988
ISBN: 9743344624
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Busakorn_Am_front.pdf819.69 kBAdobe PDFView/Open
Busakorn_Am_ch1.pdf710.2 kBAdobe PDFView/Open
Busakorn_Am_ch2.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Busakorn_Am_ch3.pdf872.39 kBAdobe PDFView/Open
Busakorn_Am_ch4.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Busakorn_Am_ch5.pdf700.21 kBAdobe PDFView/Open
Busakorn_Am_back.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.