Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11513
Title: บทบาทของเภสัชกรบนหอผู้ป่วย ที่โรงพยาบาลพิจิตร
Other Titles: Role of decentralized pharmacist at Phichit Hospital
Authors: จินดา ปิยสิริวัฒน์
Advisors: อภิฤดี เหมะจุฑา
มังกร ประพันธ์วัฒนะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: โรงพยาบาลพิจิตร
การบริบาลทางเภสัชกรรม
เภสัชกร
การใช้ยา
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พื้นฐานสำคัญของการให้การบริบาลเภสัชกรรมคือ การบ่งชี้ แก้ไข หรือป้องกันปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาของผู้ป่วยแต่ละราย การจะให้การบริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยได้อย่างกว้างขวาง ต้องมีการดำเนินงานที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบที่ดีเป็นส่วนหนึ่งของการทำ งานประจำ การศึกษาดำเนินการในหอผู้ป่วยอายุรกรรมทั่วไป ที่โรงพยาบาลพิจิตร ระหว่างเดือนธันวาคม 2538 ถึง มิถุนายน 2539 เพื่อจัดตั้งและประเมินรูปแบบการให้บริบาลเภสัชกรรมของเภสัชกรบนหอผู้ป่วย ที่ร่างจากการทบทวนวรรณกรรมซึ่งประกอบด้วย 13 ขั้นตอน โดยเภสัชกรดำเนินการบ่งชี้ ป้องกันและแก้ไข ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา และบันทึกผลการดำเนินการป้องกัน และแก้ไขปัญหา สำรวจทัศนคติของผู้ที่เกี่ยวข้อง และเวลาในการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอน ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย 216 ราย พบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา ซึ่งเกิดก่อนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 34 ปัญหา ในผู้ป่วย 29 ราย (13.4%) และพบปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 171 ปัญหา ในผู้ป่วย 97 ราย (44.9%) โดยลักษณะของปัญหาที่พบมากที่สุดคือ การไม่ได้รับยาที่ควรได้รับ 35 ปัญหา (20.5%) การได้รับยาที่ถูกต้องแต่ขนาดมากเกินไป 32 ปัญหา (18.7%) และการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยากับยา 28 ปัญหา (16.4%) เภสัชกรสามารถดำเนินการป้องกันปัญหาได้ 76 ปัญหา (45.1%) แก้ไขปัญหา 44 ปัญหา (25.1%) และติดตามปัญหาอย่างใกล้ชิด 51 ปัญหา (29.5%) มีผู้ป่วยเพียง 16 ราย ที่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากการเป็นผู้ป่วยในไปเป็นผู้ป่วยนอก จากการปฏิบัติงานตามรูปแบบที่กำหนด เภสัชกรใช้เวลาประมาณ 41.4 นาทีต่อผู้ป่วย 1 ราย (25.4-57.3 นาที) หรือดูแลการใช้ยาของผู้ป่วยได้ประมาณวันละ 11 ราย จากการสำรวจทัศนคติของแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่า เห็นสมควรให้เภสัชกรมีส่วนร่วมในการดูแลการใช้ยาของผู้ป่วย จากผลการปฏิบัติงานแสดงให้เห็นว่ารูปแบบการปฏิบัติงานเภสัชกรบนหอผู้ป่วยที่ เหมาะสม ควรประกอบด้วยกิจกรรมอย่างน้อย 6 กิจกรรม ได้แก่ (1) การสัมภาษณ์ประวัติความเจ็บป่วยและการใช้ยาของผู้ป่วยรับใหม่ (2) การร่วมตรวจรักษาผู้ป่วยประจำวัน (3) การประเมินการสั่งยา (4) การติดตามการตอบสนองต่อการใช้ยาของผู้ป่วย (5) การแนะนำการใช้ยาแก่ผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน และ (6) การประสานงานส่งต่อผู้ป่วยไปยังหน่วยให้คำปรึกษา-แนะนำด้านยาแผนกผู้ป่วยนอก การให้การบริบาลเภสัชกรรมโดยเภสัชกรบนหอผู้ป่วย สำเร็จลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องประกอบด้วยกิจกรรมที่จำเป็นอย่างน้อย 6 กิจกรรม สามารถพบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาส่วนใหญ่ในผู้ป่วยจำนวนที่มากกว่า และดำเนินการป้องกันได้ดีกว่า
Other Abstract: The essence of pharmaceutical care is to identify, to prevent and to solve specific, drug related problems (DRPs). In order to offer a comprehensive pharmaceutical care, a well-organized and systemic program is needed in daily practice. This study was conducted in a general medicine ward at Phichit hospital during December 1995 to June 1996 to implement and evaluate a pharmaceutical care practice model of a decentralized pharmacist. A proposed practice model was derived from the relevant literatures in the form of 13-step process. These comprised of pharmacist's identification, prevention, or resolution of DRPs. The outcome of prevention as well as resolution were analysed. The attitudes of all disciplines concerned and the time spent were surveyed for efficiency of the process. Of 216 patients, 34 DRPs prior to admission were detected in 29 patients (13.4%). During hospitalization, 171 DRPs were found in 97 patients (44.9%). The most commonly found DRPs were untreated indication 35 problems (20.5%), too much of the correct drug 32 problems (18.7%), and drug : drug reaction 28 problems (16.4%). 76 DRPs (45.1%) were prevented, 44 DRPs (25.1%) were resolved and 51 DRPs (29.8%) were monitoring closely. Only 16 patients received continuity of care from inpatient to outpatient. The everage time spent for each patient was 41.4 minutes (25.4-57.3 minutes) in the proposed model (approximately 11 patients/day). All disciplines concerned showed favorable attitudes toward the pharmacist's participation in patient care at ward level. Data show that the concluded model should consisted of at least 6 activities those are (1) obtaining admission interview for patient's medication history, a participating in patient care rounds, (3) assessing drug order entry. (4) monitoring responses, (5) discharge medication counseling, and (6) referring a targeted patient to drug counseling unit. The provision of pharmaceutical care by a decentralized pharmacist can be accomplished efficiently through 6 related activities. Most DRPs in more patients can be found and early prevention can be done better in this practice model.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11513
ISBN: 9746357735
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chinda_Pi_front.pdf867.9 kBAdobe PDFView/Open
Chinda_Pi_ch1.pdf802.61 kBAdobe PDFView/Open
Chinda_Pi_ch2.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Chinda_Pi_ch3.pdf851.55 kBAdobe PDFView/Open
Chinda_Pi_ch4.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open
Chinda_Pi_ch5.pdf954.2 kBAdobe PDFView/Open
Chinda_Pi_back.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.