Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11830
Title: ทุกข์ในพุทธปรัชญา : มุมมองจากลัทธิดาร์วิน : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Suffering in Buddhism : a Darwinian perspective
Authors: สมภาร พรมทา
Email: Somparn.P@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Subjects: ความทุกข์ -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา
พุทธปรัชญา
วิวัฒนาการ (ชีววิทยา)
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พุทธศาสนามีหลักคำสอนสำคัญที่เป็นแก่นคือคำสอนเรื่องทุกข์และการดับทุกข์ ความเข้าใจในรายละเอียดและความสำคัญของทุกข์เกี่ยวข้องโดยตรงกับการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ จากประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนา พบว่ามีคำอธิบายเรื่องทุกข์สองแบบ แบบที่หนึ่งคือการอธิบายในเชิงคัมภีร์ แบบที่สองคือการอธิบายโดยการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในธรรมชาติมาเป็นตัวอย่างชี้ให้เห็นว่า ทุกข์ที่พุทธศาสนาสอนเป็นอย่างไร การอธิบายทุกข์ในเชิงคัมภีร์มีข้อดี ตรงที่ทำให้เห็นภาพรวมในเชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับคำสอนเรื่องทุกข์ในพุทธศาสนา แต่ก็มีข้อด้อยตรงที่ขาดพลังในการชักนำให้เรารู้สึกว่าทุกข์เป็นเรื่องสำคัญในชีวิตที่เราต้องหาทางเอาชนะ การอธิบายด้วยการใช้ตัวอย่างในธรรมชาติ มีข้อดีตรงที่ทำให้เรารู้สึกว่าทุกข์เป็นเรื่องของชีวิตและโลกรอบตัว แต่ก็มีข้อด้อยตรงที่ไม่ให้ภาพรวมเชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับคำสอนเรื่องทุกข์ที่พุทธศาสนาสอน ผู้วิจัยเชื่อว่า เท่าที่เป็นมาในประวัติศาสตร์พุทธศาสนา เรามีคำอธิบายในเชิงคัมภีร์ที่ละเอียดลึกซึ้งเพียงพอแล้ว สิ่งที่เราขาดคือการอธิบายโดยการใช้ตัวอย่างในธรรมชาติ ลัทธิดาร์วินถูกนำเข้ามาในงานวิจัยนี้ ในฐานะเครื่องมือสำหรับใช้ส่องให้เห็นรายละเอียดที่ซับซ้อนและลึกซึ้งของทุกข์ในบางแง่มุมที่ไม่ปรากฏตรงๆ ในคำอธิบายเชิงคัมภีร์ของพุทธศาสนา เมื่อพิจารณาจากมุมมองของลัทธิดาร์วิน ชีวิตเป็นทุกข์ใน 2 ความหมายหลักๆ ประการแรก ชีวิตมีฐานะเป็นอินทรียภาพที่ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของตนเอง ประการที่สอง ชีวิตเป็นเครื่องมือที่ยีนใช้สำหรับสืบทอดการดำรงอยู่ของกระแสแห่งยีน ในฐานะเครื่องมือของยีน ชีวิตต้องแบกรับภาระในทางชีววิทยาจำนวนมากอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ การต้องแบกรับภาระนี้คือทุกข์ จะอย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุด นักคิดในลัทธิดาร์วินบางคนเชื่อว่า มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองจนถึงระดับที่สามารถสลัดตัวเองให้พ้นออกมาจากการครอบงำของธรรมชาติในทางชีววิทยา ซึ่งก็แปลว่าเมื่อมนุษย์พัฒนาถึงจุดนั้น มนุษย์จะสามารถเอาชนะทุกข์ซึ่งถูกมอบมาให้พร้อมกับการเกิดได้ แนวคิดนี้สอดคล้องกับความเชื่อของพุทธศาสนาที่ว่าเมื่อถึงที่สุดแล้ว ทุกข์ของชีวิตเป็นสิ่งที่มนุษย์เราสามารถเอาชนะได้
Other Abstract: One of the basic teaching in Buddhism is that concerning a concept of suffering and the way leading to its cessation. According to Buddhism, a knowledge of the nature of suffering is considered to be relevant to the practice for the cessation of suffering itself. There are two kinds of suffering explanation in Buddhism. The first is a textual explanation, and the second is an empirical one. The textual explanation has a strong point as can provide a systematic conceptual understanding of suffering, but has a weak point as it lacks a sufficient emotional power to convince us how complex and so difficult to win is the human suffering. The empirical explanation has a strong point as it can arouse our emotional thoughts to see how the human life and the world evolved in the great natural suffering, but has a weak point as it cannot provide a systematic conceptual understanding of suffering as found in the textual one. It can be said that the textual explanation of suffering ever provided by the Buddhist thinkers in the Buddhist literature reaches its perfect point. So many great works of this category have been done. A thing we lack is the work of the second category. Darwinism is brought up here to play an empirical role showing some profound empirical aspects of the human suffering which cannot be directly found through the textual explanation. From a Darwinian perspective, the human life is suffering in two meanings. Firstly, it is suffering as an organism whose inner nature is to struggle for its own existence. Secondly, it is suffering as a survival biological machine whose permanently-given role is to protect a stream of genes. Even though Darwinism looks into the human life as suffering in itself as conceived by Buddhism, some of the Darwinian thinkers accepts that as the end man can rebel against his biological tyranny. This view seems to be in accordance with the Buddhist belief that all human beings have the inner potentiality to overcome their inner spiritual enemies, the three kinds of desire, day by day causing suffering in the human life.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11830
Type: Technical Report
Appears in Collections:Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
somparn_Suf.pdf14.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.