Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12140
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา-
dc.contributor.authorวรินธร จารุโชติธนาวัฒน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-03-09T01:11:49Z-
dc.date.available2010-03-09T01:11:49Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743345299-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12140-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและจัดประเภทคู่นามกับกริยาในภาษามือไทย และศึกษาลักษณะความสัมพันธ์ทางความหมายของคู่นามกับกริยาแต่ละประเภทที่จัดได้ ข้อมูลในงานวิจัยได้จากการบันทึกวีดิทัศน์การทำสัญญามือของคนหูหนวก ตามรายการศัพท์คู่นามกับกริยาที่จัดทำขึ้น ผลการวิจัยพบว่าคู่นามกับกริยาในภาษามือไทยจำแนกได้ 2 ประเภท โดยใช้องค์ประกอบทางรูปที่ต่างกันเป็นเกณฑ์ในการจำแนก องค์ประกอบทางรูปที่ต่างกันในคู่นามกับกริยา ได้แก่ องค์ประกอบการเคลื่อนมือและ หรือองค์ประกอบที่ไม่ใช้มือ คู่นามกับกริยาประเภทที่พบมากกว่าคือคู่นามกับกริยาที่ต้องใช้ 2 องค์ประกอบในการแยกรูปนามกับกริยา คือใช้องค์ประกอบการเคลื่อนมือร่วมกับองค์ประกอบที่ไม่ใช้มือ โดยคิดเป็นเกือบ 80% ของข้อมูลทั้งหมด ส่วนคู่นามกับกริยาอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่ คู่นามกับกริยาที่ใช้องค์ประกอบที่ไม่ใช้มือเพียงองค์ประกอบเดียวในการยแยกรูปนามกับกริยา คิดเป็นประมาณ 20% ของข้อมูลทั้งหมด สัญญาณนามในทั้ง 2 ประเภทสามารถใช้องค์ประกอบที่ไม่ใช้มือ ซึ่งถ้าใช้องค์ประกอบที่ไม่ใช้มือแล้วจะใช้องค์ประกอบดังกล่าวน้อยกว่าสัญญาณกริยา สัญญาณนามในประเภทที่ 1 ยังมีการทำสัญญาณซ้ำด้วยอาการเคลื่อนมือที่ต่างไปจากสัญญาณกริยาด้วย ในขณะที่ทั้งองค์ประกอบไม่ใช้มือและองค์ประกอบใช้มือใช้แยกรูปคู่นามกับกริยาได้ แต่องค์ประกอบที่ไม่ใช้มือมีความสำคัญกว่า ดังนั้นจึงไม่ยืนยันสมมุติฐานที่ตั้งไว้ว่าคู่นามกับกริยาต้องใช้องค์ประกอบทั้งสองร่วมกันในการแยกรูปนามกับกริยา คู่นามกับกริยามีความสัมพันธ์ทางความหมายจัดเป็นประเภทได้ 5 ประเภท จากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความสัมพันธ์ทางความหมายแบบเครื่องมือ ผู้ทรงสภาพ ผู้ถูก ผู้ก่อการ และผู้เสริม ความสัมพันธ์ทางความหมายระหว่างคู่นามกับกริยาในแต่ละประเภทไม่มีลักษณะร่วมกัน ซึ่งไม่ยืนยันสมมุติฐาน และความสัมพันธ์ทางความหมายระหว่างคู่นามกับกริยาในแต่ละประเภทมีลักษณะต่างกัน ซึ่งยืนยันสมมุติฐาน คู่นามกับกริยาในแต่ละประเภทยังจำแนกโดยใช้ลักษณะการทำสัญญาณซ้ำ อาการเคลื่อนมือ การใช้องค์ประกอบที่ไม่ใช้มือ และการใช้องค์ประกอบที่ไม่ใช้มือมากเป็นเกณฑ์ในการจำแนก ทำให้พบว่าสัญญาณกริยามีรูปแบบหลากหลายกว่าสัญญาณนาม แสดงให้เห็นว่าสัญญาณนามเป็นรูปผันจากสัญญาณกริยา โดยใช้กฎต่าง ๆ อันได้แก่ กฎยั้งอาการเคลื่อนมือ กฎทำสัญญาณซ้ำ กฎตัดและกฎลดองค์ประกอบที่ไม่ใช้มือen
dc.description.abstractalternativeThis study is aimed at grouping noun and verb pairs in Thai sign language (TSL) and also at investigating the semantic relationships between noun and verb pairs of each group. The data, signing by deaf Thais, are collected in video tape following the list of noun and verb pairs gathered. By analyzing distinctive features, there are 2 groups of TSL noun-verb pairs. The distinctive features of noun and verb pairs are hand movements and /or non-manual signals. In 80% of the pairs, the difference between nouns and verbs is expressed in both hand movements and non-manual signals. Another group of noun-verb pairs, or about 20% are distinguished by non-manual signals only. Nouns in both groups can have non-manual signals. If only non-manual signals are considered, nouns have less degree of non-manual signals than verbs. Nouns in group 1 are also distinct from verbs by having reduplicated form with restrained manner. While both manual and non-manual signals can play a role in distinguishing, non-manual signual signals are more important. The hypothesis that the 2 features must be used together in distinguishing noun and verb pairs is thus not attested. The research found 5 semantic relationships of noun and verb pairs. The most found is instrumental followed by patient, object, actor and range. The semantic relationships of TSL noun and verb pairs are different within groups, which is not as hypothesized. The semantic relationships of TSL noun and verb pairs are the differrent among groups, which is as hypothesized. noun and verb pairs can be further divided in classes according to reduplication, manner, presence and degree of non-manual signals. Verbs have more classes than nouns. Thus nouns are most probably derived from verbs by applying rules, such as restrained manner, reduplication of hand movements and deleting or lessening the degree of non-manual signals.en
dc.format.extent782387 bytes-
dc.format.extent748311 bytes-
dc.format.extent926344 bytes-
dc.format.extent926344 bytes-
dc.format.extent777233 bytes-
dc.format.extent3925249 bytes-
dc.format.extent781946 bytes-
dc.format.extent770797 bytes-
dc.format.extent739699 bytes-
dc.format.extent713465 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1999.231-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาษามือen
dc.subjectภาษาไทย -- การใช้ภาษาen
dc.subjectภาษาไทย -- คำกริยาen
dc.subjectภาษาไทย -- คำนามen
dc.subjectคนหูหนวกen
dc.titleการศึกษาคู่นามกับกริยาในภาษามือไทยen
dc.title.alternativeStudy of noun and verb pairs in Thai sign languageen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineภาษาศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKingkarn.T@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1999.231-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Varintorn_Ja_front.pdf764.05 kBAdobe PDFView/Open
Varintorn_Ja_ch1.pdf730.77 kBAdobe PDFView/Open
Varintorn_Ja_ch2.pdf904.63 kBAdobe PDFView/Open
Varintorn_Ja_ch3.pdf759.02 kBAdobe PDFView/Open
Varintorn_Ja_ch4.pdf3.83 MBAdobe PDFView/Open
Varintorn_Ja_ch5.pdf763.62 kBAdobe PDFView/Open
Varintorn_Ja_ch6.pdf752.73 kBAdobe PDFView/Open
Varintorn_Ja_ch7.pdf722.36 kBAdobe PDFView/Open
Varintorn_Ja_back.pdf696.74 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.