Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12184
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต | - |
dc.contributor.advisor | สรวิศ เผ่าทองศุข | - |
dc.contributor.author | ธีรพงษ์ จรัญญากรณ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2010-03-15T02:45:12Z | - |
dc.date.available | 2010-03-15T02:45:12Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.isbn | 9741733011 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12184 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 | en |
dc.description.abstract | สาหร่ายช่อพริกไทย Caulerpa lentillifera เป็นสาหร่ายสีเขียวที่นิยมใช้ในบ่อบำบัดน้ำสำหรับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ความเค็มของน้ำ และความเข้มแสง ต่อประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงและอัตราการนำสารอาหารแอมโมเนียมไนเตรท และฟอสเฟต เข้าสู่เซลล์ของสาหร่าย รวมทั้งการประเมินประสิทธิภาพของสาหร่ายในการควบคุมคุณภาพน้ำในถังเลี้ยงปลา นิล ผลการศึกษาพบว่าการเป่าอากาศที่ผสมด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 1 ลงในตู้ทดลองเลี้ยงสาหร่าย ไม่ได้ช่วยให้สาหร่ายสามารถนำสารอาหารเข้าสู่เซลล์ได้เร็วขึ้น แต่กลับจะทำให้เกิดการบลูมของไดอะตอมที่มักพบติดอยู่บนผิวของสาหร่ายตาม ธรรมชาติขึ้นมาแทน ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อระบบบำบัดด้วยสาหร่าย การเปลี่ยนแปลงความเค็มอย่างฉับพลันจาก 30 ppt เป็น 40 ถึง 60 ppt จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการสังเคราะห์ด้วยแสงลดลง ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงความเค็มจาก 30 ppt จนถึง 10 ppt ไม่มีผลกระทบมากนัก แต่สาหร่ายจะสูญเสียความสามารถในการสังเคราะห์ด้วยแสงอย่างรวดเร็ว เมื่อเปลี่ยนความเค็มจาก 10 ppt เป็น 0 ppt การเลี้ยงสาหร่ายในถังที่ได้รับแสงแดดโดยตรง จะทำให้เกิดการยับยั้งการสังเคราะห์ด้วยแสงเนื่องจากได้รับแสงที่มีความเข้ม สูงเกินไป (photoinhibition) โดยสาหร่ายที่ได้รับการพรางแสง 80% ด้วยผ้าพลาสติกจะยังคงสภาพเซลล์ที่ดี โดยมีค่าประสิทธิภาพการส่งถ่ายอิเลคตรอนในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Fv/Fm) ประมาณ 0.7 ในขณะที่สาหร่ายที่ได้รับแสงแดดโดยตรงจะมีค่า Fv/Fm ลดลงต่ำกว่า 0.5 สำหรับการประเมินประสิทธิภาพของสาหร่ายช่อพริกไทยในการควบคุมคุณภาพน้ำของ ถังเลี้ยงปลานิล พบว่าสาหร่ายสามารถกำจัดไนโตรเจนออกจากน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ได้รับแสงอย่างเหมาะสม (ได้รับแสงไม่เกิน 250 micromol photon/m[superscript 2]/s) โดยสามารถกำจัดไนโตรเจนออกจากระบบเลี้ยงปลาได้ประมาณร้อยละ 25 ทำให้น้ำมีคุณภาพดี ปริมาณแอมโมเนียต่ำ และไม่มีการสะสมของไนไตรท์ ไนเตรท และฟอสเฟต | en |
dc.description.abstractalternative | Caulerpa lentillifera, the green macroalgal species that has been used for nutrient treatment in the shrimp culture pond in Thailand. This thesis involved the study of environmental factors (e.g. carbon dioxide addition, sudden changed of salinity and various light intensities) on photosynthesis efficiency and ammonium, nitrate and phosphate uptake rate of C. lentillifera. The last part of this thesis was to evaluate the use of C. lentillifera for water quality control in Tilapia culture tanks. The results showed that carbon dioxide addition did not improve nutrient uptake rate of C. lentillifera but induced diatom bloom in the tank. Sudden change in salinity from 30 ppt to 40 and to 60 ppt affected the photosynthesis efficiency of this alga whereas sudden changed from 30 ppt to 10 ppt seemed to have no effect. However, rapid reduction of salinity from 10 ppt to 0 ppt significantly affected the photosynthesis efficiency. Culture of C. lentillifera in an outdoor condition led to a reduction of photosynthesis rate caused by strong light intensity. C. lentillifera grew with 80% sunlight shading had higher photosynthesis efficiency (Fv/Fm of approximately 0.7) than the algal thallus exposed to direct sunlight which had Fv/Fm ratio only at 0.5. Evaluation of using C. lentillifera for water treatment in tilapia fish culture tanks showed that, under the optimum light intensity (not over 250 micromol photo/m[superscript2]/s), the alga could remove 25% of total nitrogen input in the tank. This could provide high water quality with low ammonia concentration without the accumulation of nitrite, nitrate and phosphate in the system. | en |
dc.format.extent | 2564406 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สาหร่ายช่อพริกไทย | en |
dc.subject | น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีทางชีวภาพ | en |
dc.subject | บ่อเลี้ยงปลา | en |
dc.subject | ปลานิล -- การเพาะเลี้ยง | en |
dc.title | การใช้สาหร่ายช่อพริกไทย Caulerpa lentillifera เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ | en |
dc.title.alternative | Use of caulerpa lentillifera for water quality control in aquaculture pond | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา) | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | piamsak@sc.chula.ac.th, Piamsak.Me@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Teerapong.pdf | 2.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.