Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12238
Title: ปัจจัยทางจิต-สังคมของโรคจิตที่เกิดร่วมกับการใช้ยาบ้า ของผู้ป่วยในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา
Other Titles: Psychosocial factors in amphetamine related psychosis of inpatient in Somdet Chaopraya Hospital
Authors: สุชาดา หุณฑสาร
Advisors: อุมาพร ตรังคสมบัติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Umaporn.Tr@Chula.ac.th
Subjects: การใช้สารเสพติด
ยาบ้า
ผู้ป่วยจิตเวช
แอมฟิตะมิน
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใด เวลาหนึ่ง มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยทางจิต-สังคม ที่เกิดร่วมกับการใช้ยาบ้าของผู้ป่วยในที่มารับการรักษา ณ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา โดยศึกษาจากตัวอย่างทั้งหมด 290 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เมื่อ BPRS < 30 คะแนน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินอาการโรค แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล และลักษณะการเสพย์ยาเสพติดและแบบสัมภาษณ์ข้อมูลทางจิต-สังคม สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าฐานนิยม ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และเปรียบเทียบความ แตกต่างโดย Chi-square test, Fisher's exact test และ Unpaired t-test ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดใช้โปรแกรม SPSS PC+ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคจิตที่เกิดร่วมกับการใช้ยาบ้าจำนวน 290 คน เป็นเพศชาย 202 คนและเพศหญิง 88 คน ผู้ป่วยเริ่มเสพยาบ้าเมื่ออายุเฉลี่ย 20.02+-6.51 ปี (อายุต่ำสุด คือ10 ปี อายุสูงสุดคือ 46 ปี) ผู้ป่วยเพศชายเริ่มเสพยาบ้าเมื่ออายุเฉลี่ย 20.61+-7.21 ปี เพศหญิงเริ่มเสพยาบ้าเมื่ออายุ 18.68+-4.28 ปี ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.05 ผู้ป่วยเพศชายเสพยาบ้ามานานเฉลี่ย 5.46+-3.42 ปี ผู้ป่วยเพศหญิงเสพยาบ้ามานานเฉลี่ย 4.38+-2.31 ปี ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 อาการที่พบว่ามีระดับรุนแรงจากการใช้แบบประเมิน BPRS พบว่ามี auditory hallucination (95.2%) และ conceptual disorganization (88.6%) หลังจากได้รับการรักษาผู้ป่วย 75.17% อาการทุเลาในสัปดาห์ที่ 1 ผู้ป่วยส่วนใหญ่เสพยาบ้าด้วยวิธีสูดควัน (96.2%) เหตุผลในการเสพยาบ้าของผู้ป่วยส่วนใหญ่คืออยากลอง (57.2%) ในผู้ป่วย 74.8% ความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นแบบทะเลาะกันบ้างแต่ไม่รุนแรง ผู้ป่วย 44.5% ได้รับการเลี้ยงดูแบบรักทะนุถนอมและตามใจ 29% มีญาติป่วยเป็นโรคจิตและ 83% มีเพื่อนสนิทเสพยาบ้า การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางจิต-สังคมของ ผู้ป่วยเพศชายและเพศหญิง พบว่าปัจจัยต่างๆ นั้นไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: To explore psychosocial factors of patients with amphetamine related psychosis. The study was cross sectional descriptive study. Subjects included 290 patients who were admitted at Somdet Chaopraya Hospital. The instruments consisted of Brief Psychiatric Rating Scale (BPRS) and the psychosocial interview form. Percentage, mean, standard deviation, mode, maximum and minimum were determined. Chi-square test, Fisher's Exact test and t-test were used for statistical analysis. Data were analyzed with SPSS program. There were 290 subjects in this study, 202 were male and 88 were female. Subjects started to use amphetamine at the average age of 20.02+-6.15 years; range = 10- 45 years. In male subjects the age at the start of amphetamine use was 20.61+-7.21 years. In female subjects it was 18.68+-4.28 years. The difference had statistical significance (p<0.05). Male subjects used amphetamine longer than female subjects (5.46+-3.42 years and 4.38+-2.31 years respectively, p<0.05). With BPRS assessment symptoms with highest severity were auditory hallucination (95.2%) and conceptual disorganization (88.6%). After treatment 76.17% of the subjects improved in the first week. The most frequent method of amphetamine use was inhalation (96.2%). The most frequent reason for substance use was experimental (57.2%). Family relationship was characterized by moderate degree of conflicts in 74.8%. Child rearing pattern was overindulgence in 44.5%. Twenty percent of the subjects had relatives who were psychotic. 83% had friends who abused amphetamine. There were no significant difference between the psychosocial factors of male and female subjects.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12238
ISBN: 9741715633
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suchada.pdf855.41 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.