Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12359
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุนันท์ อัญชลีนุกูล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2010-03-26T09:54:47Z | - |
dc.date.available | 2010-03-26T09:54:47Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12359 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือเพื่อศึกษาพัฒนาการของหลักภาษาไทยโดยใช้แบบเรียนภาษาไทยและตำราภาษาไทยทุกระดับเป็นตัวบ่งชี้ เพื่อศึกษาบทบาทของหลักภาษาไทยว่ามีผลต่อการศึกษาภาษาไทยเพียงใด และเพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการพัฒนาหลักภาษาไทย ผลการศึกษาวิจัยพบว่าการศึกษาหลักภาษาไทยตั้งแต่สมัยการศึกษาแบบดั้งเดิมจนถึงสมัยการศึกษาแบบปัจจุบันได้พัฒนาเรื่อยมาเป็น 3 ระยะ ระยะแรกเป็นสมัยการศึกษาแบบดั้งเดิม ระยะนี้ศึกษาหลักภาษาไทยเฉพาะด้านอักขรวิธีและฉันทลักษณ์ โดยมีแบบเรียนจินดามณีฉบับพระโหราธิบดีเป็นตัวบ่งชี้ การศึกษาหลักภาษาไทยระยะที่สองเป็นสมัยที่มีการปฏิรูปการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในระยะนี้การศึกษาหลักภาษาไทย ได้พัฒนาการศึกษาอักขรวิธีให้เป็นระบบมากขึ้นดังปรากฏในหนังสือแบบเรียนหลวงของพระยาศรีสุนทรโวหาร และต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงขยายขอบเขตการศึกษาหลักภาษาไทยไปถึงด้านวจีวิภาคและวากยสัมพันธ์ โดยมีแบบเรียนเร็วเป็นตัวบ่งชี้การเรียนหลักภาษาไทยระดับต้นส่วนตัวบ่งชี้การเรียนหลักภาษาไทยระดับสูงคือ ตำราสยามไวยากรณ์ ซึ่งกรมศึกษาธิการและพระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์เป็นผู้แต่ง ระยะที่สามนับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2475 เป็นต้นมา การศึกษาหลักภาษาไทยได้พัฒนามาใช้ทฤษฎีทางภาษาศาสตร์มากขึ้นทั้งในระดับมัธยมและระดับมหาวิทยาลัย ตำราที่ใช้เป็นตัวบ่งชี้การเรียนหลักภาษาไทยระดับมัธยมคือหนังสือเรียนภาษาไทยของกรมวิชาการ ส่วนระดับมหาวิทยาลัยที่ใช้ในคณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ หนังสือหลักภาษาไทยของพระยาอุปกิตศิลปสาร หนังสือนิรุกติศาสตร์ของศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน หนังสือโครงสร้างภาษาไทย ; ระบบไวยากรณ์ ของ ศาสตราจารย์ ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์ หนังสือระบบเสียงภาษาไทยของ ศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคสกุล เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าการศึกษาหลักภาษาไทยมีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาภาษาไทยในลักษณะต่าง ๆ การศึกษาหลักภาษาไทยด้านอักขรวิธีมีบทบาทสำคัญโดยตรงต่อการปูพื้นฐานการอ่านและการเขียนภาษาไทย การศึกษาหลักภาษาไทยด้านวจีวิภาคและวากยสัมพันธ์มีบทบาทต่อการศึกษาวิเคราะห์ภาษาไทย ได้ลุ่มลึกขึ้นทั้งในระดับมัธยมศึกษาและระดับมหาวิทยาลัย ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการพัฒนาการศึกษาหลักภาษาไทยในระยะที่มีการศึกษาแบบดั้งเดิม ในช่วงก่อนปีพุทธศักราช 2475 คือพระมหากษัตริย์ไทย ส่วนในระยะเวลาภายหลังปีพุทธศักราช 2475 เป็นต้นมานั้นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาการศึกษาหลักภาษาไทยคือนโยบายผู้บริหารทางการศึกษา ผู้แต่งตำราหรือแบบเรียนและปริบททางสังคม | en |
dc.description.abstractalternative | This research has three main objectives: First, to trace the development of the Thai grammar by studying the Thai grammar textbooks at al levels ; second, to study the roles of the Thai grammar on the study of the Thai language ; and third, to study the important factors for the development of the Thai grammar. According to the findings of this research, the study of the Thai grammar from the early period until the present time has been developed and can be divided into 3 periods. The first period placed its emphasis on orthography and the principles of poetry composition, as indicated in the seminal Thai textbook Jindamanee, written by Phra Hora Thipbadi. The second period was during the educational reform initiated by King Rama the Fifth, when orthography was more systematically developed as seen in the official textbook Baep-rianluang, written by Phraya Srisunthornwoharn. Later on, in addition to the study of orthography, Somdej Krom Phraya Damrongrajanuphap added the study of parts of speech as well as syntax in his textbook Baep-rian rew for the elementary level. As for the advanced level, Siam Waiyakorn written by Kromseuksathikarn and Phraya Wisutsuriyasak was the major indicator of the development of the Thai grammar during that time. In the third period from 1932 on, the study of the Thai grammar at secondary level and at university level has focused on western linguistic frameworks. The textbooks at the secondary level which have been widely used are the Thai textbooks of Kromwichakan. As for the university level, Lakphasaathai by Phraya Upakitsilapasarn, Niruktisart, by Professor Phraya Anumanratchathon, The Structure of Thai : Grammatical system by Professor Dr. Vichin Panupong and Thai Phonology by Professor Dr. Karnchana Nacaskul have been leading texts for the study of the Thai grammar. This research also found that the Thai grammar has played important roles in the study of the Thai Language. The study of orthography has become the foundation of reading and writing Thai. The study of Thai morphology and syntax has led to a more profound analysis of the Thai grammar at secondary and tertiary levels of education. The main factor leading to the development of the Thai grammar before 1932 had to do exclusively with royal command and wishes. However, from 1932 on the main factor for the development of the Thai grammar have been the educational administrators, the authors of textbooks and the social contexts. | en |
dc.description.sponsorship | กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช | en |
dc.format.extent | 3068740 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน | en |
dc.subject | ภาษาไทย -- แบบเรียน | en |
dc.subject | ภาษาไทย -- การใช้ภาษา | en |
dc.title | การศึกษาพัฒนาการของหลักภาษาไทย : รายงานผลการวิจัย | en |
dc.title.alternative | A study of the development of the Thai grammar | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | Sunant.A@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Arts - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sunant_An.pdf | 3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.