Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12465
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวิทย์ สุนทรนันท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-04-05T07:54:00Z-
dc.date.available2010-04-05T07:54:00Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12465-
dc.description.abstractกิจกรรมฝึกงานเทคโนโลยีสะอาดในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นกิจกรรมรูปแบบใหม่ที่กำหนดเป้าประสงค์ในการฝึกงานที่ชัดเจนโดยมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดการใช้ทรัพยากรและการก่อกำเนิดของเสีย ตลอดระยะเวลาของการฝึกงาน นิสิตได้ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดของอาจารย์ที่ปรึกษาและพี่เลี้ยงในโรงงานเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อพัฒนาการของนิสิตด้านทักษะการวิจัย โดยอาศัยแนวปฎิบัติของเทคโนโลยีสะอาด ซึ่งเน้นการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ประเด็นปัญหา แหล่งที่มาและสาเหตุของปัญหาอันนำไปสู่การพัฒนาคำตอบในการแก้ไขปัญหาด้วยการประยุกต์หลักวิชาการ ทั้งนี้ในปี พ.ศ.2549 เครือข่ายกิจกรรมฝึกงานเทคโนโลยีสะอาด ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมฝึกงานขึ้นเป็นปีที่ 5 ได้รับความร่วมมือจากโรงงาน 25 โรงงาน มีอาจารย์เข้าร่วมเป็นพี่เลี้ยง 30 คนและนิสิตฝึกงาน50 คน จากคณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมีเทคนิค สาขาเทคโนโลยีทางอาหาร สาขาเคมี สาขาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไปและคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเคมี สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมฝึกงาน นิสิตสามารถเสนอทางเลือกเทคโนโลยีสะอาด 46 ทางเลือก ศักยภาพในการลดค่าใช้จ่ายรวม 7.67 ล้านบาทต่อปีซึ่งมีถึง 23 ทางเลือกสามารถนำไปปรับปรุงการผลิตได้ทันที เป็นผลให้สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ 2.54 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ ศักยภาพของนิสิตในด้านการวิจัยยังได้รับการยอมรับเป็นอย่างมาก ดังเห็นได้จากทุนวิจัยสนับสนุนโครงงาน ซีเนียร์โปรเจกต์ที่เกิดจากการฝึกงานที่มากถึง 5 โครงงาน คิดเป็นเงินทุนวิจัยที่ได้รับรวม 480,000 บาท ในส่วนของพัฒนาการนิสิตด้านอื่นๆพบว่า นิสิตในโครงการมีพัฒนาการในด้านความรู้ความเข้าใจ การจับประเด็นปัญหา ความละเอียดรอบคอบในการเก็บข้อมูล การค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเองมากขึ้นโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจในผลงานของนิสิตและยินดีเข้าร่วมโครงการในโอกาสต่อไป โดยเปิดโอกาสให้อาจารย์ติดต่อเพื่อพิจารณาหัวข้อวิจัยและยินดีให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นความเชื่อมั่นของศักยภาพในการวิจัยของบุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และความยั่งยืนของกิจกรรมฝึกงานเทคโนโลยีสะอาดen
dc.description.abstractalternativeCleaner technology internship was carried out with specific aims to improve productivity, reduce resource consumption, and minimize waste generation. Through out the internship period, the students performed their works under close supervisions of both academic advisors and industrial coordinators for the sake of student’s research capability development. This was done by using cleaner technology guideline which emphasizes the process of data collection, problem identification, problem source and root cause analysis, and generation of solutions for problem solving. Cleaner technology internship program was arranged for the fourth year in which 25 companies, 30 academic staffs, and 50 students were involved under interdisciplinary cooperation from the faculty of science (the departments of chemical technology, food technology, chemistry, photographic and printing technology, and general science) and the faculty of engineering (the departments of chemical engineering, mechanical engineering, electrical engineering and environmental engineering) Out 0f 56 options for problem solving developed (potential saving of 7.67 million baht annually), 23 options have been implemented with the proven annual saving of 2.5 million baht. In addition, research capability of students was realized through 5 senior project research grants total amount of 480,000 baht . For other student’s development. It was found that operational comprehension, problem identification, data collection and refinement skills, together with self-studying skill were all improved markedly. Most companies joined the program were satisfied with the works done by students and were willing to further cooperate with the University via research collaboration. This could be an indication for the trust of industrial sectors on the research capability of Chulalongkorn staffs and students which, in turn, contributed to the sustainability of cleaner technology internship.en
dc.description.sponsorshipกองทุนรัชดาภิเษกสมโภชen
dc.format.extent6608962 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเทคโนโลยีสะอาดen
dc.subjectการฝึกงานen
dc.subjectนักศึกษา -- การฝึกอบรมen
dc.titleการพัฒนาศักยภาพในการวิจัยระดับปริญญาตรีด้วยการฝึกงานเทคโนโลยีสะอาด : รายงานผลการวิจัยen
dc.title.alternativeDevelopment of undergraduate research capability using cleaner technologyen
dc.typeTechnical Reportes
dc.email.authorwit.s@chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wit_So.pdf6.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.