Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12627
Title: ผลการสนับสนุนทางการพยาบาลต่อระดับความเครียด การยอมรับและการเลี้ยงดูทารกของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด
Other Titles: Effects of nursing support on stress level, acceptance and caring for newborn during postpartal period of adolescent mothers
Authors: ปาริฉัตร พงษ์จำปา
Advisors: อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Oraphun.L@Chula.ac.th
Subjects: ความเครียด (จิตวิทยา)
วัยรุ่น
มารดาและทารก
ทารก -- การดูแล
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาระดับความเครียด การยอมรับและการเลี้ยงดูทารกของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด ที่ได้รับการสนับสนุนทางการพยาบาล และเพื่อเปรียบเทียบผลต่างระดับความเครียด การยอมรับและการเลี้ยงดูทารกของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนทางการพยาบาล กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาวัยรุ่นหลังคลอดที่มีอายุระหว่าง 16-19 ปี มีบุตรคนแรก ซึ่งมารับบริการ ณ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จำนวน 34 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง 17 คน กลุ่มควบคุม 17 คน กลุ่มทดลองได้รับการสนับสนุนทางการพยาบาลจากผู้วิจัย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลจากพยาบาลประจำหอผู้ป่วยตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการสนับสนุนทางการพยาบาล คู่มือการเลี้ยงดูทารกแบบประเมินระดับความเครียด แบบสังเกตพฤติกรรมการยอมรับทารก แบบวัดความรู้การเลี้ยงดูทารก และแบบสังเกตพฤติกรรมการเลี้ยงดูทารก ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. มารดาวัยรุ่นหลังคลอดกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนทางการพยาบาล มีคะแนนเฉลี่ยระดับความเครียดภายหลังการทดลอง ต่ำกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. มารดาวัยรุ่นหลังคลอดกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนทางการพยาบาล มีคะแนนเฉลี่ยระดับความเครียดลดลงกว่า กลุ่มที่ไม่ได้รับการสนับสนุนทางการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. มารดาวัยรุ่นหลังคลอดกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนทางการพยาบาล มีคะแนนเฉลี่ยการยอมรับและการเลี้ยงดูทารกสูงกว่า กลุ่มที่ไม่ได้รับการสนับสนุนทางการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To study and compare stress level, acceptance and caring for newborn during postpartal period of adolescent mothers by using nursing support. Sample consisted of 34 adolescent mothers between 16-19 years old, at postpartum department in Phanungchaw hospital which divided, 17 cases for experimental group and 17 cases for control group. The instruments for this research were nursing support plan, newborn care manual, stress test, acceptance observation checklist, test for newborn care knowledge and newborn care observation checklist. The major findings were the followings : 1. Stress level in experimental group using support was significantly lower than before using nursing support at .05 level. 2. stress level in experimental group using nursing support was significantly lower than those who were using conventional nursing at .05 level. 3. Acceptance and caring for newborn of adolescent mothers who were using nursing support was significant higher than those who were using conventional nursing at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12627
ISBN: 9746381121
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Parichat_Po_front.pdf320.9 kBAdobe PDFView/Open
Parichat_Po_ch1.pdf435.97 kBAdobe PDFView/Open
Parichat_Po_ch2.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Parichat_Po_ch3.pdf742.61 kBAdobe PDFView/Open
Parichat_Po_ch4.pdf273.63 kBAdobe PDFView/Open
Parichat_Po_ch5.pdf382.88 kBAdobe PDFView/Open
Parichat_Po_back.pdf579.3 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.