Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12680
Title: พัฒนาการของรูปแบบในการขูดรีดส่วนเกินของรัฐไทย
Other Titles: Development of surplus appropriation of Thai state
Authors: ณฐพล พราหมโณมัย
Advisors: แล ดิลกวิทยรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Lae.D@chula.ac.th
Subjects: การขูดรีดส่วนเกิน
ทุนนิยม
ไทย -- การค้ากับต่างประเทศ
ไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมชนชั้นซึ่งชนชั้นของผู้คนขึ้นอยู่กับปัจจัยโครงสร้างส่วนบน การแบ่งขั้วระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง เกิดขึ้นจากความพยายามในการรักษาสถานะและอภิสิทธิ์ของผู้ปกครอง ซึ่งนำไปสู่การจำแนกผู้คนสู่ฐานันดรต่างๆ ภายใต้กรอบโครงความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียม ซึ่งผู้ปกครองได้สร้างขึ้นเพื่อรักษาสถานะและอภิสิทธิ์ของตน ผู้ปกครองได้สร้างโครงข่ายความสัมพันธ์และสถาบันที่ไม่ใช่การผลิต โดยสิ่งที่สถาบันที่ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจเหล่านี้คำนึงก็คือ การควบคุมฐานด้วยการรักษาความสัมพันธ์ที่ปรากฏของการขูดรีดให้คงรูปเดิมไว้ ในยุคสมัยต่อมาเมื่ออยุธยาล่มสลายลงไปแล้ว ได้มีการฟื้นฟูอาณาจักรขึ้นมาใหม่ เกิดเป็นรัฐธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ในระยะแรกของการฟื้นฟูบ้านเมืองนั้นรัฐประสบปัญหาต่างๆ อย่างมาก ทำให้ผู้ปกครองประสบปัญหาอย่างมากในการสร้างเมือง รวมทั้งการนำระบบแบบอยุธยากลับมาใช้อีกครั้ง ปัญหาที่รัฐเผชิญคือแรงกดดันทางด้านรายได้ซึ่งรัฐจะต้องนำมาใช้จ่าย ทำให้รัฐต้องให้ความสำคัญกับการค้าสำเภาของรัฐมากเป็นพิเศษ ในการนี้รัฐจึงได้สนับสนุนการเข้ามาของคนจีนให้เข้ามาประกอบอาชีพในเมืองไทย รัฐส่งเสริมคนจีนให้เข้ามาเพื่อประกอบการค้าแก่รัฐ เมื่อการค้าต่างประเทศเจริญมากขึ้นเกิดการผลิตด้านการเกษตรเพื่อการค้าขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งได้มีผลสะท้อนมาถึงชาวไทยซึ่งสามารถทำการเพาะปลูกทางด้านการเกษตรมากขึ้น การขยายตัวของการผลิตทางด้านการเกษตรเพื่อค้านี้ ได้ก่อให้เกิดช่องทางใหม่ของรัฐในการแสวงหารายได้โดยระบบเจ้าภาษีนายอากร ประกอบกับการที่การค้าของรัฐค่อยๆ ลดความสำคัญลงเมื่อเทียบกับแหล่งรายได้ใหม่จากภาษีการผลิต การเกณฑ์แรงงานและการเก็บส่วยค่อยๆ ลดน้อยลง รัฐจึงสามารถลดการเกณฑ์แรงงานลง และสามารถเก็บส่วนเกินจากชาวบ้านในรูปเงินตราได้มากขึ้น นำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบในการขูดรีดส่วนเกินของรัฐในที่สุด โดยการส่งส่วยในรูปสิ่งของได้ยกเลิกไปในรัชกาลที่ 5 โดยราษฎรจ่ายเป็นค่าราชการแทน ในสมัยรัชกาลที่ 6 ก็ได้ยกเลิกการเกณฑ์แรงงานมาเก็บเงินรัชชูปการแทนในที่สุด
Other Abstract: Thai society in the past is the class society, controlled by the instruments of superstructure. The polarization within the society between those who exploit and those who are exploited designed to safeguard a privileged position leads to elaborate codes assigning every individual to one or other caste or estate. The exploiting group creates a network of non-productive relations, and they concerned with controlling the base, with fixing existing relations of exploitation and preventing on changes in the relations of production After Ayutthaya collapsed, the early Krung Thonburi and Rattanakhosin age, the renovation faces many difficulties as the exploiting group try to reactivate the control system. The main problem that the exploiting group has to face is the pressure on income to fund the government expenses that makes the state turn to the foreign trade. As a result, Thai government gives a support to Chinese middleman to trade in the country. When the foreign trade expands, it increases agricultural products which is the state’s new source of income through taxation. Moreover the trade that operates by the state itself becomes less important compared to taxation which become the new source of earning. The earning from labour and traditional form of tax(suay) become less important and finally replaced by money tax and the corvee labour replaced by also tax in Rama VI.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12680
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natapol.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.