Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12777
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | เข็มชัย เหมะจันทร | - |
dc.contributor.author | ปราณี รัตนวลีดิโรจน์ | - |
dc.contributor.author | รัดเกล้า ภูติวรนาถ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2010-06-03T09:39:42Z | - |
dc.date.available | 2010-06-03T09:39:42Z | - |
dc.date.issued | 2541 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12777 | - |
dc.description | รายงานเสนอ กองส่งเสริมฝ่ายวิจัย ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.description.abstract | ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ประกอบด้วยกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน ทำให้มีเศษวัตถุดิบและสารเคมีที่ใช้หลงเหลือจากกระบวนการต่างๆ ก่อให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมตามมา ทั้งมลพิษทางน้ำ อากาศ หรือเสียง เป็นต้น น้ำเสียในกระบวนการฟอกย้อมเป็นปัญหาที่สร้างความยุ่งยากในอุตสาหกรรมประเภทนี้อย่างมาก เพราะไม่เพียงแต่จะให้คุณภาพน้ำจะต่ำลงแล้ว ยังมีสิ่งต่างๆ ปนเปื้อนมากับน้ำเสียด้วย ได้แก่ สีย้อม สารเคมี ที่ใช้ในการฟอกย้อม ถ้าหากสีย้อมที่นำมาใช้มีองค์ประกอบที่เป็นพิษ หรือสามารถแตกตัวให้สารพิษ ทำให้น้ำทิ้งนั้นมีความเป็นพิษตามไปด้วย การกำจัดสารต่างๆที่ใช้ในกระบวนการผลิตออกไม่หมดก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดการระคายเคืองต่อร่างกาย เมื่อสวมใส่ ใช้งาน หรือสัมผัส และในระยะยาวยังอาจเกิดการสะสมของสารพิษในร่างกายได้ รายงานผลการวิจัยเรื่องนี้ มีจุดประสงค์เพื่อการเผยแพร่ความรู้ และเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้สนใจ หรือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชนไทย ด้วยการสำรวจและหาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา วิธีแก้ไข รวมถึงมาตราการการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกฝ่าย ร่วมมือกันพิทักษ์สิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ตลอดไป การแก้ปัญหาของสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมสิ่งทอโดยใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาหรือบำบัด เช่นการบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการผลิตต่างๆ ส่วนใหญ่ใช้วิธีการ 2 วิธี ได้แก่ การทำให้ของเสียในน้ำเกิดการตกตะกอนโดยการจับตัวกันเป็นก้อน และการบำบัดด้วยวิธีทางชีวภาพ ซึ่งจะใช้จุลชีพในน้ำเป็นตัวเปลี่ยนหรือย่อยสลายอนินทรียสาร นอกจากนี้ยังมีการบำบัดด้วยวิธีอื่นๆ อีกมากขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการน้ำไปใช้สำหรับแต่ละโรงงาน เทคโนโลยีสะอาดเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในปัจจุบันที่นำมาใช้เพื่อลดมลพิษจากอุตสาหกรรม การทำงานของเทคโนโลยีสะอาดสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ การลดแหล่งปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือการผลิต และการนำวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่หรือเปลี่ยนสภาพของวัสดุให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเป็นผลทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากมีการขยายตัวทางอุตสาหกรรมต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยไม่คำนึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม แต่ในปัจจุบันมนุษย์เริ่มตระหนักถึงพิษภัยของการทำลายสิ่งแวดล้อมที่จะส่งผลเสียกลับมาสู่ตัวมนุษย์เอง จึงเริ่มตื่นตัวในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยผู้ประกอบการอุตสาหกรรมได้พยายามจัดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของตนให้มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ผลิตสามารถลดค่าใช้จ่ายในการผลิตประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการเพิ่มผลผลิตและสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่องค์กรที่จัดระบบเองด้วย โดยการจัดระบบจัดการสิ่งแวดล้อมต้องอาศัยระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมไปตั้งแต่ก้าวแรกจนถึงก้าวสุดท้ายของวงการอุตสาหกรรม ในประเทศไทยส่วนมากจะได้การรับรองมาตรฐานการผลิต ISO 9000 มากกว่า ซึ่งมาตรฐาน ISO 9000 เป็นมาตรการเพียงส่วนหนึ่งของ ISO 14000 เท่านั้น โดยองค์กรที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO 9000 อยู่แล้ว ก็สามารถพัฒนาระบบการบริหารองค์กรและการจัดการสิ่งแวดล้อมได้ง่ายขึ้น ส่งผลไปสู่การรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 ในอนาคต นอกจากนั้นรัฐบาลไทยได้บัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมไว้หลายฉบับ ซึ่งมีหน่วยงานหลายฝ่ายเป็นผู้รักษากฎหมาย แต่การแก้ปัญหาจะเป็นไปได้ต้องมีการสร้างจิตสำนึกให้กับผู้ปฏิบัติงานได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด | en |
dc.format.extent | 8270417 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | อุตสาหกรรมสิ่งทอ -- แง่สิ่งแวดล้อม | en |
dc.subject | อุตสาหกรรมฟอกย้อม -- แง่สิ่งแวดล้อม | en |
dc.subject | น้ำเสีย -- การบำบัด | en |
dc.subject | เทคโนโลยีสะอาด | en |
dc.subject | การจัดการสิ่งแวดล้อม -- ไทย | en |
dc.title | การตรวจสอบทางสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมเคมีสิ่งทอ : รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย | en |
dc.title.alternative | Eco-auditing in textile chemical industry | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | Khemchai.H@chula.ac.th | - |
dc.email.author | Pranee.R@Chula.ac.th | - |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Metal - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
khemchai_Eco.pdf | 8.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.