Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13498
Title: ผลของระดับความสามารถทางการเรียนรู้และแบบการให้ข้อมูลป้อนกลับ ในแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต ในวิชาการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา : รายงานการวิจัย
Authors: ประกอบ กรณีกิจ
Email: Prakob.K@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: แฟ้มผลงานทางการศึกษา
การสอนด้วยสื่อ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Issue Date: 2552
Publisher: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของระดับความสามารถทางการเรียนรู้และแบบการให้ข้อมูลป้อนกลับในแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตในวิชาการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา จำนวน 113 คน แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 1 (ผู้สอนระบุผลการประเมินด้วยคำว่า ดี พอใช้ และควรปรับปรุง แล้วให้คะแนน) จำนวน 3 กลุ่ม และกลุ่มที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 2 (ผู้สอนให้ข้อมูลป้อนกลับเช่นเดียวกับแบบที่ 1 และระบุข้อผิดพลาด แล้วบอกแนวทางการแก้ไขปรับปรุง) จำนวน 3 กลุ่ม โดยใช้ระยะเวลาในการวิจัย 5 สัปดาห์ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้พื้นฐาน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และระบบการจัดการแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์บนเว็บ ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ค่า t (t-test independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 2 ทาง (Two-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า (1) นิสิตกลุ่มเก่งและกลุ่มปานกลางที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านิสิตกลุ่มอ่อนที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตที่มีระดับความสามารถทางการเรียนรู้ซึ่งได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นิสิตกลุ่มเก่ง ปานกลาง และอ่อนที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านิสิตที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับความสามารถทางการเรียนรู้และรูปแบบการให้ข้อมูลป้อนกลับในแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตในวิชาการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) นิสิตกลุ่มเก่งที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านิสิตกลุ่มเก่งที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (5) นิสิตกลุ่มเก่งที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านิสิตกลุ่มอ่อนที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (6) นิสิตกลุ่มเก่งที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านิสิตกลุ่มอ่อนที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (7) นิสิตกลุ่มปานกลางที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านิสิตกลุ่มเก่งที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (8) นิสิตกลุ่มปานกลางที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านิสิตกลุ่มอ่อนที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (9) นิสิตกลุ่มอ่อนที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านิสิตกลุ่มอ่อนที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 1
Other Abstract: To study an effect of levels of learning ability and types of feedback in an electronic portfolio on learning achievement of students in electronic media production for education subject. The samples were 113 students registered in “Electronic Media Production for Education” course divided into 6 groups. The three groups received feedback type 1 (the assessment feedbacks were good, average and improving needed then scoring), while the other three groups received feedback type 2 (the assessment feedback was similar to the type 1, with the suggestions of errors and methods of improvement). The experiment ran for 5 weeks. The instruments were the learning ability test, learning achievement test and E-portfolio management system on web. The data were analyzed by descriptive statistic, t-test independent, one way ANOVA, and two way ANOVA. The research results indicated that 1. The high ability and medium ability students, who received the feedback (type 1), had higher scores in learning achievement than the low ability students, who received the feedback (type 1), at 0.05 level of significant. There was no statistical significant difference on learning achievement among students who received the feedback (type 2) with difference learning abilities. 2. The high, medium, and low ability students, who received the feedback (type 2), had higher scores in learning achievement than the students, who received the feedback (type 1), at 0.05 level of significant. 3. There was an interaction between levels of learning ability and types of feedback on learning achievement of students in electronic media production for education course at 0.05 level of significant. 4. The high ability students, who received the feedback (type 2), had higher scores in learning achievement than the high ability students, who received the feedback (type 1), at 0.05 level of significant. 5. The high ability students, who received the feedback (type 2), had higher scores in learning achievement than the low ability students, who received the feedback (type 1), at 0.05 level of significant. 6. The high ability students, who received the feedback (type 1), had higher scores in learning achievement than the low ability students, who received the feedback (type 1), at 0.05 level of significant. 7. The medium ability students, who received the feedback (type 2), had higher scores in learning achievement than the high ability students, who received the feedback (type 1), at 0.05 level of significant. 8. The medium ability students, who received the feedback (type 2), had higher scores in learning achievement than the low ability students, who received the feedback (type 1), at 0.05 level of significant. 9. The low ability students, who received the feedback (type 2), had higher scores in learning achievement than the low ability students, who received the feedback (type 1), at 0.05 level of significant.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13498
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prakob_Port.pdf7.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.