Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13631
Title: การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุนิสัยการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร
Authors: นิลเนตร นิลประดิษฐ์
Advisors: วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: wkaemkate@hotmail.com, Wannee.K@Chula.ac.th
Subjects: การอ่านขั้นประถมศึกษา
หนังสือและการอ่าน
ความสนใจในการอ่าน
นักเรียนประถมศึกษา
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาและเปรียบเทียบระดับนิสัยการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร เมื่อจำแนกตามสังกัดและขนาดของโรงเรียน เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุนิสัยการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุนิสัยการอ่าน ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 408 คน ตัวแปรที่ใช้การวิจัยประกอบด้วย ตัวแปรภายในแฝง 3 ตัวแปร ได้แก่นิสัยการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านตัวผู้อ่าน และตัวแปรภายนอกแฝง 1 ตัวแปรคือ ปัจจัยด้านโรงเรียน โดยตัวแปรแฝงวัดจากตัวแปรสังเกตได้ รวมทั้งหมด 16 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีความเที่ยงในการวัดตัวแปรสังเกตได้ตั้งแต่ 0.69-0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล การวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร มีนิสัยการอ่านอยู่ในระดับปานกลาง โดยนักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับนิสัยการอ่าน มากกว่านักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนขนาดกลาง แต่ไม้พบความแตกต่างของระดับนิสัยการอ่านของนักเรียนที่อยู่คนละสังกัด 2. โมเดลเชิงสาเหตุนิสัยการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ปัจจัยที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อนิสัยการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมและมีอิทธิพลทางอ้อมสูงที่สุดคือ ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงสูงที่สุดต่อนิสัยการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร คือ ปัจจัยด้านโรงเรียน 3. โมเดลเชิงสาเหตุของนิสัยการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยให้ค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 22.374 ที่องศาอิสระเท่ากับ 42 ที่ระดับความน่าจะเป็น เท่ากับ 0.994 มีค่า GFI เท่ากับ 0.993 ค่า AGFI เท่ากับ 0.979 และค่า RMR เท่ากับ 0.006 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวน ของนิสัยการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร ได้ 91%
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study the level of grade of six student in Bangkok’s reading habit and to compare this in school under different authorities and school size. 2) Development of a causal model of reading habits of grade six students in Bangkok. And 3) to examine the goodness of fit of the model with empirical data. The research samples consisted of 408 grade six students in Bangkok. Variables consisted of four latent variables : reading habits of grade six student in Bangkok, family factor, school factor and background factor. These latent variables were measured by sixteen observed variables. The research data were collected by questionnaires and analyzed by employing descriptive statistics, one- way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, confirmatory factor analysis and LISREL analysis. The research finding were as follows 1. The grade six students in Bangkok’s reading habits are average. The grade six students in Bangkok’s reading habits were different among school size; students who studied in large school are higher reading habits’ level than students who studied in medium school, but the grade six students in Bangkok’s reading habits weren’t different among the school under different authorities. 2. The causal model consisted of variable having both direct and indirect effect. Among these variables, family factor had the highest total and indirect effect, and school factor had the highest direct effect to the grade six students in Bangkok’s reading habits. 3. The causal model was valid and fitted with the empirical data. Indicated by the chi-square goodness of fit test was 22.374, df = 42, p= 0.994, GFI = 0.993, AGFI = 0.979 and RMR = 0.006. The model accounted for 91% of variance in reading habits of grade six students in Bangkok.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13631
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1422
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1422
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ninnate.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.