Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13845
Title: ความเชื่อมโยงระหว่างชนบทและเมืองด้านเกษตรกรรมในพื้นที่ขยายตัวของอภิมหานครกรุงเทพ : กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Rural-urban linkages pertaining to agriculture in Bangkok mega-urban region : a case study of Pathumthani Province
Authors: ตะวันฉาย ฉายาทับ
Advisors: ดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Daranee.T@Chula.ac.th
Subjects: การเกิดเป็นเมือง -- ไทย -- ปทุมธานี
เมือง -- การเจริญเติบโต
ระบบเกษตรกรรม -- ไทย
ปทุมธานี
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จังหวัดปทุมธานีเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ขยายตัวด้านเหนือของอภิมหานครกรุงเทพ อันเป็นพื้นที่ซึ่งมีการเกิดปฏิสัมพันธ์ในด้านการใช้ที่ดิน เศรษฐกิจ สังคมและประชากร รวมไปถึงสิ่งแวดล้อม ทำให้มีการใช้ที่ดินผสมผสานกันทั้งเพื่อการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และที่พักอาศัยซึ่ง McGee เรียกพื้นที่นี้ว่า Desakota การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ ศึกษาสถานการณ์การผลิตด้านเกษตรกรรมของจังหวัดปทุมธานี และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชนบทกับเมืองจากการผลิตในด้านเกษตรกรรม ซึ่งเกิดจากความเชื่อมโยงของการผลิตไปข้างหน้าและไปข้างหลัง ในพื้นที่ชนบทของจังหวัดปทุมธานี ในการวิจัยได้ใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลจากตัวอย่างครัวเรือนเกษตร วิเคราะห์ข้อมูลและแสดงผลโดยการบรรยาย พรรณนา อภิปราย รวมทั้งวิธีการทางสถิติและเทคนิควิธีทางภูมิศาสตร์ประกอบการอธิบาย จากการศึกษาสถานการณ์การผลิตด้านเกษตรกรรมของจังหวัดปทุมธานีในภาพรวม พิจารณาจากการผลิตใน 4 รูปแบบ ได้แก่ ระบบเกษตรกรรมตามแบบแผน ระบบเกษตรอินทรีย์ ระบบเกษตรผสมผสาน และระบบเกษตรธรรมชาติ พบว่า มีการผลิตในระบบเกษตรกรรมตามแบบแผนมากที่สุด โดยพืชที่ผลิตมากที่สุด คือ ข้าวและพืชไร่ รองลงมาได้แก่ พืชสวน พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับ ตามลำดับ สำหรับด้านความเชื่อมโยงระหว่างชนบทกับเมืองจากการผลิตด้านเกษตรกรรม พบว่า การผลิตของครัวเรือนเกษตรก่อให้เกิดความเชื่อมโยงของการผลิตไปข้างหลังและไปข้างหน้า ทั้งในพื้นที่ชนบทและเมืองโดยรอบ โดยครัวเรือนเกษตรที่ใช้วัตถุดิบซึ่งเป็นเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมีความเชื่อมโยงไปข้างหลังกับเมือง และครัวเรือนที่ใช้วัตถุดิบขั้นพื้นฐานมีความเชื่อมโยงไปข้างหลังกับชนบท ส่วนในด้านความเชื่อมโยงไปข้างหน้า พบว่าครัวเรือนเกษตรมีความเชื่อมโยงกับเมืองมากกว่าชนบท ข้อเสนอแนะด้านการวางแผนเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างเหมาะสม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสำรวจรูปแบบการผลิตในพื้นที่ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการวางแผน และควรมีการพัฒนาเส้นทางเข้าสู่ตลาดไทให้มีประสิทธิภาพรองรับการเข้าถึงได้ดีกว่าในปัจจุบัน
Other Abstract: Pathum Thani, directly located in the north of Bangkok, is a part of the extended metropolitan region. According to McGee, this area is called “Desakota zone”, the characteristic of the Desakota zone are intensely mixed land uses for agriculture, industry, trading and residence.This research aims to study the situation of agricultural production and the linkages between rural and urban areas which affected by household agricultural production in rural Pathum Thani, based on the Forward and Backward Linkages concept. The data using in this study are gathered by a designed questionnaire to interview agricultural households residing in the project area. The data analysis is composed of descriptive method, discussion, statistical analysis and geographical technique. The research finds that the cultivation in Pathum Thani is classified into 4 types; Conventional Agriculture, Organics Farming, Integrated Farming and Natural Farming. The result shows that Conventional Agriculture has the highest yield from Rice and Field crops, Horticultural crops, Vegetables and Ornamental crops. It can be concluded that the rural-urban linkages pertaining to agriculture in the study area has a connection with both rural and urban areas in and around the province. The household units that appy technology materials to their farms have their backward linkages with urban area. And if they manage their farms with basic tools, they have backward linkages with rural area. In addition, the agricultural production generate forward linkages with urban area more than with rural area. It is suggested that there should be strategic plans for management appropriately, the administrative department should have the database of each cultivation type and should develop the route to Talad Thai, center market of agriculture, for higher accessibility than at present.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13845
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1755
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1755
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tawanchay_Ch.pdf8.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.