Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13937
Title: สภาพการทำงานและความต้องการบริการทางสังคมของแรงงานเด็กต่างชาติ : ศึกษากรณีกิจการประมงต่อเนื่อง ในตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
Other Titles: Working conditions needs for social services of foreign child labour : case study in fishery processing industry, Mahachai sub-district, Samut Sakhon Province
Authors: กันต์ชนิต แก้วบุญส่ง
Advisors: พรพิมล ตรีโชติ
อัจฉรา เอ๊นซ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Pornpimol.T@Chula.ac.th
Achara.E@Chula.ac.th
Subjects: สิทธิเด็ก
แรงงานเด็ก
บริการสังคม
ความต้องการ (จิตวิทยา) ในเด็ก
ประมง -- ไทย -- มหาชัย (สมุทรสาคร)
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาสภาพการทำงานและความต้องการบริการทางสังคมของแรงงานเด็กต่างชาติ ศึกษากรณีกิจการประมงต่อเนื่องในตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพการทำงานของแรงงานเด็กต่างชาติกับปัจจัยส่วนบุคคล เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบมีแบบสอบถาม กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นแรงงานเด็กต่างชาติเชื้อชาติพม่า อายุระหว่าง 13-18 ปี จำนวน 407 คนและมีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการเพิ่มเติมเป็นบางราย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นเพศชายและหญิงในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน มีอายุเฉลี่ย 16 ปี ส่วนใหญ่เป็นโสด เข้ามาประเทศไทยกับพ่อและ/หรือแม่และญาติมากที่สุด แรงงานเด็กมากกว่าครึ่งหนึ่งได้รับการจดทะเบียนทำงาน และส่วนใหญ่มีระยะเวลาการทำงาน 1-2 ปี เกือบครึ่งหนึ่งมีหน้าที่แกะกุ้ง รองลงมาคือแล่ปลา ล้างทำความสะอาดปลา ส่วนใหญ่จะพักอาศัยอยู่กับญาติพี่น้อง โดยเช่าอยู่เองนอกโรงงานที่ตนทำอยู่ สำหรับสภาพการทำงานของแรงงานเด็กต่างชาติพบว่า 53.3% มีสภาพการทำงานในระดับปานกลาง รองลงมาคือ สภาพการทำงานระดับไม่ดี (28%) และสภาพการทำงานระดับดี (18.7%) ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับสภาพการทำงาน พบว่า เพศหญิงมีสภาพการทำงานที่อยู่ในระดับดี สูงกว่าเพศชาย แรงงานเด็กที่ย้ายถิ่นเข้ามาทำงานกับนายหน้ามีสภาพการทำงานที่อยู่ในระดับดี สูงกว่าแรงงานเด็กที่เดินทางเข้ามาคนเดียวและ/หรือเพื่อน กับที่เดินทางเข้ามากับพ่อแม่และ/หรือญาติพี่น้อง แรงงานเด็กที่ไม่ได้รับการจดทะเบียนมีสภาพการทำงานที่อยู่ในระดับดี สูงกว่าแรงงานเด็กที่ได้รับการจดทะเบียน และแรงงานเด็กที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยน้อยกว่า 2 ปี มีสภาพการทำงานที่อยู่ในระดับดี สูงกว่าแรงงานเด็กที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ทั้งหมดนี้ไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ขณะที่อายุมีความสัมพันธ์กับสภาพการทำงานตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยที่แรงงานเด็กอายุระหว่าง 16-18 ปี มีสภาพการทำงานที่อยู่ในระดับดี สูงกว่ากลุ่มอายุระหว่าง 13-15 ปี ความต้องการบริการทางสังคมนั้นพบว่า ความต้องการบริการทางสังคมที่แรงงานเด็กต่างชาติให้ความสำคัญที่สุดคือ ให้มีการสอนหนังสือสำหรับเด็กต่างชาติ รองลงมาคือ ให้นายจ้างทำบัตรอนุญาตทำงานให้ ให้นายจ้างจัดที่อยู่ให้ฟรี ให้นายจ้างพาไปรักษาพยาบาลฟรีถ้าไม่สบาย ให้นายจ้างพาไปเที่ยวข้างนอกในวันหยุด และให้มีศูนย์ช่วยเหลือแรงงานเด็กต่างชาติ ตามลำดับ
Other Abstract: To investigate working conditions and needs for social services of foreign child labour in fishery processing industry, Mahachai Sub-district, Amphur Maung, Samut Sakhon Province, as well as, the relationship between their working conditions and needs for social services. Four hundred and seven Burmese child labours, aged 13-18, were interviewed with questionnaires; some selected cases were also informally interviewed. Results are as follows: Samples comprise similar proportions of males and females, with the average age of 16. Most of them are single and come to Thailand with their parents or relatives. About half live in Thailand for 1-2 years, and most of them have working licenses. More than half peel shrimps, cut and clean fishes, respectively. Most of them stay with relatives by renting houses outside their factories. The working conditions most found are at moderate level (53.3%), not so good (28%), and good (18.7 %). In terms of the relationship between personal factors and working conditions, it was found that most female child labours work in a better condition than males and the foreign child labours who come to Thailand with brokers work in a better condition than those who come by themselves, or with friends/parents. The foreign child labours who do not have working licenses work in a better conditions than those who have, and those who stay in Thailand less than 2 years work in a better condition than those who stay in Thailand more than 2 years. These findings are not relevant to the proposed hypotheses, except the relationship between age and working condition which is found that the foreign child labours who are 16-18 years old work in a better condition than those who are 13-15. As for the needs for social services, it is found that schooling is the top priority while other needs, such as, working licenses, free accommodations, free medical care provided by entrepreneurs, holiday trips, and assistance centers for foreign child labours, are less important, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13937
ISBN: 9741763379
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanchanit_Ka.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.