Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15260
Title: วัฒนธรรมดนตรีไทย ภาคอีสานเหนือ : รายงานวิจัย
Authors: บุษกร สำโรงทอง
ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน
ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์
ขำคม พรประสิทธิ์
Email: ไม่มีข้อมูล
pakorn.jk@hotmail.com
Patarawdee.P@Chula.ac.th
Kumkom.P@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Subjects: ดนตรีพื้นบ้าน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
เครื่องดนตรีไทย
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่อง “วัฒนธรรมดนตรีไทยภาคอีสานเหนือ” มุ่งศึกษาวัฒนธรรมดนตรีอีสานในด้านประวัติและวิวัฒนาการ ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการถ่ายทอดดนตรีวัฒนธรรมการบรรเลงและกรรมวิธีการสร้างของเครื่องดนตรีรวมทั้งคุณภาพเสียง ผลการศึกษาพบว่าวิวัฒนาการดนตรีภาคอีสานเหนือแต่เดิมสัมพันธ์กับ “ประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่” ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชน การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ส่งผลต่อวิวัฒนาการดนตรีภาคอีสานเหนือ คือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมุ่งขยายโครงสร้างเศรษฐกิจพื้นฐานและการสื่อสารมวลชนซึ่งได้นำความเจริญแบบใหม่เข้าสู่ภูมิภาคพร้อมกับดนตรีแบบใหม่ วิวัฒนาการดนตรีภาคอีสานเหนือยังคงมีต่อไปตราบเท่าที่ดนตรียังคงเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจการบันเทิง และองค์กรรัฐยังคงส่งเสริมให้ “ประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่” ยังคงเป็นประเพณีของสังคมอีสาน ดนตรีอีสานเหนือได้รับการสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งโดยวิธีมุขปาฐะ การเรียนการสอนมักดำเนินที่บ้านครู ครูและศิษย์จึงมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกัน ศิลปินที่เชี่ยวชาญจะถ่ายทอดความรู้เรื่องพิธีกรรมการบูชาครูไปยังอนุชน ซึ่งถือเป็นประเพณีที่สำคัญสำหรับผู้เริ่มเรียนและผู้แสดง เครื่องบูชาที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมไหว้ครูสะท้อนความเชื่อของศิลปินซึ่งมีความเชื่ออันมีอิทธิพลของศาสนาที่คนในท้องถิ่นยึดถือเข้ามาเกี่ยวข้อง ผลการศึกษาวัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีพื้นบ้านอีสานเหนือพบว่า ดนตรีอีสานเหนือมีการแสดงหมอลำที่ถือเป็นเอกลักษณ์ประจำภาคและมีแคนเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญประกอบการแสดง นอกจากนี้ยังพบว่ามีวงโปงลางซึ่งประกอบด้วย โปงลาง แคน พิณ โหวต กลองอีสาน และกั๊บแก๊บ ซึ่งเป็นวงประจำท้องถิ่นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย วัฒนธรรมหมอลำแบ่งออกเป็น 8 ประเภท ส่วนลายเพลงจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม มีการสืบทอดอย่างต่อเนื่อง การบรรเลงดนตรี สามารถใช้การประสานเสียงยืนพื้นกับทำนองหลัก แต่เปลี่ยนบันไดเสียงไปมา ผู้บรรเลงสามารถใช้ปฏิภาณไหวพริบ ส่วนหมอลำสามารถเดินเสียงสูง ต่ำในบทกลอน โดยใช้ภาษาสอดคล้องกลมกลืนทั้งนี้การเรียกชื่อบทเพลงและเครื่องดนตรีของแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกัน ดนตรีพื้นบ้านอีสานเหนือ จะใช้บรรเลงและแสดงในงานบุญ งานประเพณีประจำถิ่น ไม่นิยมแสดงในงานศพ กรรมวิธีการสร้างและคุณภาพของเครื่องดนตรีไทยอีสานเหนือในส่วนการสร้างเครื่องของช่างพิณและกลองยาวมีรายละเอียดขั้นตอนและกรรมวิธีแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการสร้าง ทั้งนี้รูปทรงและขนาดสัดส่วน สะท้อนถึงความเชื่อและเอกลักษณ์ของแต่ละจังหวัด อย่างไรก็ตามช่างทั้งหมดยังใช้วัสดุเหมือนกันคือใช้ไม้ขนุน ในการสร้างกลองก้นยาวใช้ไม้มะหาดและไม้ขนุนในส่วนการประเมินคุณภาพเครื่องดนตรีพบว่ารูปทรง ความสมดุลทางกายภาพ และคุณภาพเสียง คือ ปัจจัยหลักที่มีความสำคัญเท่ากันในการพิจารณาคุณภาพเครื่องดนตรีทั้งพิณอีสานและกลองก้นยาว
Other Abstract: The research aims to explain music culture of the upper northeastern Isan region of Thailand in relation to the history, transmission and belief, performance methods, and the process of instrument making and its quality. The scope of the research encompasses the upper part of northeastern region which includes fifteen provinces. The research findings show that the development of northeastern Isan music is part of the “Hed 12 Klong 14” tradition, which has been the way of life of Isan people. The major change influencing the development of northeastern Isan music was caused by National Economic and Social Development Plans, which aimed to expand the basic structure and communication. The advancement of transportation and communication had made way for other values to be introduced and integrated into Isan communities. The development of northeastern Isan music is an ongoing process as long as the entertainment business constantly incorporates and appropriates Isan music, and the government sectors continue to promote the “Hed 12 Klong 14” tradition as part of Isan tradition. With regard to Isan’s music transmission and its belief, Isan music has been transmitted from generation to generation by memorization. Lessons always took place at the teacher’s home. Thus, teachers and students develop close relationships. The artists also pass down the revered tradition of paying homage to teachers as a significant ritual to the younger generations of students. At present, this ritual is still crucial to the beginning of initiating teacher-and-student relationships prior to accepting students as members of the teachers’ schools. The typical offerings in this ritual reflect the beliefs of the people whom are involved. There are also some myths about spirits and gods involved with the ceremony, which are vital in ensuring a successful performance. In analysis of performance styles and methods, the data collected from research fieldwork shows that the music culture of the upper northeastern Isan region is characterized by moh lum (a vocal performance) and wong pong lang (an ensemble consisting of ponglang, khean, pin, whote, drum, and gubgap). A moh lum singer is normally accompanied by a khean player. Moh Lum can be classified into eight categories, and there are three major musical genres for wong pong lang. Furthermore, the performance methods are continuously developed and practiced. The musicians use harmonization by extending the primary pitches of the melody to counterpart the main melody. It was also common to find that this type of harmonization also concurs with transposition of melodies from one scale to another. Musicians also use improvisation as a vehicle of self-expression in contrast to their musical inherence. Maw lum singers used a wide range of pitches to elaborate on the lyrics. Though given different names, it was also not uncommon to find the same songs and same instruments among many groups of musicians and singers. In conclusion, the process of constructing Isan Iutes and Isan Long drums among instrument makers is found to be varied dependent upon the objectives, inspirations, and personal interests: varieties reflect cultural identities of each community. While some makers emphasize the quality of sound, the others focus on the shape and physical appearance. According to the professional artist opinions on comparing the quality of sound, it is agreed that the idealistic tone quality of acoustic Isan Iutes should be mellow and clear. The idealistic tone of Isan Long drum should be loud enough to be heard from a long distance to ensure the transmission of sound in outdoor procession.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15260
Type: Technical Report
Appears in Collections:Fine Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Front.pdf726.52 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf694.82 kBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf7.07 MBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf7.55 MBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf12.97 MBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf7.93 MBAdobe PDFView/Open
chapter6.pdf877.94 kBAdobe PDFView/Open
Back.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.